การจัดสวนญี่ปุ่น เป็นการจัดสวนแบบหนึ่ง อันเป็นแบบฉบับของญี่ปุ่นเองโดยเฉพาะ เป็นการจัดสวนที่มีรูปแบบแตกต่างจากการจัดสวนของประเทศทางยุโรป สวนญี่ปุ่นมีความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับความงามตามธรรมชาติ ศาสนา ลัทธิ ประเพณี ปรัชญา ความนึกฝัน ศิลปวัฒนธรรมและแฝงด้วยความเชื่อถือในโชคลาง
การจัดสวนแบบญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีน และ ชาวเกาหลี แต่ได้มี การปรับปรุง และพัฒนาทำให้มีรูปแบบธรรมชาติ มีศิลปะ มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีความหมายเฉพาะตัวแฝงเร้นด้วยปรัชญา ลัทธิ ประเพณีทางศาสนา การนึกฝัน และมีความสุนทรีย์แห่งธรรมชาติ สวนญี่ปุ่นจึงมองดูมีชีวิต จิตใจและวิญญาณ ทั้งโลกยกย่องในศิลปะการจัดสวนแบบญี่ปุ่น นับวันความนิยมในการจัดสวนแบบนี้จะยิ่งแพร่หลายออกไปยังประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ในประเทศไทยนิยมจัดสวนแบบญี่ปุ่นกันมากเพราะสวนญี่ปุ่นใช้เนื้อที่ในการจัดสวนไม่มากนัก มีความสวยงามอย่างเรียบ ๆ เหมาะกับนิสัยอันอ่อนน้อมและสุภาพของคนไทย อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สวนญี่ปุ่นเป็นสวนที่มีความงามอย่างมีศิลปะ
ประวัติการจัดสวนแบบญี่ปุ่น
ในศตวรรษที่ 7 ญี่ปุ่นเริ่มได้รับอิทธิพลแบบอย่าง ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับการจัดสวนจากจีน โดยญี่ปุ่นเป็นผู้ว่าจ้างชาวจีนมาเป็นผู้สอน ต่อมาญี่ปุ่นก็ลงมือจัดเสียเอง โดยดัดแปลงรูปแบบของเดิมมาเป็นของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ซ้ำแบบใครและเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน การดัดแปลงดังกล่าวยังยึดรูปแบบของธรรมชาติแต่ย่อส่วนให้เล็กลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ลักษณะของภูมิประเทศและพื้นที่ค่อนข้างจำกัด
เมื่อประมาณ พ.ศ. 1324 พระในศาสนาชินโตอันเป็นศาสนาที่คนญี่ปุ่นนับถือกันศาสนาหนึ่ง ศาสนานี้สอนให้คนบูชาจักรพรรดิองค์ก่อน ๆ เคารพบรรพบุรุษของตระกูล เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้หญิงเคารพผู้ชาย ซึ่งกลายเป็นระเบียบประเพณีของสังคมที่นำมาปฏิบัติสืบทอดกันมา เช่น ลูกต้องอยู่ในโอวาสของบิดามารดา ภรรยาต้องอยู่อำนาจของสามี การที่ญี่ปุ่นโค้งคำนับให้กันอย่างอ่อนน้อมหลาย ๆ ครั้งนั้น ก็แสดงให้เห็นถึงความสุภาพและอ่อนโยนซึ่งเป็นผลจากศาสนาชินโตนั่นเอง พระในศาสนานี้คิดที่จะจัดสวนในแบบของจีนโดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า
1. สวนจะต้องสร้างไว้ทางทิศใต้ของตัวบ้าน
2. สวนประกอบไปด้วยภูเขาเนินดินสลับกับพื้นที่ราบ อาจมี น้ำตก ลำธาร สระน้ำ ฯลฯ
3. การไหลของกระแสน้ำในลำธาร จะต้องไหลจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าทิศตะวันออกเป็นทิศของความบริสุทธิที่จะนำความศิริมงคลมาให้เจ้าของบ้าน ส่วนทิศตะวันตกเป็นทิศที่ความชั่วร้ายทั้งหลายจะเดินออกไป
4. การจัดต้นไม้และส่วนประกอบอื่น ๆ พยายามเลียนแบบจากธรรมชาติให้เหมือนหรือใกล้เคียงมากที่สุด สวนตามแนวคิดของพระในศาสนาชินโตนี้มีชื่อนิยมเรียกกันว่า "Shinden styles" หรือ "Shinden sukuri"
ในสมัยของจักรพรรดินี "ซุยโกะ" ปี พ.ศ. 1136 - 1337 พระนางได้รับอิทธิพลแบบอย่างศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมตลอดจนการออกแบบสวนมาจากจีน ได้ทรงสร้างสวนขนาดใหญ่ไว้ทางทิศใต้ของพระราชวัง ประกอบด้วยน้ำหินและเกาะ ใช้พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ในป่าธรรมชาติมาตกแต่ง ทรงสร้างสะพานข้ามไปยังเกาะ รูปร่างของสะพานเป็นแบบของจีน เพื่อเสด็จไปหาความวิเวกในสวนของพระองค์ สะพานจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสวนญี่ปุ่นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และการจัดสวนของพระองค์ก็เป็นรากฐานหนึ่งของสวนญี่ปุ่น
การจัดสวนญี่ปุ่นเป็นวิชาการที่สมบูรณ์ด้วยศิลปะและความรู้อย่างมากมาย แต่ละยุคแต่ละสมัยจะมีแผนการตกแต่งที่แน่นอนมาตรฐาน มีความหมายอันลึกซึ้งเป็นศิลปะการตกแต่งที่สูงค่า แต่การเรียงก้อนหินมีลักษณะที่แน่นอน เช่น แบบไหนชื่ออะไร จะต้องประกอบด้วยก้อนหินรูปร่างอย่างไร เป็นต้น
การจัดสวนญี่ปุ่นนิยมจัดตั้งแต่ในพื้นที่เล็ก ๆ แคบ ๆ เช่น สวนถาด ไปจนถึงพื้นที่กว้างขวาง เช่น ใน อุทยานหรือพระราชวัง ในประเทศญี่ปุ่นแม้พื้นที่บริเวณซอกแคบ ๆ ของอาคาร หรือใต้บันไดบ้านญี่ปุ่นก็พยายามจัดให้เป็นสวน ทุกหนทุกแห่งจะมีสวนประดับอยู่ ทำให้กลายเป็นสวนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
การจัดสวนญี่ปุ่นนิยมจัดตั้งแต่ในพื้นที่เล็ก ๆ แคบ ๆ เช่น สวนถาด ไปจนถึงพื้นที่กว้างขวาง เช่น ใน อุทยานหรือพระราชวัง ในประเทศญี่ปุ่นแม้พื้นที่บริเวณซอกแคบ ๆ ของอาคาร หรือใต้บันไดบ้านญี่ปุ่นก็พยายามจัดให้เป็นสวน ทุกหนทุกแห่งจะมีสวนประดับอยู่ ทำให้กลายเป็นสวนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
ประเภทของการจัดสวนญี่ปุ่น
สวนญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. สวนภูเขา เป็นสวนที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ
2. สวนในที่ราบ เป็นสวนแห่งการสมมุติ
3. สวนน้ำชา เป็นสวนที่นำลักษณะเด่นของสวนภูเขาและสวนที่ราบมาผสมกัน ประกอบด้วยสวนย่อมเล็ก ๆ 2 ข้างทางเดินไปสู่เรือนน้ำชา ซึ่งเป็นบ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ๆ
1. สวนภูเขา เป็นสวนที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ
2. สวนในที่ราบ เป็นสวนแห่งการสมมุติ
3. สวนน้ำชา เป็นสวนที่นำลักษณะเด่นของสวนภูเขาและสวนที่ราบมาผสมกัน ประกอบด้วยสวนย่อมเล็ก ๆ 2 ข้างทางเดินไปสู่เรือนน้ำชา ซึ่งเป็นบ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ๆ
1.สวนภูเขาหรือสวนเนิน สวนภูเขานี้บางทีก็เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "The landscape garden with hills and water" เป็นสวนที่ตกแต่งตามแนวคิดความคิดของพระในศาสนาชินโต หรือที่เรียกว่า Shinden styles นั่นเอง
สวนภูเขาประกอบด้วยภูเขาหรือเนินดินสลับกับที่ราบ มีน้ำตก ลำธาร สระน้ำ โขดหิน หาดทราย ถ้าเป็นสวนที่มีขนาดใหญ่ อาจมีเกาะกลางทะเลสาบ
พันธุ์ไม้ประดับ ที่ใช้ประดับในสวนแบบนี้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด อาทิพันธุ์ไม้ใหญ่ ต้นสน พีช พลับ โอ๊ก เมเปิล ซากุระ หลิว ฯลฯ
พันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย เช่น ไผ่ อาซาเลีย ปรง ชา ฯลฯ
พืชคลุมดิน เช่น เฟิร์น ไม้พุ่มต่าง ๆ มอส ฯลฯ
พันธุ์ไม้น้ำ เช่น กก บัว ไอริส ฯลฯ
สระน้ำหรือลำธาร มักจะไม่ลึกนัก ในน้ำใสสะอาดนอกจากจะมองเห็นก้อนหิน ก้อนกรวดที่ก้นสระหรือก้นลำธารแล้ว ยังสามารถมองเห็นปลาแฟนซีคาร์พหลากสีสวยงาม ว่ายวนเวียนไปมาทำให้มีระรอกน้ำ เมื่อมองดูแล้วจะเกิดความรู้สึกว่ามีชีวิตชีวามากขึ้น
ลำธารถ้ามีความกว้างมากก็จะทำสะพานสำหรับข้าม โดยใช้แผ่นหินสกัดที่มีความโค้งเล็กน้อยวางพาดขวางลำธาร ริมตลิ่งทั้ง 2 ฝั่ง จะฝังก้อนหินรูปทรงสูงเอาไว้ สมมุติว่าเป็นเสาสะพาน แต่ถ้าลำธารแคบและตื้น หากใช้ก้อนหินที่มีผิวด้านบนเรียบวางไว้เป็นระยะ ๆ ห่างกันพอดีกับระยะก้าวเพื่อใช้เดินข้ามลำธาร ริมคันตลิ่งอาจป้องกันมิให้ตลิ่งพัง โดยฝังก้อนหินก้อนใหญ่/เล็กไว้อย่างกลมกลืนเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือฝังไม้เสากลมทั้งเปลือกหรือปลูกหญ้าเพื่อยึดก็ได้
ถ้าสระน้ำมีขนาดกว้างขวาง มักจะจัดให้มีเกาะอยู่กลางสระน้ำ บนเกาะอาจประดับด้วยก้อนหินเมื่อมองไกล ๆ มีรูปร่างคล้ายเต่า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิริมงคลแก่บ้าน เพราะคนญี่ปุ่นถือว่าเต่าเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืน นอกจากนั้นมักจะปลูกต้นสนไว้บนเกาะด้วย โดยถือว่าต้นสนเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงถาวร เพราะต้นสนทนต่ออากาศอันหนาวเย็นได้
การปลูกต้นไม้ ปลูกต้นที่มีพุ่มใบสูงเป็นฉากไว้ด้านหลัง เพื่อไม่ให้บังต้นไม้ที่มีพุ่มใบเตี้ย สวนญี่ปุ่นจะไม่ปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้บ้านเพื่อไม่ให้บดบังความงามของสวนเมื่อมองออกไปจากตัวบ้าน สีของพันธุ์ไม้นิยมสีที่ไม่ฉูดฉาดนัก โดยปกติจะเป็นสีเขียว จะออกดอกหรือใบเปลี่ยนสีเพิ่มสีสรรบ้างก็ตามฤดูกาลเท่านั้น
ผิวดินไม่ว่าจะเป็นเนินดิน ในที่ราบหรือใต้ร่มไม้ส่วนใหญ่จะมีหญ้าหรือมอสขึ้นปกคลุมอย่างเขียวขจีเหมือนปูด้วยพรม ความยิ่งใหญ่ของสวนภูเขาหรือสวนเนินอยู่ที่ภูเขา/เนินดิน น้ำตก ลำธาร ซึ่งเลียนแบบธรรมชาติอย่างแท้จริง คือพื้นที่เป็นเกาะของประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง โดยทำการดัดแปลงและย่อส่วนให้เล็กลง
2.สวนในที่ราบ เป็นสวนที่จัดขึ้นบนพื้นที่ราบ ปราศจากภูเขา/เนินดิน และสระน้ำเป็นเครื่องตกแต่ง สวนนี้เหมาะกับบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เพราะไม่นิยมปลูกต้นไม้มากจะมีบ้างก็น้อยต้น ถ้าเป็นต้นใหญ่มักจะมีกิ่งก้านโปร่ง ส่วนไม้พุ่มจะตัดแต่เป็นพุ่มกลมให้กลมกลืนกับก้อนหิน สวนแบบนี้เดิมทีเดียวนิยมจัดในบริเวณลานวัด ซึ่งมีกำแพงเป็นฉากหลัง แต่ต่อมาได้มีผู้นำแบบอย่างไปจัดในบริเวณบ้านหรือที่พักอาศัยอย่างกว้างขวาง
สวนในที่ราบ จัดแต่งตามแนวคิดของพระสงฆ์ในศาสนาพุทธนิกายเซน ซึ่งยึดมั่นในความสงบสันโดษ เป็นสวนแบบจินตนาการหรือเป็นสวนแห่งการสมมุติเคลือบแฝงด้วยปรัชญา ผู้จัดจะต้องใช้จินตนาการในการวางก้อนหิน ในการปลูกต้นไม้และในการวาดลวดลายลงบนพื้น ทรายหรือกรวดให้มองแล้วเหมือนลูกคลื่นหรือระลอกน้ำในทะเลหรือในมหาสมุทร สวนในที่ราบแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. สวนแบบเขียวชอุ่ม
2. สวนแบบพื้นที่แห้ง
สวนในที่ราบแบบเขียวชอุ่ม (Evergreen gardens)
ประกอบด้วยพื้นที่ราบเรียบ ปกคลุมด้วยหญ้าหรือมอสสีเขียวขจีสมมุติว่าเป็น "น้ำ" อาจเป็นทะเลหรือมหาสมุทร มีต้นไม้และก้อนหินรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ สมมุติว่าเป็น "เกาะ" ต้นไม้ใหญ่มีน้อยต้น และมักจะมีกิ่งก้านโปร่ง ส่วนไม้พุ่มมักจะตัดแต่งให้เป็นรูปทรงกลมเพื่อให้กลมกลืนกับก้อนหิน ส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ตะเกียงหิน อ่างน้ำ แผ่นทางเดิน มีรั้วลักษณะโปร่งเป็นฉากหลัง เพื่อใช้ประดับและแบ่งขอบเขตของสวน บางแห่งอาจมีบ่อน้ำซึ่งแต่เดิมมีไว้ใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอย
สวนในที่ราบแบบนี้นิยมจัดไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งใกล้ ๆ เรือนน้ำชาหรือบ้านพักเพื่อใช้น้ำในอ่างล้างมือ ล้างหน้าหรือล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน แต่ในปัจจุบันมิได้ใช้ประโยชน์เพียงแต่มีไว้เพื่อเป็นการประดับเท่านั้น
1. สวนแบบเขียวชอุ่ม
2. สวนแบบพื้นที่แห้ง
สวนในที่ราบแบบเขียวชอุ่ม (Evergreen gardens)
ประกอบด้วยพื้นที่ราบเรียบ ปกคลุมด้วยหญ้าหรือมอสสีเขียวขจีสมมุติว่าเป็น "น้ำ" อาจเป็นทะเลหรือมหาสมุทร มีต้นไม้และก้อนหินรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ สมมุติว่าเป็น "เกาะ" ต้นไม้ใหญ่มีน้อยต้น และมักจะมีกิ่งก้านโปร่ง ส่วนไม้พุ่มมักจะตัดแต่งให้เป็นรูปทรงกลมเพื่อให้กลมกลืนกับก้อนหิน ส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ตะเกียงหิน อ่างน้ำ แผ่นทางเดิน มีรั้วลักษณะโปร่งเป็นฉากหลัง เพื่อใช้ประดับและแบ่งขอบเขตของสวน บางแห่งอาจมีบ่อน้ำซึ่งแต่เดิมมีไว้ใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอย
สวนในที่ราบแบบนี้นิยมจัดไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งใกล้ ๆ เรือนน้ำชาหรือบ้านพักเพื่อใช้น้ำในอ่างล้างมือ ล้างหน้าหรือล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน แต่ในปัจจุบันมิได้ใช้ประโยชน์เพียงแต่มีไว้เพื่อเป็นการประดับเท่านั้น
สวนในที่ราบแบบแห้ง (Dry landscape gardens)
สวนชนิดนี้สร้างตามปรัชญาของนักบวชนิกายเซนในบริเวณลานวัดเพื่อทำสมาธิ พิจารณาความสงบทางจิต เพ่งพิจารณารูปธรรม(สิ่งที่มีรูป) ของสรรพสิ่งที่มีชิวิตหรือสิ่งที่ไร้วิญญาณมาสู่นามธรรม(สิ่งที่ไม่มีรูป รู้ได้ทางใจ)
สวนแบบนี้มีพื้นที่ราบเรียบโรยด้วยทรายหรือกรวด สมมุติว่าเป็น "น้ำ" และมีก้อนหินวางไว้เป็นกลุ่ม ๆ สมมุติว่าเป็น "เกาะ" มีกำแพงหรือบ้านเป็นฉากหลังกรวดหรือทรายที่ราบเรียบอาจใช้ไม้ปลายแหลมขีดเป็นเส้นโค้งไปมาเหมือนลูกคลื่นหรือระรอกน้ำ ห่างกันบ้าง ชิดกันบ้าง บางเส้นกระทบกับก้อนหิน เมื่อมองดูแล้วจะเกิดความรู้สึกว่ามีเกาะหรือโขดหินโผล่ขึ้นมาจากทะเลหรือมหาสมุทร ข้อสังเกตของสวนแบบนี้คือ ไม่มีต้นไม้เป็นส่วนประกอบ และปราศจากน้ำ ซึ่งแม้แต่สักหยดเดียวก็ไม่มี
สวนชนิดนี้สร้างตามปรัชญาของนักบวชนิกายเซนในบริเวณลานวัดเพื่อทำสมาธิ พิจารณาความสงบทางจิต เพ่งพิจารณารูปธรรม(สิ่งที่มีรูป) ของสรรพสิ่งที่มีชิวิตหรือสิ่งที่ไร้วิญญาณมาสู่นามธรรม(สิ่งที่ไม่มีรูป รู้ได้ทางใจ)
สวนแบบนี้มีพื้นที่ราบเรียบโรยด้วยทรายหรือกรวด สมมุติว่าเป็น "น้ำ" และมีก้อนหินวางไว้เป็นกลุ่ม ๆ สมมุติว่าเป็น "เกาะ" มีกำแพงหรือบ้านเป็นฉากหลังกรวดหรือทรายที่ราบเรียบอาจใช้ไม้ปลายแหลมขีดเป็นเส้นโค้งไปมาเหมือนลูกคลื่นหรือระรอกน้ำ ห่างกันบ้าง ชิดกันบ้าง บางเส้นกระทบกับก้อนหิน เมื่อมองดูแล้วจะเกิดความรู้สึกว่ามีเกาะหรือโขดหินโผล่ขึ้นมาจากทะเลหรือมหาสมุทร ข้อสังเกตของสวนแบบนี้คือ ไม่มีต้นไม้เป็นส่วนประกอบ และปราศจากน้ำ ซึ่งแม้แต่สักหยดเดียวก็ไม่มี
3.สวนน้ำชา การจัดสวนรอบ ๆ เรือนน้ำชา โดยนำลักษณะเด่นพิเศษของสวนภูเขามาไว้บางส่วน และนำเอาลักษณะเด่นพิเศษของสวนในที่ราบ แบบเขียวชอุ่มมาอีกบางส่วนจัดให้ผสมผสานกัน
สวนน้ำชาจะมีรั้วด้านนอกเพื่อแสดงขอบเขตทางเข้าสวนจะมีประตูรูปทรงต่าง ๆ แปลกตาบางแห่งประตูมีหลังคา ที่มุงด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่หรือหญ้าคา ทางเดินเข้าสู่เรือนน้ำชาจะปูด้วยหินสกัดแบน หรือเขียงไม้ วางห่างกันพอดีกับก้าวเป็นการป้องกันไม่ให้เยียบพื้นดินซึ่งคุมด้วยหญ้าหรือมอสสีเขียวขจี สองข้างทางจะจัดแต่งเป็นสวนประดับหิน สลับซับซ้อนเป็นระยะ ๆ
พันธุ์ไม้ที่นิยมปลูกประดับในสวนน้ำชาประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด
ไม้ยืนต้น ชนิดที่มีกิ่งก้านและใบหนา ทึบ เช่น พีช เมเปิล โอ๊ค ส่วนชนิดที่มีกิ่งก้านและใบโปร่ง เช่น สนญี่ปุ่น หลิว ไผ่
ไม้พุ่ม นิยมตัดแต่งเป็นพุ่มกลม หรือรูปไข่เพื่อให้กลมกลืนกับก้อนหิน เช่น อาซาเลีย ชาดัด
ไม้ดัด ประเภทบอนไชหรือไม้แคระซึ่งดัดหรือตัดแต่งให้มีลีลาเหมือนไม้ต้นใหญ่แต่ย่อส่วนให้เล็กลง
ไม้น้ำ มีทั้งปลูกกลางสระน้ำ และบริเวณ ริมตลิ่ง เช่น บัว กก ไอริส
พืชคลุมดิน คือพืชที่มีความสูงไม่เกิน 1 ฟุต ปลูกไว้บริเวณใกล้ก้อนหินหรือตอไม้ เพื่อให้เหมือน หรือใกล้เคียงกับการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเพื่อเชื่อมต่อกับสวนหย่อมที่อยู่ข้างเคียง เช่น เฟิร์น ไม้พุ่มต่าง ๆ
การจัดสวนในมุมนี้ นอกจากจะมีลักษณะการจัดวางต้นไม้และวัตถุจนได้สัดส่วนกันแล้ว สิ่งที่เด่นสง่าก็คือ วัตถุต่าง ๆ ที่ใช้ประดับภายในบริเวณสวนล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นที่แปลกตาไม่ซ้ำแบบใคร มีการเคลื่อนไหวของน้ำที่หยดและไหลลันกิ่งไม้และใบไม้โอนเอียงไปมาเมื่อต้องกระแสลม มีแสงริบหรี่จากตะเกียงหินในยามค่ำคืน ทำให้บริเวณดังกล่าวนี้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
ตะเกียงหิน สำหรับใช้ประดับในตอนกลางวันและให้มีแสงสว่างในตอนกลางคืน
อ่างน้ำ สำหรับใช้เพื่อล้างมือล้างหน้าหรือบ้วนปากก่อนเข้าพิธี (มีกระบวยไม้ไผ่ด้ามยาวสำหรับตักน้ำวางพาดไว้ที่ปากอ่าง)
หินก้อนใหญ่ สำหรับใช้จับยึดหรือสิ่งของระหว่างล้างมือ ล้างหน้า หรือบ้วนปากและสมมุติว่าเป็น "เกาะ"
แผ่นทางเดิน วางคดเคี้ยวไปมาห่างกันพอดีกับระยะก้าวเพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่อ่างน้ำ เรือนน้ำชา และชมความงามของสวน
รั้วไม้โปร่ง เป็นรั้วไม้ไผ่หรือกิ่งไม้ประกอบอย่างง่าย ๆ ใช้เป็นฉากหลังเพื่อประดับหรือแบ่งขอบเขตของสวน
ต้นไม้ ใช้ต้นไม้หลายชนิด ต้นไม้ใหญ่ควรมีกิ่งใบโปร่ง เช่น หลิว สนญี่ปุ่น ไผ่ ไม้พุ่ม มักตัดเป็นรูปทรงกลม หรือรูปไข่ ให้กลมกลืนกับก้อนหิน เช่น ชา อาซาเลีย พืชคลุมดิน ปลูกเป็นกลุ่มใหญ่ข้างก้อนหิน เช่น เฟิร์น ไม้พุ่มต่าง ๆ ด้านหน้า ใกล้ ๆ ตะเกียงหิน จะมีไม้ดัดแคระหรือบอนไซ ปลูกไว้ กิ่งก้าน และใบมักจะบังตะเกียงหินไว้บ้างบางส่วน
สวนแบบนี้บางแห่งอาจมีน้ำไหลหรือหยดน้ำจากท่อไม้ไผ่ลงอ่างน้ำตลอดเวลาจนมีน้ำล้น บริเวณพื้นข้างอ่างน้ำจึงต้องโรยกรวดเอาไว้ เพื่อให้บริเวณนั้นแลดูสะอาดตา และสมมุติว่าเป็น "ทะเลหรือมหาสมุทร"
สวนน้ำชาจะมีรั้วด้านนอกเพื่อแสดงขอบเขตทางเข้าสวนจะมีประตูรูปทรงต่าง ๆ แปลกตาบางแห่งประตูมีหลังคา ที่มุงด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่หรือหญ้าคา ทางเดินเข้าสู่เรือนน้ำชาจะปูด้วยหินสกัดแบน หรือเขียงไม้ วางห่างกันพอดีกับก้าวเป็นการป้องกันไม่ให้เยียบพื้นดินซึ่งคุมด้วยหญ้าหรือมอสสีเขียวขจี สองข้างทางจะจัดแต่งเป็นสวนประดับหิน สลับซับซ้อนเป็นระยะ ๆ
พันธุ์ไม้ที่นิยมปลูกประดับในสวนน้ำชาประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด
ไม้ยืนต้น ชนิดที่มีกิ่งก้านและใบหนา ทึบ เช่น พีช เมเปิล โอ๊ค ส่วนชนิดที่มีกิ่งก้านและใบโปร่ง เช่น สนญี่ปุ่น หลิว ไผ่
ไม้พุ่ม นิยมตัดแต่งเป็นพุ่มกลม หรือรูปไข่เพื่อให้กลมกลืนกับก้อนหิน เช่น อาซาเลีย ชาดัด
ไม้ดัด ประเภทบอนไชหรือไม้แคระซึ่งดัดหรือตัดแต่งให้มีลีลาเหมือนไม้ต้นใหญ่แต่ย่อส่วนให้เล็กลง
ไม้น้ำ มีทั้งปลูกกลางสระน้ำ และบริเวณ ริมตลิ่ง เช่น บัว กก ไอริส
พืชคลุมดิน คือพืชที่มีความสูงไม่เกิน 1 ฟุต ปลูกไว้บริเวณใกล้ก้อนหินหรือตอไม้ เพื่อให้เหมือน หรือใกล้เคียงกับการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเพื่อเชื่อมต่อกับสวนหย่อมที่อยู่ข้างเคียง เช่น เฟิร์น ไม้พุ่มต่าง ๆ
การจัดสวนในมุมนี้ นอกจากจะมีลักษณะการจัดวางต้นไม้และวัตถุจนได้สัดส่วนกันแล้ว สิ่งที่เด่นสง่าก็คือ วัตถุต่าง ๆ ที่ใช้ประดับภายในบริเวณสวนล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นที่แปลกตาไม่ซ้ำแบบใคร มีการเคลื่อนไหวของน้ำที่หยดและไหลลันกิ่งไม้และใบไม้โอนเอียงไปมาเมื่อต้องกระแสลม มีแสงริบหรี่จากตะเกียงหินในยามค่ำคืน ทำให้บริเวณดังกล่าวนี้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
ตะเกียงหิน สำหรับใช้ประดับในตอนกลางวันและให้มีแสงสว่างในตอนกลางคืน
อ่างน้ำ สำหรับใช้เพื่อล้างมือล้างหน้าหรือบ้วนปากก่อนเข้าพิธี (มีกระบวยไม้ไผ่ด้ามยาวสำหรับตักน้ำวางพาดไว้ที่ปากอ่าง)
หินก้อนใหญ่ สำหรับใช้จับยึดหรือสิ่งของระหว่างล้างมือ ล้างหน้า หรือบ้วนปากและสมมุติว่าเป็น "เกาะ"
แผ่นทางเดิน วางคดเคี้ยวไปมาห่างกันพอดีกับระยะก้าวเพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่อ่างน้ำ เรือนน้ำชา และชมความงามของสวน
รั้วไม้โปร่ง เป็นรั้วไม้ไผ่หรือกิ่งไม้ประกอบอย่างง่าย ๆ ใช้เป็นฉากหลังเพื่อประดับหรือแบ่งขอบเขตของสวน
ต้นไม้ ใช้ต้นไม้หลายชนิด ต้นไม้ใหญ่ควรมีกิ่งใบโปร่ง เช่น หลิว สนญี่ปุ่น ไผ่ ไม้พุ่ม มักตัดเป็นรูปทรงกลม หรือรูปไข่ ให้กลมกลืนกับก้อนหิน เช่น ชา อาซาเลีย พืชคลุมดิน ปลูกเป็นกลุ่มใหญ่ข้างก้อนหิน เช่น เฟิร์น ไม้พุ่มต่าง ๆ ด้านหน้า ใกล้ ๆ ตะเกียงหิน จะมีไม้ดัดแคระหรือบอนไซ ปลูกไว้ กิ่งก้าน และใบมักจะบังตะเกียงหินไว้บ้างบางส่วน
สวนแบบนี้บางแห่งอาจมีน้ำไหลหรือหยดน้ำจากท่อไม้ไผ่ลงอ่างน้ำตลอดเวลาจนมีน้ำล้น บริเวณพื้นข้างอ่างน้ำจึงต้องโรยกรวดเอาไว้ เพื่อให้บริเวณนั้นแลดูสะอาดตา และสมมุติว่าเป็น "ทะเลหรือมหาสมุทร"
หลักการจัดสวนแบบญี่ปุ่น มีดังนี้
1) สวนญี่ปุ่นมีหลักเกณฑ์แบบแผนแน่นอน มีชื่อเฉพาะในแต่ละแบบสร้างสวนรอบ ๆ ตัวบ้านและไม่นิยมปลูกต้นไม้ติดตัวบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปนิยมจัดสวนไว้ทางทิศใต้ของตัวบ้าน
2) กระแสน้ำในลำธารจะต้องไหลจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก
3) สวนญี่ปุ่นจะต้องมีภูเขาหรือเป็นเนินดิน สลับกับพื้นที่ราบอาจจะมีน้ำตก สระน้ำ ลำธาร ฯลฯ โดยย่อส่วนลงมาจัดไว้ในสวนทั้งหมด มีตะเกียงหิน
4) การจัดต้นไม้จะต้องจัดให้เลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด แต่ไม้พุ่มนิยมตัดแต่ง เป็นพุ่มกลม ๆ ล้อเลียนลักษณะของหิน
5) นำประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาต่าง ๆ ลัทธิทางศาสนา เข้ามารวมอยู่ในสวน เน้นความร่มรื่นเงียบสงบไม่่ใช้ไม้ดอกที่มีสีสันสะดุดตา นิยมใช้พันธุ์ไม้ที่มีสีเขียวตลอดปี ไม้แคระ และนิยมใช้สนเป็นฉากด้านหลัง
ส่วนประกอบของสวนญี่ปุ่น
ในสมัยก่อนคนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า สิ่งที่จะบันดาลให้คนญี่ปุ่นมีอำนาจและมีความสุข ประกอบด้วย ดิน น้ำ ไฟ ไม้ โลหะ ดังนั้นส่วนประกอบของสวนญี่ปุ่นจะสื่อความหมายถึงสิ่งเหล่านี้
1.น้ำ
น้ำ เป็นสิ่งที่ชโลมใจให้เยือกเย็นและมีความสุข น้ำมีอำนาจที่จะไหลพังทลายสิ่งที่กีดขวางได้ น้ำทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนธรรมชาติและมีชีวิตชีวา จึงนิยมใช้น้ำเป็นสิ่งประกอบที่สำคัญ การใช้น้ำในสวนญี่ปุ่นก็เพื่อสมมุติว่าเป็น ลำธาร หนอง บึง สระน้ำ ทะเล มหาสมุทร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การจัดน้ำไว้ภายในบริเวณสวนอย่างน้อยที่สุดก็มีน้ำในอ่างน้ำ ที่วางไว้ในสวนในที่ราบแบบเขียวชอุ่ม ส่วนสวนในที่ราบพื้นแห้ง ถึงแม้ภายในบริเวณจะไม่มีน้ำจริง ๆ แต่ก็ใช้กรวดหรือทรายโรยบนพื้นที่ราบเรียบแล้วใช้ไม้ปลายแหลมขีดเส้นโค้งรอบ ๆ กลุ่มก้อนหิน ชิดกันบ้างห่างกันบ้างเหมือนระรอกน้ำหรือเกลียวคลื่น ซึ่งเป็นการใช้น้ำโดยสมมุติ
การใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในส่วนญี่ปุ่น
น้ำตก เป็นจุดเด่นสำคัญของสวนภูเขา น้ำตก เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งในการจัดสวนญี่ปุ่น การปลูกต้นไม้ไม่ควรปลูกให้หนาทึบทากเกินไป ควรให้มีแสงสว่างลอดลงไปได้บ้างเพื่อให้เห็นความงามของก้อนหิน และเห็นแสงเมื่อสะท้อนกับน้ำตกในบางจุด
ลำธาร เป็นทางน้ำตื้น ๆ ไหลผ่าน หุบเขาที่คดเคี้ยวไป-มาลงสู่พื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าเหมือนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ริมตลิ่งและในลำธารมีก้อนหินขนาดใหญ่และเล็กฝังไว้เป็นระยะ ๆ อย่างกลมกลืน เมื่อน้ำไหลผ่านก็จะปะทะกับก้อนหินทำให้เกิดระอองน้ำกระเซ็นเป็นฝอยและอาจมีเสียงดังซู่ซ่าสร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
สระน้ำ ลักษณะรูปร่างเป็นแบบธรรมชาติ จะไม่ปรากฏรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมหรือวางแสดงให้เห็นว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์เลย ขอบสระหรือริมตลิ่งจะฝังก้อนหินใหญ่/เล็กไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันตลิ่งพังและเป็นการประดับด้วย การฝังก้อนหินริมตลิ่งนับว่าเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่ง สระน้ำไม่ควรลึกนัก ถ้าขุดลึกเกินไปนอกจากจะทำให้ตลิ่งพังได้แล้ว ยังทำให้ไม่สามารถมองเห็นก้อนหินก้อนกรวดที่ก้นสระ น้ำในสระควรใสสะอาดไม่มีกลิ่นและไม่กระด้าง การไหลของน้ำลงสู่สระน้ำอาจไหลตามลำธารซึ่งมีแหล่งน้ำตกเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไหลจากท่อน้ำหรือก๊อกน้ำ การวางท่อส่งน้ำและท่อน้ำล้นควรซ่อนปลายท่อน้ำไว้ใต้ซอกหิน
ถ้าเลี้ยงปลาในสระน้ำ ควรเลือกปลาที่กินพืชเป็นอาหาร เพื่อจะได้ช่วยกินตะไคร่น้ำ เช่น ปลาไน หรือปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งเป็นปลาที่เชื่องและมีสีสันสดใสหลายสีสดุดตา ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาก็คือ อย่าให้อาหารมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเน่าได้ แต่ถ้าไม่เลี้ยงปลาก็ควรปลูกพืชน้ำเช่น บัว สันตะวาใบพาย หรือใบข้าว ซึ่งสามารถเลี้ยงขึ้นอยู่ใต้น้ำ (ต้นและใบคล้ายต้นผักกาดสีน้ำตาล) เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียได้เป็นอย่างดี
น้ำพุ น้ำพุในสวนญี่ปุ่นเป็นน้ำพุที่ไหลริน ๆ เหมือนบ่อน้ำร้อน พุ่งขึ้นเหนือผิวดินเหมือนท่อน้ำรั่ว บางแห่งไหลออกจากซอกหิน โดยซ่อนท่อน้ำไว้ใต้ก้อนหิน ไม่นิยมน้ำพุที่พุ่งขึ้นสูง ๆ อย่างสวนแบบประดิษฐ์ โดยทั่วไปมักจะจัดน้ำพุไว้ที่บริเวณใกล้เชิงเขาหรือใกล้ทางเดิน
บ่อน้ำ ในการจัดสวนญี่ปุ่นอาจจัดให้มีบ่อน้ำอยู่ในบริเวณสวนด้วย รูปร่างของบ่อน้ำจะเป็นรูปเหลี่ยมหรือรูปกลมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบตามธรรมชาติเหมือนสระน้ำ โดยมีมือหมุนเพื่อกว้านถังน้ำขึ้นมาจากบ่อ แต่ในปัจจุบันมีไว้เพื่อประดับสวนมากกว่าการใช้ประโยชน์
ลำธาร เป็นทางน้ำตื้น ๆ ไหลผ่าน หุบเขาที่คดเคี้ยวไป-มาลงสู่พื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าเหมือนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ริมตลิ่งและในลำธารมีก้อนหินขนาดใหญ่และเล็กฝังไว้เป็นระยะ ๆ อย่างกลมกลืน เมื่อน้ำไหลผ่านก็จะปะทะกับก้อนหินทำให้เกิดระอองน้ำกระเซ็นเป็นฝอยและอาจมีเสียงดังซู่ซ่าสร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
สระน้ำ ลักษณะรูปร่างเป็นแบบธรรมชาติ จะไม่ปรากฏรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมหรือวางแสดงให้เห็นว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์เลย ขอบสระหรือริมตลิ่งจะฝังก้อนหินใหญ่/เล็กไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันตลิ่งพังและเป็นการประดับด้วย การฝังก้อนหินริมตลิ่งนับว่าเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่ง สระน้ำไม่ควรลึกนัก ถ้าขุดลึกเกินไปนอกจากจะทำให้ตลิ่งพังได้แล้ว ยังทำให้ไม่สามารถมองเห็นก้อนหินก้อนกรวดที่ก้นสระ น้ำในสระควรใสสะอาดไม่มีกลิ่นและไม่กระด้าง การไหลของน้ำลงสู่สระน้ำอาจไหลตามลำธารซึ่งมีแหล่งน้ำตกเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไหลจากท่อน้ำหรือก๊อกน้ำ การวางท่อส่งน้ำและท่อน้ำล้นควรซ่อนปลายท่อน้ำไว้ใต้ซอกหิน
ถ้าเลี้ยงปลาในสระน้ำ ควรเลือกปลาที่กินพืชเป็นอาหาร เพื่อจะได้ช่วยกินตะไคร่น้ำ เช่น ปลาไน หรือปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งเป็นปลาที่เชื่องและมีสีสันสดใสหลายสีสดุดตา ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาก็คือ อย่าให้อาหารมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเน่าได้ แต่ถ้าไม่เลี้ยงปลาก็ควรปลูกพืชน้ำเช่น บัว สันตะวาใบพาย หรือใบข้าว ซึ่งสามารถเลี้ยงขึ้นอยู่ใต้น้ำ (ต้นและใบคล้ายต้นผักกาดสีน้ำตาล) เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียได้เป็นอย่างดี
น้ำพุ น้ำพุในสวนญี่ปุ่นเป็นน้ำพุที่ไหลริน ๆ เหมือนบ่อน้ำร้อน พุ่งขึ้นเหนือผิวดินเหมือนท่อน้ำรั่ว บางแห่งไหลออกจากซอกหิน โดยซ่อนท่อน้ำไว้ใต้ก้อนหิน ไม่นิยมน้ำพุที่พุ่งขึ้นสูง ๆ อย่างสวนแบบประดิษฐ์ โดยทั่วไปมักจะจัดน้ำพุไว้ที่บริเวณใกล้เชิงเขาหรือใกล้ทางเดิน
บ่อน้ำ ในการจัดสวนญี่ปุ่นอาจจัดให้มีบ่อน้ำอยู่ในบริเวณสวนด้วย รูปร่างของบ่อน้ำจะเป็นรูปเหลี่ยมหรือรูปกลมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบตามธรรมชาติเหมือนสระน้ำ โดยมีมือหมุนเพื่อกว้านถังน้ำขึ้นมาจากบ่อ แต่ในปัจจุบันมีไว้เพื่อประดับสวนมากกว่าการใช้ประโยชน์
2.เกาะ
ถ้าสระน้ำมีขนาดกว้างใหญ่ มักจัดให้มีเกาะไว้กลางสระน้ำ บนเกาะประดับด้วยก้อนหินใหญ่/เล็ก เมื่อมองไกล ๆ อาจเห็นมีรูปร่างคล้ายเต่า มักเรียกว่า "Tortoise island" ซึ่งเชื่อว่าเป็นศิริมงคลแก่บ้าน เพราะคนญี่ปุ่นถือว่าเต่าเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืน บนเกาะมักจะปลูกต้นสนโดยถือกันว่าต้นสน คือสัญลักษณ์ของความมั่นคงถาวร เพราะต้นสนทนต่อความหนาวเย็นได้
3.สะพาน
ภายในบริเวณที่มีลำธารหรือเกาะ มักจะจัดทำสะพานเอาไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินข้ามน้ำและใช้เป็นเครื่องประดับ วัสดุที่ใช้ทำสะพานประกอบด้วยหินหรือไม้
4.หิน
การวางก้อนหินในสวนไม่นิยมวางเป็นก้อนโดด ๆ อย่างน้อยจะต้องมีก้อนหินก้อนอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าวางไว้ข้าง ๆ เป็นส่วนประกอบ ระยะห่างระหว่างก้อนขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนหิน ถ้าก้อนหินใหญ่มากก็อาจวางห่างกันหน่อย ก้อนหินที่จัดวางไว้ในกลุ่มเดียวกันทุกก้อนควรมีลักษณะผิวและสีเหมือนกัน แต่ละก้อนควรมีขนาดแตกต่างกัน โดยทั่วไปในกลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีก้อนหินเป็นเลขคี่ เช่น 3 , 5 , 7 ฯลฯ โดยจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวแล้วในตอนต้น
แต่ก็มีบางครั้งที่วางก้อนหินเพียง 2 ก้อน แล้วปลูกต้นไม้อีก 1 ต้น ก็จะทำให้มองดูแล้วเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมได้เหมือนกัน
การประดับก้อนหินในบริเวณสวนควรฝังบางส่วนของก้อนหินไว้ในดินโดยฝังส่วนที่เป็นรอยคอดตอนล่างให้จมลง ส่วนล่างของก้อนหินที่ระดับผิวดินจะต้องเป็นส่วนที่มีความกว้างหรือใหญ่กว่าส่วนบนที่อยู่เหนือดินขึ้นไป จะทำให้รู้สึกว่าก้อนหินก้อนนั้นอยู่อย่างแข็งแรงมั่นคง มีลักษณะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
รูปทรงก้อนหินที่เป็นพื้นฐานในการตกแต่งสวน
REISHO-SEKI(spiritualform)
รูปทรงเตี้ย (low vertical) ลักษณะคล้ายดอกบัวตูมขนาดสูงเป็น 1.5ของความกว้างที่ฐานใช้เป็นจุดสนใจหรือจุดเด่นที่สำคัญในการจัดสวนเป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญาแสดงถึงจิตใจที่สงบและมั่นคง
TAIZO-SEKI(bodyrock)
รูปทรงเตี้ย(Tall vertical)คล้ายคนยืนใช้จัดวางในบริเวณน้ำตก เป็นสัญลักษณ์แห่งความสง่างาม
SHINTAI - SEKI (heart rock)
ลักษณะแบน (flat) ส่วนกว้างเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ใช้วางหน้าก้อนหินก้อนอื่นเสมอ
SHINKEI - SEKI (branching rock)
ลักษณะโค้ง (arching) ด้านบนเรียบฐานเล็กกว่าด้านบน ใช้ประกอบเป็นหน้าผา
KIKYAKU - SEKI (reclining rock)
ลักษณะเอียง (reclining) ส่วนเว้า วางหงายขึ้น ใช้วางหน้าก้อนหินก้อนอื่นเสมอ
ลักษณะเอียง (reclining) ส่วนเว้า วางหงายขึ้น ใช้วางหน้าก้อนหินก้อนอื่นเสมอ
ความสัมพันธ์ระหว่างก้อนหินและน้ำ
ก้อนหินกับน้ำต่างกัน แต่มันก็สามารถอยู่ด้วยกันได้ อย่างงดงามถ้อยที่ถ้อยอาศัยกัน ลองนึกดู ถ้ามีก้อนหินเพียงก้อนเดียว ก็คงจะแห้งแล้ง และถ้ามีน้ำอย่างเดียว มันก็คงจะเวิ้งว้าง เช่น ทะเลหรือมหาสมุทร แต่ถ้าหินกับน้ำมารวมกัน ภาพที่เห็นจะคล้ายเป็นความชุ่มชื่นระรื่นในมีทัศนียภาพที่ประทับใจ
สวนญี่ปุ่นจะใช้ธรรมชาติเป็นแกน ดังนั้นพันธุ์ไม้ที่ใช้ประกอบในสวนจึงเป็นพันธุ์ไม้ที่สรรหามาจากป่าตามธรรมชาติ โดยเฉพาะต้นสนของญี่ปุ่นซึ่งมีลีลาและรูปทรงสวยงามมากและมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน พันธุ์ไม้ประกอบอื่น ๆ ก็ใช้พันธุ์ไม้ประเภทไม้ใบที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี จัดทำเป็นพุ่มใหญ่บ้างเล็กบ้าง ตามความเหมาะสมของสถานที่และกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมของสวน เช่น น้ำตก ลำธาร สะพาน ตะเกียงหิน แผ่นทางเดิน ฯลฯ บางครั้งอาจย่อส่วนของต้นไม้ หรือตัดให้มีลีลาสง่างาม เพื่อให้เกิดความสมดุลในองค์ประกอบศิลปะ
ที่น่าสนใจก็คือ ไม่นิยมปลูกแปลงไม้ดอกไว้ในสวนเลย ถ้าจะปลูกแปลงไม้ดอกก็มักจะจัดสัดส่วนไว้ต่างหากแยกออกไปไม่นำมาปะปนกับสวน แต่สวนญี่ปุ่นไม่ใช่ไม่มีดอกไม้เสียเลย ไม้ป่าบางชนิดที่นำมาปลูกเมื่อถึงฤดูออกดอกก็จะมีดอกที่สวยงามเหมือนกัน แต่ก็มีเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น และก็มีน้อยต้นไม่มากนัก เช่น อาซาเลีย เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างเล็กหนาและสีเขียวเข้มลักษณะเป็นมัน นำมาปลูกเป็นกอแล้วตัดแต่งให้เป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อถึงฤดูออกดอกก็จะให้ดอกสีชมพูอ่อนบ้างเข้มบ้าง และขณะออกดอกจะไม่ทิ้งใบหมด
ต้นไม้ที่ใช้ประดับหรือปลูกในสวนญี่ปุ่นใช้ทั้งชนิดที่มีใบเล็กและชนิดที่มีใบใหญ่
ต้นไม้ชนิดที่มีใบเล็กได้แก่ สนสองใบ สนดำ สนแดง หลิว ไผ่ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ การใช้ต้นไม้ที่มีใบเล็กก็เพื่อต้องการให้แสงสว่างส่องลงมาได้ ช่วยให้พุ่มเตี้ยและพืชคุมดินในสวนล่างสามารถเจริญงอกงามตามธรรมชาติได้ตลอดปี ต้นไม้ชนิดที่มีใบใหญ่ ได้แก่ โอ๊ค พีช ซากุระ พลับ เมเปิล ฯลฯ การใช้ต้นไม้ที่มีใบใหญ่ก็เพื่อต้องการให้มีร่มเงามาก ๆ พืชที่คลุมส่วนล่างจะได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่ในฤดูที่ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นผลัดใบคือก่อนถึงฤดูหนาว
ที่น่าสนใจก็คือ ไม่นิยมปลูกแปลงไม้ดอกไว้ในสวนเลย ถ้าจะปลูกแปลงไม้ดอกก็มักจะจัดสัดส่วนไว้ต่างหากแยกออกไปไม่นำมาปะปนกับสวน แต่สวนญี่ปุ่นไม่ใช่ไม่มีดอกไม้เสียเลย ไม้ป่าบางชนิดที่นำมาปลูกเมื่อถึงฤดูออกดอกก็จะมีดอกที่สวยงามเหมือนกัน แต่ก็มีเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น และก็มีน้อยต้นไม่มากนัก เช่น อาซาเลีย เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างเล็กหนาและสีเขียวเข้มลักษณะเป็นมัน นำมาปลูกเป็นกอแล้วตัดแต่งให้เป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อถึงฤดูออกดอกก็จะให้ดอกสีชมพูอ่อนบ้างเข้มบ้าง และขณะออกดอกจะไม่ทิ้งใบหมด
ต้นไม้ที่ใช้ประดับหรือปลูกในสวนญี่ปุ่นใช้ทั้งชนิดที่มีใบเล็กและชนิดที่มีใบใหญ่
ต้นไม้ชนิดที่มีใบเล็กได้แก่ สนสองใบ สนดำ สนแดง หลิว ไผ่ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ การใช้ต้นไม้ที่มีใบเล็กก็เพื่อต้องการให้แสงสว่างส่องลงมาได้ ช่วยให้พุ่มเตี้ยและพืชคุมดินในสวนล่างสามารถเจริญงอกงามตามธรรมชาติได้ตลอดปี ต้นไม้ชนิดที่มีใบใหญ่ ได้แก่ โอ๊ค พีช ซากุระ พลับ เมเปิล ฯลฯ การใช้ต้นไม้ที่มีใบใหญ่ก็เพื่อต้องการให้มีร่มเงามาก ๆ พืชที่คลุมส่วนล่างจะได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่ในฤดูที่ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นผลัดใบคือก่อนถึงฤดูหนาว
6.รั้ว
รั้วญี่ปุ่นมีอยู่ 2 ชนิดคือ รั้วรอบบ้าน รั้วประดับภายในสวน
รั้วรอบบ้าน มีลักษณะรูปร่างต่างกัน บางบ้านใช้ไม้ไผ่ขัดแตะตลอดทั้งแนว บางบ้านใช้วัสดุต่างกัน คือส่วนล่างใช้หินภูเขาก่อโดยใช้ปูนยารอยต่อระหว่างก้อน ส่วนบนใช้แผ่นไม้กระดาษวางตั้งไว้ในแนวยืนบางแห่งก่อด้วยหินภูเขาทั้งหมดเป็นกำแพงหนาแข็งแรง บางแห่งอาจมีหลังคาแคบ ๆ บนรั้ว วัตถุประสงค์ของการทำรั้วรอบบ้านก็เพื่อป้องกันและแสดงขอบเขตความเป็นเจ้าของของที่ดินแปลงนั้น
รั้วประดับภายในบ้าน วัสดุที่ใช้ประกอบส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่หรือกิ่งไม้ ลักษณะโปร่งสามารถมองทะลุได้ ความงามของรั้วชนิดนี้อยู่ที่ศิลปะและฝีมือในการสานขัดเป็นลวดลายต่าง ๆ ใช้เชือกสีแดงหรือสีดำผูกแทนการตอกตะปู วัตถุประสงค์ของการจัดทำรั้วโปร่งภายในบริเวณสวนก็เพื่อแบ่งขอบเขตของสวนและประดับเป็นฉากหลัง เพื่อความสวยงาม
7.ตะเกียงหิน
คนญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาชินโตมีความเคารพบรรพบุรุษ และธรรมชาติ มักจะจุดตะเกียงเพื่อบูชาและส่งวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีจินตนาการให้ความหมายส่วนต่าง ๆ ของตะเกียงวาเป็น สวรรค์ มนุษย์ และพิภพ
รูปสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านบนเปรียบเสมือนมือที่ยกขึ้นพนมและสวดเพื่อชี้ทางไปสวรรค์ ส่วนรูปทรงกลมหมายถึงมนุษย์อยู่ตรงกลางระหว่างสวรรค์และพิภพ
ต่อมาได้เปลี่ยนสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ท้องฟ้า คนญี่ปุ่นรุ่นหลัง ๆ ได้นำหลักการปรัชญานี้มาประดิษฐ์เป็นตะเกียงหินในรูปแบบต่าง ๆ
ตะเกียงหินเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อประดับเขตของวัดและเพื่อบูชาดวงวิญาณ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการให้แสงสว่างแก่สวนอีกด้วย ขนาดของตะเกียงมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลวดลายและรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ตะเกียงหินจะมีปรากฏให้เห็นในสวนญี่ปุ่นแทบทุกแบบจนเป็นเครื่องประดับ และตบแต่งสวนจนขาดไม่ได้ วัสดุที่ใช้นอกจากจะทำด้วยหินสกัดแล้วในระยะหลัง ๆ ยังทำด้วยไม้หรือหล่อด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ แสงสว่างภายในตะเกียงไม่นิยมแสงที่สว่างจ้านัก ส่วนมากจะใช้แสงเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน
รูปสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านบนเปรียบเสมือนมือที่ยกขึ้นพนมและสวดเพื่อชี้ทางไปสวรรค์ ส่วนรูปทรงกลมหมายถึงมนุษย์อยู่ตรงกลางระหว่างสวรรค์และพิภพ
ต่อมาได้เปลี่ยนสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ท้องฟ้า คนญี่ปุ่นรุ่นหลัง ๆ ได้นำหลักการปรัชญานี้มาประดิษฐ์เป็นตะเกียงหินในรูปแบบต่าง ๆ
ตะเกียงหินเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อประดับเขตของวัดและเพื่อบูชาดวงวิญาณ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการให้แสงสว่างแก่สวนอีกด้วย ขนาดของตะเกียงมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลวดลายและรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ตะเกียงหินจะมีปรากฏให้เห็นในสวนญี่ปุ่นแทบทุกแบบจนเป็นเครื่องประดับ และตบแต่งสวนจนขาดไม่ได้ วัสดุที่ใช้นอกจากจะทำด้วยหินสกัดแล้วในระยะหลัง ๆ ยังทำด้วยไม้หรือหล่อด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ แสงสว่างภายในตะเกียงไม่นิยมแสงที่สว่างจ้านัก ส่วนมากจะใช้แสงเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน
การวางตะเกียงหินและวัตถุประสงค์
การวางตะเกียงหินใกล้ทางเดิน อ่างน้ำ บันได นำไปสู่เนินดิน ภายในสวนเพื่อประดับให้สว่าง
วางใต้ต้นไม้ที่มีกิ่งก้านโปร่งเพื่อให้มีแสงสลัวเกิดความรู้สึกเหมือนฝัน
วางใกล้น้ำตก ทำให้มีความสวยงามในตอนกลางวันและเป็นทิวทัศน์ที่ประทับใจในตอนกลางคืน
วางประดับริมทางเดินในวัดเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
8.อ่างน้ำ
อ่างน้ำที่ประดับอยู่ในสวนญี่ปุ่นและใช้ประโยชน์จากอ่างน้ำจริง ๆ มักจะตั้งอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งของเรือนน้ำชา เพื่อให้แขกผู้ทรงเกียติได้ล้างมือหรือบ้วนปากก่อนเข้าพิธีชงชา หรือตั้งไว้ใกล้ ๆ ตัวบ้านเพื่อใช้ล้างมือหรือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน แต่ปัจจุบันอ่างน้ำได้กลายเป็นเครื่องประดับโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ คงมีไว้เพื่อรักษารูปแบบและวัฒนธรรมเท่านั้น
9.ทางเดินในสวน
ทางเดินในสวนญี่ปุ่น นอกจากถนนดินหรือถนนที่โรยด้วยกรวดแล้ว ญี่ปุ่นยังจัดทางเดินโดยวางแผ่นหินในแบบต่าง ๆ อีกด้วย เช่น
STEPPING STONES การวางแผ่นทางเดินในแบบนี้ จะวางให้ห่างกันพอดีกับระยะก้าว การวางจะวางคดโค้งไปมาเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อนำไปชมความงามของสวนหย่อมหรือสวนประดับหิน ณ จุดต่าง ๆ ภายในบริเวณสวน
บังคับให้ก้าวเดินในเส้นทางนั้นและป้องกันไม่ให้เหยียบสนามหญ้าหรือมอส
เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างสวนต่าง ๆ นำไปสู่อ่างน้ำและเป็นขั้นบันไดสู่เนินดิน
PAVED WALKS การวางทางเดินในแบบนี้ ใช้แผ่นหินรูปร่างต่าง ๆ ปูสลับเป็นลวดลายอย่างสวยงาม บางแบบมีขอบซีเมนต์เพื่อกันไม่ให้ก้อนกรวดกระจายออกไปด้านนอกหรือแนวที่กำหนด ทางเดินในลักษณะนี้มักใช้ในสวนที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวาง โดยปูลาดไปยังส่วนต่าง ๆ ของสวนหรือปูลาดไปยังส่วนต่าง ๆ ของสวนหรือปูลาดรอบตัวบ้าน หรือเรือนน้ำชาบริเวณใต้ชายคา เพื่อป้องกันน้ำฝนที่ไหลลงมาให้กัดเซาะสนามหรือพื้นดินรอบ ๆ บ้านและใช้เป็นทางเดินรอบบ้านอีกด้วย
STEPPING STONES การวางแผ่นทางเดินในแบบนี้ จะวางให้ห่างกันพอดีกับระยะก้าว การวางจะวางคดโค้งไปมาเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อนำไปชมความงามของสวนหย่อมหรือสวนประดับหิน ณ จุดต่าง ๆ ภายในบริเวณสวน
บังคับให้ก้าวเดินในเส้นทางนั้นและป้องกันไม่ให้เหยียบสนามหญ้าหรือมอส
เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างสวนต่าง ๆ นำไปสู่อ่างน้ำและเป็นขั้นบันไดสู่เนินดิน
PAVED WALKS การวางทางเดินในแบบนี้ ใช้แผ่นหินรูปร่างต่าง ๆ ปูสลับเป็นลวดลายอย่างสวยงาม บางแบบมีขอบซีเมนต์เพื่อกันไม่ให้ก้อนกรวดกระจายออกไปด้านนอกหรือแนวที่กำหนด ทางเดินในลักษณะนี้มักใช้ในสวนที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวาง โดยปูลาดไปยังส่วนต่าง ๆ ของสวนหรือปูลาดไปยังส่วนต่าง ๆ ของสวนหรือปูลาดรอบตัวบ้าน หรือเรือนน้ำชาบริเวณใต้ชายคา เพื่อป้องกันน้ำฝนที่ไหลลงมาให้กัดเซาะสนามหรือพื้นดินรอบ ๆ บ้านและใช้เป็นทางเดินรอบบ้านอีกด้วย
...ทิ้งท้าย...
สวนญี่ปุ่น
เป็นสไตล์การจัดสวนประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวจนได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยความงดงามตามธรรมชาติที่แฝงความเชื่อตามหลัก “เต๋า” และ “เซ็น” ที่สอนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร ด้วยความเคารพ
สวนญี่ปุ่น เป็นการจัดสวนที่เลียนแบบธรรมชาติ โดยมีองค์ประกอบที่เด่นชัด เช่น ตะเกียงหินสไตล์ญี่ปุ่น อ่างน้ำล้น สะพาน รั้วไม้ไผ่ และพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมเช่น สนญี่ปุ่น หลิว ไผ่ ชาดัด เป็นต้น บางครั้งใช้การจัดองค์ประกอบสวนเป็นตัวแทนจำลองเป็นธรรมชาติให้เกิดความสมดุลของ ดิน น้ำ ลม ไฟ
การจัดสวนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นแบบสวนธรรมชาติ หรือสวนหิน นอกจากจะให้ความสวยงามจากองค์ประกอบทางศิลปะที่ครบถ้วนแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยปรัชญา สะท้อนถึงความสงบ และสันติสุขอันลึกซึ้ง
- หน้าแรก
- ประเทศไทยของเรา รู้จักแล้วหรือยัง
- สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- เกษตรทฤษฎีใหม่(New Theory Farming)
- เกษตรธรรมชาติ
- แมลงหรือมนุษย์ที่จะครองโลก
- ลองจัดสวนแบบญี่ปุ่นดูสิ
- รูปจัดสวนให้บ้านสวยด้วยมือของเรา
- ความรู้เรื่องการจัดสวนให้บ้านสวยด้วยมือเรา
- ต้นไม้มงคลประจำวันเกิด เลือกปลูกให้เหมาะสมเป็นสิริมงคลต่อตนเอง
- โลกร้อนเกิดจากฝีมือของใคร
- แบบทดสอบ pre o-net วิชาการงานอาชีพ ม.3 ปี 54
- รวมข้อสอบGAT-PAT;O-NET ม.3-ม.6
- รวมภาพกิจกรรมโรงเรียนวังบ่อวิทยา
- ค่ายเยาวชนโตโยต้าลดเมืองร้อนด้วยมือเรา ปีที่8
- คำแปลกฏบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
- CARTOON ASEAN VIDEO
- Asean musicroom
- enjoy the videos
- ความรู้เรื่องข้าว
- ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น
- plant diseases(โรคพืช)
- Bio glossary(อภิธานศัพท์ชีวภาพ)
เขียนโดย ธีรชล แก้วปรีชา ที่ 20:37 1 ความคิดเห็น:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น