คัมภีร์สรรพคุณยาโบราณ ๒๔๘๔

        
คัมภีร์สรรพคุณยาโบราณ ๒๔๘๔
           ผมได้คัมภีร์สรรพคุณยาโบราณที่มีสภาพเก่าดังผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ จากคุณยายอายุ ๘๐ ปีกว่าๆโดยการพบเจอกันครั้งแรกและก็ได้พูดคุยกันที่หมู่บ้านน้ำสาด ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีร่างกายแข็งแรงมาก สามารถเดินและทำงานบ้าน เช่นปลูกผักไว้รับประทานเองดายหญ้าหน้าบ้านให้ดูสะอาดตาอยู่เสมอ  เก็บข้าวของภายในบ้านเป็นระเบียบ กวาดถูบ้านหลังเล็กๆดูเป็นเงาเลยเชียว พูดก็เสียงดังฟังชัด คุณยายบอกว่าได้คัมภีร์เล่มนี้มาตอนที่คุณยายโตมากแล้วและได้ใช้ประโยชน์จากคัมภีร์นี้ในการปรุงยาไว้รับประทานเองเป็นประจำโดยไม่ต้องไปเสียตัง ซื้อยา หาหมอตามคลินิกให้เสียเวลาทำมาหากินอีกเปล่าๆตลอดมาจนถึงทุกวันนี้  ผมได้ฟังและได้เห็นความแข็งแรงของคุณยายกับตาตัวเองอย่างนี้จะไม่ให้เชื่อได้อย่างไรครับ
           คุยกันได้สักพักใหญ่ๆผมสังเกตุเห็นคุณยายเริ่มไว้ใจ เชื่อถือ และถูกคอกันเพิ่มมากขึ้นตามลำดับและแล้วผมจึงได้เอ่ยปากขอคัมภีร์ที่ผมกำลังถืออ่านอย่างตั้งใจอยู่ในมือเล่มนี้ทันที  มีแต่คนเขามาขอยาที่ปรุงแล้วไปกินกันทั้งนั้น   นี่ขอคัมภีร์ดีเหมือนกันจะได้มีคนเผยแพร่ไม่ให้สูญหายคุณยายพูดด้วยถ้อยคำที่ยินดี ผมรับไว้ด้วยความดีใจตื่นเต้นกับคัมภีร์สรรพคุณยาโบราณที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน และไม่เคยเป็นเจ้าของเลยในช่วงชีวิตนี้
           วันนี้ผมแสดงเจตนาที่จะให้คัมภีร์สรรพคุณยาโบราณนั้นได้อยู่คู่กับปวงชนตลอดจนลูกหลานชาวไทยไม่ให้สูญหายไร้ค่าไป  โดยจะรักษาถ้อยคำโบราณไว้คงเดิมมิให้เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย  หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจศึกษา  ทำความเข้าใจมีความคิดที่จะปรุงยาไว้รับประทานเองไม่มากก็น้อย  คัมภีร์สรรพคุณยาโบราณ  บอกวิธี  สรรพคุณชื่อ  สรรพคุณสัณฐาน  สรรพคุณตามพิกัด สรรพคุณต่างประเทศ  สรรพคุณเทียบ สรรพคุณยาหมู่  สรรพคุณกระสายยา มีรายละเอียดสรรพคุณยาดังที่ผมจะเสนอต่อไปนี้ครับ

สรรพคุณยา

           คัมภีร์สรรพคุณยาเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่หมอจะต้องเรียนรู้  ไม่เช่นนั้นก็ไม่รู้จักในการที่จะประกอบยาแก้ไข้ตามส่วน   หรือว่าไม่รู้จักชักถอนและเพิ่มเติมให้ถูกต้องตามลักษณะ  อาการไข้เพราะการแก้โรคต้องแก้ให้ถูกต้องตามรสแห่งยาเหตุที่ยาก็มีหลายรสโรคก็มีหลายอย่างด้วยกัน
            เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่าสรรพคุณยาเป็นสมบัติของหมอส่วนหนึ่ง  ท่านจึงจัดเป็น ๓ ประเภทคือ  ประเภท๒  ประเภท๔  ประเภท๙  และท่านจัดรสยาตามประเภทเป็น๓  ขึ้นตั้งเป็นประธานก่อนคือ:-  ๑ รสยาเย็น  ๒ รสยาร้อน  ๓ รสยาสุขุม  รวมเป็น ๓ ประเภท  ในประเภทหนึ่งๆท่านประมวลไว้ดังนี้
           ๑. รสยาเย็น  ได้แก่จำพวกเกษรดอกไม้ต่างๆ ใบไม้บางชนิดที่ไม่ร้อน  สัตตะเขา  เนาวเขี้ยวและของชำระเผาให้เป็นถ่านแล้วปรุงขึ้นเป็นยา  เป็นต้นว่า  ยามหานิล ยามหากาฬ สำหรับแก้ในทางเตโชธาตุฯ
           ๒. รสยาร้อน  ได้แก่จำพวกเบญจกูลหรือตรีกะตุก  ตรีสาร  หัสคุณ  ขิง ข่า  ไพล  ปรุงขึ้นเป็นยา เช่นยาเหลืองต่างๆ  สำหรับแก้ในทางลมเป็นต้น 
           ๓. รสยาสุขุม  ได้แก่จำพวก โกฏฐ์ทุกชนิด เทียนทุกชนิด กฤษณา กะลำภัก ขอนดอก ชะลูด อบเชยเป็นต้น  ปรุงขึ้นเป็นยาเช่น  ยาหอมต่างๆสำหรับแก้ในทางโลหิตฯ
            ท่านจัดประเภทเป็น ๔ ตามธาตุดังนี้
            ๑. รสยา  ฝาด  เค็ม หวาน  มัน  ชอบโรคอันเกิดเพื่อ ปฐวีพิการฯ (ปฐวีหมายถึงดิน)
            ๒. รสยา  ขม  เปรี้ยว  เมา  ชอบโรคอันเกิดเพื่ออาโปธาตุพิการฯ(อาโปหมายถึงน้ำ)
            ๓. รสยา  เย็น  จืด  ชอบโรคอันเกิดเพื่อเตโชธาตุพิการฯ ( ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ =                                  ธาตุนํ้า ๓. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ = ธาตุลม. )
            ท่านจำแนกรสยาไว้เป็น ๙  ตามลักษณะดังนี้
            ๑. รสยาฝาด  ชอบสมาน
            ๒. รสยาหวาน  ชอบซึมซาบตามเนื้อ
            ๓. รสยาเมาเบื่อ  ชอบแก้พิษ
            ๔. รสยาขม  ชอบแก้ทางโลหิต
            ๕. รสยาเผ็ด  ร้อน  ชอบแก้ลม
            ๖. รสยามัน  ชอบแก้เส้นเอ็น
            ๗. รสยาหอม  เย็น  ชอบชื่่นใจ
            ๘. รสยาเค็ม  ชอบซาบไปตามผิวหนัง
            ๙. รสเปรี้ยว  ชอบกัดเสมหะ

หมวด ๑
สรรพคุณยารสฝาด

สมอบุตร์นา  ผลมีสัณฐานสามเหลี่ยม  มีรสฝาด  แก้บิดมูกเลือด
สมอพิเภก  ผลมีรสฝาด  รู้แก้โรคอันบังเกิดแต่ธาตุกำเริบและไข้จับ  รู้บำรุงธาตุและแก้ริดสีดวง  
เมล็ดในนั้นรู้แก้บิดทั้งปวง  ใบรู้แก้บาดแผลทั้งปวง  อันประกอบไปด้วยพยาธิ  ดอกนั้นรู้แก้โรคแก่จักษุ เปลือกรู้แก้ในทางปัสสาวะพิการ  แก่นนั้นรู้แก้ริดสีดวงพลวก  รากนั้นรู้แก้โลหิตอันทำให้ร้อนต่างๆฯ 
ฝางเสน   รสฝาด  รู้แก้ลมและเสมหะและดีทำลายเสียซึ่งโลหิตอันไม่บริสุทธิ์ให้บริบูรณ์
โผงผาง  รสฝาด  ใบรู้แก้โรคในปาก  แก้เหงือกฟันอักเสบ  รากรู้ระบายทางอุจจาระและขับน้ำเบาให้เดินสะดวกฯ
ใบฟรั่ง  มีรสฝาด   รู้ใช้ภายนอกให้ดูดกลิ่นเหม็น  ดูดน้ำเหลือง  น้ำหนอง  และถอนพิษบาดแผลฯ
พุดซาทั้ง๕  มีรสฝาด  รู้แก้พยาธิ  แก้บวม  และฝีทั้งปวง  และแก้ตกโลหิต  แก้ลงท้อง
มะขาม  กะเพาะ  มีรสฝาดเฝื่อน  แก่นรู้กล่อมเสมหะและโลหิต  เปลือกรู้สมานแผลต่างๆฯ
มะเขือแพะ  มีรสฝาด  รู้กระทำให้อาหารงวด  บำรุงไฟธาตุฯ
มะเดื่อปล้อง  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้เม็ดฝี  แก้พิษในกระดูกฯ
มะเดื่อดิน  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้ประดงแลฝีภายในฯ
มะเดื่อชุมพร   มีรสฝาด  รู้แก้ไข้  แก้ลงท้อง  กล่อมเสมหะและโลหิตฯ
มะเดื่อดง  มีรสฝาด  รู้กล่อมอุจจาระและแก้ประดงฯ
มะขวิด  มีรสฝาดเฝื่อน  ใบรู้แก้บวม  แก้พยาธิและฝีเปื่อยพัง  แก้ลงท้องและตกโลหิตฯ
มะม่วงทั้ง๕  มีรสฝาด  รู้แก้พยาธิ  ฝีเปื่อยเน่า  แก้บวมและดับพิษทั้งปวงฯ
แมงคุด  มีรสฝาด  รู้คุมธาตุ  แก้ลงท้องและสมานแผล  ชำระล้างแผลทุกชนิดฯ
สมอเทศ  มีรสฝาด  รู้แก้เสมหะและลมฯ
สมอดีงู  มีรสฝาดขม  รู้แก้พิษดีและพิษโลหิตฯ
สะเดาใหญ่  มีรสฝาดเย็น  รู้บำรุงธาตุ  กระทำให้อาหารงวด  แก้พยาธิทั้งปวง  แก้โรคในลำคอ  แก้โลหิตและดี  ดอกแก้ริดสีดวงในลำคอดุจแม่พยาธิไต่อยู่  ลูกแก้ลมหทัยวาตและลมสัตตะวาต  แก้บิดมูกเลือด กะพี้แก้ดี  และแก้บ้าเพื่อคลั่ง  แก่นรู้แก้ลมทำให้เหียรราก  และลมเสมหะอันบูดอยู่ภายใน  หรือแก้เสมหะในลำคอให้ตกฯ
สีเสียดทั้ง๒   มีรสฝาด  รู้แก้ลงท้องให้ปิดธาตุและสมานแผล ฯ(สีเสียดเทศ)
สารส้มดิบ  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้ขับน้ำเบาให้บริสุทธิ์และฟอกโลหิต  สมานแผลและกัดฝ้าห้ามเลือดฯ
สารส้มสะตุ   มีรสฝาดน้อย  รู้แก้เม็ดผื่นคัน  แก้สิวที่หน้า  แก้ชันตุพุพองฯ
สำโรง   มีรสฝาดน้อย  รู้กล่อมเสมหะและอุจจาระให้เป็นปกติฯ
หางกราย  มีรสฝาดรู้กล่อมเสมหะฯ
อ้อยช้าง  มีรสฝาดเย็น  เปลือกรู้ดับพิษต่างๆ  และสมานเสมหะ  รากรู้แก้มุตตกิต  แก้เลือดและดีร้อน แก้จักษุโรคฯ
กล้วยไม้  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้ท้องบวม  แก้ลงท้อง  ใบรู้ดับพิษทั้งปวงให้เย็นฯ
กล้วยตีบ  มีรสฝาด  รากรู้แก้กระหายน้ำ  และแก้ร้อนภายใน  แก้พิษภายนอกฯ
เปลือกขี้อ้าย  มีรสฝาด  รู้กล่อมเสมหะและอาจม(อุจจาระ)แลห้ามท้อง  ใช้เป็นยาคุมดีฯ
ขมิ้นอ้อย  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้ไข้ให้ครั่นเนื้อตัวและรักษาลำไส้ฯ
คาง  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้พยาธิเปื่อยเน่า  แก้ลงท้องหรือตกโลหิต  แก้บวม  แก้ฝี  แก้ปวดบาดแผล แก้พิษงู  ฟกบวม  แก้คุดทะราด  จำเริญธาตุ  และแก้ไข้อันเกิดแต่จักษุฯ  (คุดทะราดหมายถึงชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่งเป็นแผลเรื้อรังที่ทำให้เกิดแผลอื่นจำพวกเดียวกันพุพองออกไปอีก)
คัดเค้า  มีรสฝาด  รู้แก้ไข้  แก้เสมหะและโลหิต  ใบรู้แก้โลหิตซ่าน  ดอกแก้โลหิตในดวงกำเดา  ผลรู้ขับโลหิตเน่าให้ตก  ต้นแก้โลหิตระดูร้อนให้บริบูรณ์  รากรู้แก้ปิตตะโรคฯ  (ปิตตะหมายถึงน้ำดี)
ใบงิ้ว  มีรสฝาดเย็น  รู้ดับพิษฝีอักเสบฟกบวม  แก้หัวดาวหัวเดือนและหัวลำมะลอกฯ
จาก  ใบมีรสฝาด  รู้แก้ลมจรต่างๆกัดเสมหะและดับพิษทั้งปวง
จามจุรี  มีรสฝาดสมาน  เปลือกรู้แก้โรคอันเกิดจากปาก  ลำคอและเหงือกฟัน  ห้ามโลหิตตกใน  แก้ริดสีดวงทวารหนัก  แก้ลงท้อง  เมล็ดแก้กลากเกลื้อนและโรคเรื้อน  ใบรู้ดับพิษต่างๆฯ
จิก  มีรสฝาด  รู้แก้ปวดศรีษะ  แก้โรคระดูสตรี  แก้ลักปิดและเสมหะฯ
ตะขบ  มีรสฝาด  รู้กล่อมเสมหะและอาจมฯ
ตาเสือ  มีรสฝาด  เปลือกรู้กล่อมเสมหะและโลหิตฯ
เถาคุย  มีรสฝาด  รู้แก้ประดงเข้าข้อ  แก้ลมในข้อ  ในกระดูก  มีอาการให้มือเท้าอ่อนเพลียฯ
ทองป่า  เปลือกมีรสฝาด  รู้แก้ลงท้อง  แก้บิด  แก้พยาธิ
ทุเรียน  มีรสฝาดสมาน  รากรู้แก้ในกองธาตุ  ใบรู้ขับบุพโพให้ตกและขับพยาธิ  ผลดิบรู้แก้อุทรโรค  แก้ลักปิดลักเปิดฯ  (บุพโพหมายถึงน้ำหนอง  อุทรหมายถึงท้อง)
โทงเทง  มีรสเปรี้ยวเย็น  รู้ดับพิษภายใน  และแก้ร้อนภายในฯ
ทองสัมฤทธิ์   มีรสฝาดขม  รู้แก้ทำให้ปราศจากมลทิน  ให้ร่างกายผ่องใส  รู้ระงับปิตตะและเสมหะฯ  (ปิตตะหมายถึงน้ำดี)
น้อยโหน่ง  มีรสฝาด  ใบรู้แก้ฟกบวม  ฆ่าพยาธิผิวหนัง  ผลดิบแก้โรคทรางและโรคบิด  รู้ขับกิมิชาติ (กิมิชาติหมายถึงหนอน,หมู่หนอน)
หนามหัน   มีรสฝาด  เปลือกรู้ขับโลหิต  กล่อมเสมหะ  แก้ไข้ทับระดูฯ
นนทรี  มีรสฝาด  เปลือกรู้ขับโลหิต  กล่อมเสมหะและโลหิตฯ
เปลือกทองป่า  มีรสฝาด  รู้แก้ลงท้อง  แก้บิด  แก้พยาธิฯ
เปลือกมะตูม  มีรสฝาด  รู้แก้ลงท้อง  แก้บิด  แก้พยาธิฯ
ทองกวาวทั้ง๒  มีรสฝาดสมาน  รู้แก้ลมอำมะพาธและแก้โลหิตฯ


หมวด ๒
สรรพคุณยารสหวาน

ขิงแห้ง  มีรสหวาน  แก้พรรดึก  แก้ไข้จับ  แก้นอนไม่หลับ  แก้ลมพานไส้  แก้ลมแน่นในทรวง  แก้ลมเสียดแทงคลื่นเหียรฯ  (พรรดึกหมายถึงอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม)

กะจับ  มีรสหวานเย็น  รู้บำรุงกำลังและบำรุงกุมารในครรภ์ฯ
กรรณิกา  มีรสหวานฝาด  ต้นรู้แก้ปวดศีรษะ  ใบรู้บำรุงดี  ดอกรู้แก้เวียนศีรษะและไข้จับ  รากรู้แก้พรรดึก มีอาการผูกเป็นก้อน  เจริญสุขธาตุ  ทำให้มีกำลัง  ประหารเสียซึ่งลมและดี  แก้ผมหงอก  ทำให้ผิวกายผ่องใสฯ
ข้าวงอก  มีรสหวานเย็นมัน  รู้บำรุงให้เกิดกำลัง
ไข่เน่าต้น  เปลือกรสหวานชุ่ม  รู้แก้ตานทรางและอาจมมิให้เสียฯ
เข็มขาว  รากมีรสหวาน  รู้แก้จักษุโรคทั้งปวง  ให้รูรสอาหารฯ
คำฝอย   ดอกมีรสหวาน  รู้บำรุงโลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นปกติมิให้บังเกิดเป็นโทษและแก้แสบร้อนฯ
ดอกคำไทย  มีรสหวาน  รากรู้บำรุงบุพโพ  โลหิตให้บริบูรณ์  แก้แสบร้อน  คันและแก้มิให้พิษเกิดขึ้นฯ
จิงจ้อแดง  มีรสหวาน  รากรู้แก้เสมหะและลมดี  กระทำอาหารให้งวด  ประหารเสียเตโชอันกล้าให้ถอยฯ
จิงจ้อขาว  มีรสหวาน  มีคุณอ่อนกว่าจิงจ้อแดงแต่รู้แก้โรคอย่างเดียวกัน
หญ้าคา  มีรสหวานเย็น  รู้ขับปัสสาวะและแก้น้ำเบาแดงให้เป็นปกติฯ
หญ้าปีนตอ  มีรสหวานมัน  รู้บำรุงกำลัง  บำรุงปอด  และตับหัวใจให้ชุ่มชื่นฯ
ตาลโตนด  มีรสหวานเย็น  ดับพิษทรางและชูกำลังทำให้ดวงจิตชื่นบานฯ
ตาลหม่อน  มีรสหวานชุ่มเย็น  รู้แก้ตานทราง  บำรุงเนื้อให้ชุ่มชื่น  รู้คุมธาตุให้เป็นปกติฯ
เตยหอม  มีรสเย็นหวาน  รู้บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นฯ
น้ำอ้อยแดง  มีรสหวานหอม  รู้แก้ลมและกำเดาฯ
น้ำอ้อยงบ  มีรสหวาน  รู้เจริญอาหารเป็นปกติ
น้ำอ้อยเผา  มีรสหวานสนิท  รู้บำบัดเสมหะให้กระจ่างฯ
น้ำอ้อยต้ม  มีรสหวานยิ่ง  รู้แก้ไข้สัมประชวน  แก้หืดและไอฯ
น้ำอ้อยสด  มีรสหวานเย็น  รู้แก้กำเดาและลมกระจายเสมหะ  แก้ไข้สัมประชวน  ผายธาตุแก้หืดไอ ทำให้เกิดกำลังและเจริญอายุวัฒนะ  ขับปัสสาวะให้เฟื่องดีฯ
น้ำตาลทรายแดง  มีรสหวาน  รู้ขับน้ำเหลือง  บำรุงทางปัสสาวะให้บริสุทธิ์ฯ
น้ำตาลกรวด  มีรสหวานเย็น  รู้บำรุงกำลังเสมหะจุกคอ  ทำให้ชุ่มคอ  ใช้แทนขันทศกรได้ฯ
น้ำตาลจาก   รสหวานเย็น  รู้สมานริดสีดวงในช่องทวารฯ
น้ำตาลหม้อ  มีรสหวานชื่น  รูชูกำลังและแลือดลมให้ชุ่มชื่นฯ
น้ำมะพร้าวอ่อน  มีรสหวานหอม  รู้ชูกำลังและบำรุงกุมารในครรภ์ให้มีกำลังฯ
น้ำผึ้ง  มีรสหวานร้อนฝาด  รู้ผายธาตุแก้ผอมแห้งฯ
น้ำนมคน  มีรสหวานเย็น  รู้ทำให้เกิดกำลัง  ดับพิษอักเสบ  แก้พรรดึกฯ
น้ำนมวัว  มีรสหวานมัน  รู้บำรุงกำลังให้เกิด  และทำให้เกิดความกำหนัดฯ
น้ำนมโค  มีรสหวานมัน  รู้แก้ลมอันเย็น  แก้ปัสสาวะพิการและเจริญไฟธาตุฯ
มหาหิงค์  มีรสหวานเผ็ด  รู้แก้พรรดึกอันผูกเป็นก้อน  แก้อชิณโรค๔ ประการ  มีอาการเสียดแทง  กระทำให้อาหารงวด  บำรุงธาตุ  และบำรุงเสมหะให้ตก  แก้ไอ  แก้ไข้สันนิบาต  แก้น้ำลายเหนียวฯ
ลูกยอ  มีรสหวานเปรี้ยว  รู้แก้อาเจียร  แก้ร้อนในอกฯ
ลำโพง  มีรสหวานเมา  รู้ดับพิษฝีและดับพิษกาฬทั้งปวงฯ
สับปะรด  มีรสหวานเย็น เหง้ารู้ขับปัสสาวะให้คล่อง  แก้นิ่ว  ใบสดรู้ฆ่าพยาธิและขับพยาธิในท้องถ่างอุจจาระ  ผลดิบห้ามโลหิต  แก้ทางปัสสาวะ  ฆ่าพยาธิและโลหิตระดู  ผลสุกรู้ขับเหงื่อ  ขับน้ำปัสสาวะและบำรุงกำลังฯ
สุพรรณทลิกา  มีรสหวาน  รู้ทำให้ร่างกายสมบูรณ์  ทำให้รู้รสอาหาร  แก้ลมแก้ผอมแห้งฯ

หมวด ๓
สรรพคุณยารสเมาเบื่อ

กระทุงหมาบ้า  มีรสเบื่อ รากรู้กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในขับทางปัสสาวะและกระทำให้น้ำเบาคล่องเป็นปกติ
กะไดลิง  เถามีรสเมารู้แก้พิษทั้งปวงฯ
กะเทียด  หัวมีรสเมารู้แก้พยาธิต่างๆมีคุณเช่นหนอนตายยากฯ
ยาข้าวเย็นโคกแดง มีรสเมาเบื่อ  ต้นรู้จักแก้อชิณโรค ๔ ประการ  ใบรู้แก้ไข้เหนือและสันนิบาต  ดอกรู้แก้พิษงูเห่า  ผลรู้แก้ลมและริดสีดวง  หัวและรากรู้แก้พยาธิในท้องฯ
ยาข้าวเย็นโคกขาว  มีรสเมาเบื่อ  ต้นรู้แก้พิษงูดินมีรูปดังเฉลน  ใบรู้แก้ฟกบวม  ดอกรู้แก้มะเร็งและคุดทะราด  ผลรู้แก้อัณฑะอุ้ง  รากและหัวรู้แก้คุณฝีฯ
กวยป่า  มีรสเมาเบื่อ  รู้แก้พิษกาฬ  เมล็ดแก้พยาธิผิวหนังและริดสีดวงฯ
ขันทองพยาบาท  มีรสเมาเฝื่อน  รู้แก้ลมและลมอันเป็นพิษฯ
ข่อย  มีรสเมาเบื่อ  เปลือกรู้ดับพิษในกระดูก  เส้น เอ็น  แก้โรคทางฟัน  กระทำฟันให้ทน
พญามือเหล็ก  มีรสเมาขม  รู้ตัดรากไข้ดับพิษ  กษัยและดับพิษโลหิตฯ
สบ้าทั้ง ๓   มีรสเมามัน  ใช้หุงเป็นน้ำมันทาแก้พยาธิผิวหนัง  แก้พิษและเบื่อพยาธิทั้งปวงฯ
สารหนู   มีรสเมาเบื่อ  รู้ฆ่าแม่พยาธิต่างๆ  เป็นยาเบื่ออย่างแรงฯ
กระดูกงูเหลือม  มีรสอันเบื่อเมา  รู้ดับพิษกาฬ  แก้เมื่อย  ใช้ทั้งกินทั้งทาฯ
เบญกานี  มีรสเมาฝาด  รู้แก้ลมปวดเบ่งและปวดมดลูกสมานแผลฯ
กันชา   มีรสเมารู้เจริญอาหาร  ชูกำลัง  แต่ทำให้ใจสดุ้งกลัวฯ
ขอบชนางแดง  มีรสเบื่อ  รู้แก้พิษเบื่อพยาธิ  ตานทรางฯ
ตาลขโมย  มีรสเบื่อ  รู้แก้พยาธิ  รู้แก้พยาธิทุกชนิดและแก้ตานทรางฯ
ตาลเสี้ยน  มีรสเบื่อจืด  รู้กล่อมอาจมให้เป็นปกติฯ
ถอบแถบ  มีรสเบื่อเย็น  รู้ถ่ายพิษตานทรางและตัดรากตานขโมย  ถ่ายโทษเสมหะและลมฯ
ฟักขาว  มีรสเย็นเบื่อ  รู้ถอนพิษและดับพิษทั้งปวงฯ
สะแก  มีรสเบื่อ  รู้ขับพยาธิในท้อง  แก้ฝี  ตานทรางฯ

หมวด ๔
สรรพคุณยารสขม

กระดอม  ลูกมีรสขม  รู้บำรุงน้ำดี  แก้ดีแห้ง  ดีฝ่อ  ดีเดือด  อันทำให้คุ้มดีคุ้มร้ายเพื่อคลั่ง  เจริญอาหารและดับพิษโลหิตฯ
กะลำภัก  มีรสขมหอม  รู้บำรุงตับปอดหัวใจให้มีกำลัง  ดับพิษเสมหะและโลหิตฯ
การะเกด  ดอกหอมมีรสขมรู้แก้โรคในอกแก้เสมหะ  เจริญอัคคนีผลฯ
แกแล  มีรสขมชาขื่น  รู้บำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติและบำรุงกำลังให้แข็งแรงฯ
พิลังกาสา  มีรสขมร้อน  ใบรู้แก้โรคอันเกิดแต่ตับ  ดอกรู้แก้โรคอันประกอบไปด้วยพยาธิเป็นต้น  ผลรู้แก้ไข้ในกองอติสารโรค  ต้นรู้แก้โรคกุฏฐัง  รากรู้แก้โรคสำหรับบุรุษ  กล่าวคือปะระเมหะฯ (กุฏฐังหมายถึงโรคเรื้อนซึ่งทําให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป(ปะระเมหะหมายถึงเสมหะที่แข็งตัวอย่างยิ่งอติสารอ่านเพิ่มเติม
ขีัเหล็ก  มีรสขม  ใบรู้แก้มุตกิต  ดอกรู้แก้โลหิตแก้นอนไม่หลับแก้รังแค  เปลือกรู้แก้ริดสีดวง  กะพี้รู้แก้โลหิตอันทำให้ระส่ำระสาย  แก่นรู้แก้ลมอันทำให้เย็นทั่วทั้งกาย  และรู้แก้พยาธิในท้องให้ตก  ไส้รู้แก้โลหิตอันขึ้นเบื้องบน  และแก้โลหิตอันทำให้แสบในจักษุทวาร  รากรู้แก้ไข้อันทำให้หนาวและแก้โรคอันเป็นชินธาตุฯ
ราชพฤกษ์  มีรสขมหวาน  ใบรู้แก้แม่พยาธิทั้งปวง  ดอกรู้แก้บาดแผลอันเรื้อรัง  ฟักรู้แก้เสมหะให้ตกและแก้พรรดึก  เปลือกรู้แก้เนื้อและหนังให้ตั้งมั่นบริบูรณ์  กะพี้รู้แก้รำมะนาด  แก่นรู้แก้ไส้เดือนในท้องให้ตก รากรู้แก้แม่พยาธิคือคุดทะราดให้ตาย  รู้แก้ไข้จับฯ
ชุมเห็ดไทย  รสขม  รู้แก้ไข้เพื่อวาโยและเสมหะ  แก้หืด  แก้คุดทะราด  ผลรู้แก้ฟกบวมฯ
ชุมเห็ดเทศ  รสขมมัน  ใบรู้ฆ่าพยาธิอันเดินตามผิวหนัง  ดอกรู้กระทำให้ผิวหนังบริบูรณ์งามดีมีสีมีใย  ผลรู้แก้พยาธิในท้องให้ทำลาย  ต้นรู้แก้คุดทะราดและเกลื่อนกลากทั้งปวง  รากรู้แก้หืดและสิวให้เกิดตามผิวหนังฯ
บวบขม  มีรสขมจัด  รู้แก้ริดสีดวงงอกและหืด  รู้ชำระเสียซึ่งเสมหะฯ
เสนียด  มีรสขม  ใบรู้แก้แผลในลำคออันเป็นโรคดุจหนามก้านบัว  แก้แม่พยาธิในไรฟัน  รู้ห้ามเสียซึ่งรัตตะปิตะโรคและไข้จับ  แก้คุดทราดและฟกบวมกระทำผิวหนังให้ผ่องใสฯ
โคกกระออม  รสขม  เถารู้แก้ไข้จับ  ใบรู้แก้หืดและไอ  ดอกรู้แก้โลหิตในท้องให้ตก  ผลรู้แก้จตุรการเตโชให้บริบูรณ์  รากรู้แก้ตาเป็นต้อและแก้พิษงูเห่าฯ
จิงจ้อ  มีรสขม  รู้แก้เสมหะ  ลมแลดี  กระทำให้อาหารงวด  ประหารเสียซึ่งเตโชอันกล้าให้ถอยลงฯ
ตองแตก  มีรสจืดขม  รู้แก้โรคอันบังเกิดแต่แม่พยาธิ  รู้แก้เสมหะและฟกบวม  ทำลายอุจจาระอันกล้าให้ตกฯ
ทนดี  รู้แก้โรคอันบังเกิดแต่ลมและเสมหะ  แก้โรคในกองประเมหะ๒๐ ประการให้ถอย  และดับเตโชธาตุ  กระทำมิให้อุจจาระผูกเข้าได้ฯ
สลอด  มีรสขมร้อน  ใบรู้แก้ตะมอยแก้ไส้ด้วน  ไส้ลาม  ดอกรู้ฆ่าแม่พยาธิอันบังเกิดแต่กลากและคุดทะราด  ผลรู้แก้อัมพฤกษ์ดับเตโชมิให้เจริญ  เปลือกรู้แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในลำคอและทรวงอก
รากและไส้นั้นรู้แก้โรคเรื้อนกุฏฐังและแก้ริดสีดวงผอมเหลืองฯ
บรเพ็ดและชิงช้าชาลี  รสขมมัน  มีคุณอย่างเดียวกัน  ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ  แก้ไข้เหนืออันเกิดเพื่อโลหิต แก้ฝีกาฬอันเกิดเพื่อฝีดาษ  แก้ตรีโทษ  รู้กระทำให้เกิดกำลัง  เจริญเพลิงธาตุให้บริบูรณ์  แก้กระหายน้ำอันเป็นเพราะโลหิตและลม  แก้สะอึกและสมุฏฐานกำเริบ  ใบรู้ฆ่าแม่พยาธิในท้องในฟันและในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ  รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือและสันนิบาตฯ 
บรเพ็ดพุงช้าง  มีรสขม  ต้นรู้แก้ลมแน่นในทรวงให้กระจาย  ใบรู้บำรุงซึ่งไฟธาตุ  ดอกรู้ฆ่าแม่พยาธิอันบังเกิดแต่โรคเรื้อนและกฏฐัง  ผลรู้กระทำให้อาหารงวด  หนามรู้แก้โลหิตอันเน่าในท้องให้ตก  แก้เสมหะในคอและทรวงอกให้เป็นปกติ
ผักเสี้ยนไทย  มีรสขม  ต้นรู้แก้โลหิตอันเน่ากระทำให้จับสะท้าน  ดอกรู้แก้โลหิตแห่งสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ  ผลรู้ฆ่าไส้เดือนในท้องให้ตาย  ใบรู้บำรุงเสมหะให้เป็นปกติ  รากรู้แก้ลมอันเป็นพิษฯ
ขี้กาแดง  มีรสขมจัด  ทำให้ถ่ายและบำรุงน้ำดี  ถ่ายล้างโทษเสมหะให้ตก  ดับพิษเสมหะและโลหิตฯ
จันทน์ชมด  มีรสขมหอม รู้บ้้ำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัวฯ
จันทน์เทศ  มีรสขมร้อนแก่นรู้แก้ไข้ดีเดือดดีพลุ่ง  แก้ไข้อันมีอาการให้กลุ้มอกกลุ้มใจ  ตาลอยเผลอสติ และบำรุงตับ  ปอด  หัวใจ  น้ำดีให้เป็นปกติ  ลูกรู้แก้กระหายน้ำและมีกำลัง  แก้ลมจุกเสียด  แก้กำเดาฯ
จันทน์แดง  มีรสขมเย็น  รู้แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรางและดี  บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น  แก้ลักปิดและบาดแผล  แก้ไข้วัตตปิตตะฯ
หญ้าไทร  มีรสขมจืด  รู้ชำระล้างทางปัสสาวะให้เป็นปกติฯ
หญ้าแห้วหมู  มีรสขมมัน  รู้แก้ไข้ทุกอย่าง  บำรุงกองปัฐวีธาตุ  ทำให้เป็นยาอายุวัฒนะฯ
ดีสัตว์  รสขมหวาน  รู้ดับพิษภายใน  แก้พิษเพ้อคลั่ง  บำรุงน้ำดี  ทำรสยาให้เดินสะดวกกระทำให้ใจชุ่มชื่นฯ
น้ำนมราชสีห์  ต้นมีรสขม  รู้คุมธาตุและบำรุงกำลัง  กระทำให้เกิดน้ำนมฯ
น้อยหน่า  มีรสขมร้อน  ใบแก้ฟกบวมและฆ่าพยาธิผิวหนัง  กลากเกลื้อน  รู้ขับกิมิชาติในอุทร  เปลือกรู้สมาน  รากรู้ระบายฯ
ผักขวง  มีรสขม  รู้บำรุงน้ำดีให้เป็นปกติฯ
ผักบุ้งล้อม  มีรสขม  รู้แก้พิษทั้งปวงฯ
ผักหนอก  มีรสขมเฝื่อน  รู้แก้เมื่อยขัด  แก้ลงท้อง  เป็นยาอายุวัฒนะฯ
ฝิ่นต้น  มีรสขม  เปลือกรู้แก้ลมแก้เมื่อยและรู้คุมธาตุให้ปกติ  แก้ลงท้องปวดมวนฯ
พยามือเหล็ก  มีรสขมเมา  รู้ตัดรากไข้  ดับพิษกษัยและโลหิตฯ
ผิวมะกรูด  มีรสขมเผ็ด  รู้แก้ในกองลมและผิวเส้นฯ
มะคำไก่  มีรสขมเบื่อ  รู้แก้กษัยและกระทำให้เส้นหย่อนฯ
มะคำดีควาย  มีรสขมฝาด  ลูกรู้แก้กาฬภายในและดับพิษฯ
โมกมัน  มีรสขมฝาด  รู้แก้เลือดและเสลด  สุมฝีอันเปื่อยพังและแก้บวมฯ
ยาข้าวหอม  มีรสขม  รู้แก้ลงท้อง  แก้โลหิตและสะอึกฯ
ยาดำ  มีรสขม  รู้ถ่ายลมเบื้องสูง  กัดฟอกเสมหะและโลหิตฯ
ระย่อม  มีรสขม  รู้แก้ไข้จับอันทำให้หนาว  ดอกรู้แก้โรคอันเกิดแต่จักษุ  เปลือกรู้แก้ไข้สันนิบาตและไข้เพื่อพิษ  กะพี้ทำโลหิตให้ตั้งเป็นปกติ  ไส้รู้แก้ไข้อันร้าย  รากรู้แก้ลมอันธพฤกษ์ฯ   
ระกำป่า  มีรสขมหวาน  รู้แก้ฝีคุดทะราด  แก้พิษฝีแก้กำเดาเสลดและไข้สำประชวนฯ
รักดำ  มีรสขมฝาด  ลูกรู้ทำให้อาหารงวด  แก้ปาก คอ กระทำให้ฟันทน   แก้คุดทะราดและริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อนในกระเพาะฯ
สมอดีงู  มีรสฝาด  รู้แก้พิษดีและพิษโลหิตฯ
สมอทะเล  มีรสขมเฝื่อน  รู้แก้ลมในกระดูกและกษัย  ขับโลหิตฯ
หอระดานกลีบทอง  มีรสขมปร่า  รู้กัดเม็ดฝีและผมขนทั้งปวงฯ
เต่าเกียด  มีรสขม  รู้แก้ตับทรุด  ดับพิษที่ตับปอดและหัวใจฯ

หมวด ๕
สรรพคุณยารสเผ็ดร้อน

กระชาย  มีรสเผ็ดร้อน  แก้ไข้อันบังเกิดในปาก  ในคอ  และแก้มุตตกิต  แก้ลมในดวงหทัยฯ
กะเพราแดง  มีรสปร่าเผ็ด  รู้ตั้งธาตุแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น  และแก้ลมตานทรางฯ
กะเพราขาว  มีรสปร่าเผ็ดอ่อน  รู้ตั้งธาตุ  แก้ปวดท้อง ท้องขึ้นและแก้ลมตานทรางฯ
พริกไทย  มีรสเผ็ดร้อน  ใบรู้แก้ลม ๖จำพวกและตั้งจตุรธาตุให้มั่น  เล็ดรู้แก้ลมอันธพฤกษ์และมุตตฆาฏ
รู้ดับเสมหะอันฟุ้งซ่านให้งวดลงบำรุงธาตุให้เป็นปกติ  รู้แก้สรรพลมทั้งปวงอันบังเกิดในทรวง  ดอกรู้แก้จักษุแดงดังโลหิต  เครือรู้แก้อติสารโรค  แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ฯ
ช้าพลู  มีรสเผ็ดร้อน  รากรู้แก้คูถเสมหะ  ต้นรู้แก้อุระเสมหะ  ผลณุ้แก้สอเสมหะ  ใบรู้กระทำให้เสมหะงวดฯ
สะค้าน  มีรสเผ็ดร้อนเถารู้แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุและกองสมุฏฐาน  ใบรู้แก้ลมในกองเสมหะ  ผลรู้แก้ลมอันบังเกิดในทรวงอก  รากรู้แก้ไข้อันประกอบไปด้วยหืด  ดอกรู้ทำลายลมอันมีพิษ  คือพิษอัมพฤกษ์และปัตตฆาฏอันเกิดแตกองพรรดึก
เจตมุลเพลิงแดง  มีรสร้อน  รากรู้แก้ตุรการเตโชให้บริสุทธ์  ดอกรู้แก้พัทธปิตตะสมุฏฐาน  ต้นรู้แก้โลหิตอันบังเกิดแต่กองกำเดาฯ
เจตมูลเพลิงขาว  มีรสร้อน  รากรู้กระจายกองวาโยและโลหิตอันมีพิษ  ใบรู้แก้วาโยในกองเสมหะ  ดอกรู้แก้จักษุโรค  ต้นรู้ชำระโลหิตอันเป็นมลทินให้แตกเสียฯ 
กานพลู  มีรสเผ็ดร้อนรู้กระจายเสมหะอันข้นแก้เสมหะอันบังเกิดในโลหิตและดี  รัตติปิตตะโรคและหืด กระทำให้อาหารงวดฯ
กระเทียม  มีรสเผ็ดร้อน  หัวรู้แก้เสมหะและลม  แก้เกลื้อนกลาก  ใบรู้กระทำให้เสมหะแห้งและกระจายโลหิต  แก้ลมอันปวดมวนฯ
ผักเสี้ยนผี  มีรสเผ็ดร้อน  ต้นรู้กระจายปุพโพอันผูกเป็นก้อนให้ตก  ใบรู้แก้ทุลาวสา๑๒ประการ  ดอกรู้ทำลายเสียซึ่งกิมิชาติ  ผลรู้ฆ่าพยาธิให้ตาย  รากรู้แก้วัณโรคแห่งสตรีอันอยู่ไฟมิได้ฯ
เปล้าใหญ่  มีรสร้อน  ใบรู้แก้ซึ่งธาตุให้บริบูรณ์  ดอกรู้ฆ่าแม่พยาธิทั้งปวง  ผลรู้แก้ไข้สตรีอันอยู่ในเรือนไฟ  เปลือกรู้แก้เสมหะให้ตก  แก่นรู้กระทำให้อาหารงวด  แก้ลมอันผูกเป็นก้อนให้กระจาย  รากรู้แก้โลหิตในท้องให้ตกฯ
เปล้าน้อย  มีรสร้อน  ใบรู้กระทำให้ธาตุตั้งมั่น  ดอกรู้ฆ่าแม่พยาธิ  ผลรู้แก้ปุพโพให้กระจาย  เปลือกรู้กระทำให้อาหารงวด  แก่นรู้แก้โลหิตให้ตก  รากรู้แก้ลมเบื้องบนให้เป็นปกติฯ
รากคัดลิ้น  มีรสร้อนยิ่งนัก  มิได้ชอบโรคอันเกิดแต่ดีเดือด  ชอบแต่แก้เส้นฯ

หมวด ๖
สรรพคุณยารสมัน

สมอมันตะยา  ผลมีสัณฐาน ๘ เหลี่ยม  สีนวลดังดอกจำปา  มีรสมัน  รู้แก้ลมเกิดมาแต่เส้นและเอ็นฯ
กระดูกควายเผือก  รสมัน  รู้บำรุงให้กระดูกแข็งแรงและทำให้กระดูกมีกำลังฯ
ผักกระเฉด  มีรสมัน  รู้ถอนพิษและถอนพิษยาเบื่อต่างๆฯ
เลือดแรด  มีรสมันแก้เลือดแก้ช้ำในและกระจายเลือดก้อน  นอแรดรู้ดับพิษกาฬ  หนังรู้แก้เสมหะ  แก้ไอฯ
แห้วหมู  มีรสมัน  หัวรู้บำรุงกำลัง  บำรุงทารกในครรภ์  แก้ไข้และบำรุงไฟธาตุให้เป็นปกติฯ
แห้วหัว  มีรสมันหวาน  รู้บำรุงกำลัง  ชูกำลังและแก้ไข้ทั้งปวงฯ
หัวกระเทียม  มีรสมันหวาน  มีคุณเหมือนหัวแห้วฯ
โคโรค  มีรสมันเฝื่อน  รู้แก้น้ำลายเหนียวและแก้เสมหะเหนียว  บำรุงกำลังดันักฯ


หมวด ๗
สรรพคุณยารสหอมเย็น

สมอวิทยา  ผลมีสัณฐาน ๒ เหลี่ยม  รสเย็นแก้สรรพพิษทั้งปวงฯ
สมอสุวรรณ  ผลมีสัณฐาน ๙ เหลี่ยม  สีเหลืองดั่งทอง  มีรสหอม  รู้แก้ลมกระทบดวงจิตฯ
เขาควายเผือก  รสเย็นรู้ดับพิษ  แก้ร้อนถอนพิษสำแลงฯ
กล้วยตีบ  มีรสเย็นฝาด  รากรู้แก้กระหายน้ำและแก้ร้อนภายใน  แก้พิษภายนอกฯ
ใบกล้วยไม้  มีรสเย็น  รู้ดับพิษทั้งปวงฯ
เหงือกปลาหมอ  มีรสเย็นจืด  รู้ตัดรากฝีทั้งปวงฯ
หญ้างวงช้าง  มีรสเย็น  รู้แก้พิษตานทราง  แก้กระหายน้ำ  กระจายโรคนิ่วให้ละลายฯ
ดินถนำ   มีรสเค็มเย็น  รู้แก้โรคอันเกิดในตาฯ
ดินปลวก  มีรสเย็น  รู้ดับพิษและถอนพิษขัดบวม  แก้กระหายน้ำฯ
ตะไคร้  มีรสหอม  รู้แก้คาวและเบื่ออาหาร  บำรุงไฟธาตุให้เจริญ  แก้โรคทางปัสสาวะฯ
เตยหอม  มีรสเย็นหวาน  รู้บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นฯ

หมวด ๘
สรรพคุณยารสเค็ม

เกลือสินเธาว์  มีรสเค็มมัน  รู้ทำลายพรรดึก  แก้ระส่ำระสายและสมุฏฐานตรีโทษฯ
เกลือวิก  มีรสเค็มร้อน  รู้แก้อภิญญาณธาตุ  ทำลายโรคในท้องคือท้องมาร  แก้ไส้พองท้องใหญ่  กระทำกายให้ชุ่มชื่นฯ
เกลือพิก  มีรสเค็มหวาน  รู้กระทำให้เสียงเพราะ  ให้ชุ่มคอฯ
เกลือฝ่อ  มีรสเค็มมัน  รู้ก้อนุโลมและปฏิโลมแห่งโรค  แก้โรคอันเสียดแทง  บำรุงไฟธาตุ  แก้กุมารโรคและพรรดึก  แก้มูกเลือดให้อันตรธานวิเศษนักฯ
เกลือสมุทรี  มีรสเค็มฉุน  รู้กระทำให้อาหารงวด  แก้ระส่ำระสาย  เจริญธาตุทั้ง ๔ แก้พรรดึก  และแก้ดีเดือด  แก้โรคอันเกิดแต่ตาฯ
เบี้ยจั่น  รู้ขับปัสสาวะ  แก้เบาปวด  และแก้โรคเกิดแต่ฟันและเหงือกฯ
ดินประสิว  มีรสเย็นเค็ม  ขับลมที่คั่งค้างตามเส้นเอ็น  ถอนพิษขับโลหิตให้กระจายฯ
ตาลดำ  มีรสเอียนเค็ม  ขับไขข้อในกระดูกให้มีกำลังแข็งแรง  ขับตานทรางและแก้พยาธิฯ

หมวด ๙
สรรพคุณยารสเปรี้ยว

ผลสมอพิเภกอ่อน  มีรสเปรี้ยว  รู้สังหารซึ่งม้ามและไข้อันพิเศษฯ
ส้มป่อย  มีรสเปรี้ยว  ต้นรู้แก้น้ำตาพิการ  ใบรู้แก้โรคอันเกิดแต่ตา  รู้ชำระโรคในลำไส้น้อยและใหญ่ ดอกรู้แก้เอ็นอันวิปริตต่างๆให้บริบูรณ์  ผลรู้แก้ปากกุมารอันเป็นเพื่อไข้  รู้ชำระเสียซึ่งเสมหะเหนียว  รากรู้แก้ไข้อันทำให้ร้อนและเย็นฯ
จุณสี  มีรสเปรี้ยวฝาด  รู้แก้เม็ดฝี  แก้โรคฟัน  ใช้กัดหัวหูดและคุดทะราด  กัดฝ้าและแผลฯ
ใบมะขาม  ใบมีรสเปรี้ยว  รู้ฟอกโลหิต  เนื้อรู้ฟอกเสลดและเสมหะร้ายให้ตกฯ
มะขามแขก  ใบมีรสเปรี้ยว  รู้ถ่ายพิษเสมหะฯ
น้ำมะกรูด  มีรสเปรี้ยว  รู้ขับเสมหะและกัดฟอกโลหิตฯ
มะกล่ำต้น  มีรสเปนี้ยว  รู้แก้เสมหะฯ
มะกล่ำเครือ  มีรสเปรี้ยว  รู้แก้เสมหะในลำคอแก้เสียงแหบแห้งฯ
เนื้อมะดัน  มีรสเปรี้ยว  รู้ล้างเสมหะร้ายต่างๆฯ
มะอึก  มีรสเปรี้ยวเย็น  รู้แก้ดีฝ่อ  แก้กระตุกนอนสะดุ้งสะท้านเพราะดีให้โทษ  แก้น้ำลายเหนียวเพราะพิษไข้สันนิบาตฯ
สมอไทย  มีรสเปรี้ยวขม  เปลือกรู้ถ่ายน้ำเหลือง  เนื้อในรู้รักษาน้ำดี  เม็ดรู้คุมธาตุฯ
ส้มเสี้ยว  มีรสเปรี้ยว  รู้แก้ไอและฟอกโลหิตให้งามฯ


หมวด ๑๐
สรรพคุณเฉพาะ

กระวาน   ใบรู้แก้วาโยให้ลงเบื้องต่ำ  แก้ปากคอมิสบาย  แก้ไข้อันง่วงเหงา  และรู้แก้เสมหะ  ผลรู้กระจายเลือด  เสมหะและวาโย  ดอกรู้แก้โรคอันบังเกิดแต่จักษุอันเน่า  เปลือกรู้แก้ไข้เพื่อกินของแสลง  กะพี้รู้ตั้งโลหิตทั้งปวง  แก่นรู้กระจายพิษทั้งปวง  รากรู้ประหารเสียซึ่งโลหิตเน่าอยู่ในอุทรให้ตกฯ
กะทือ  ต้นรู้แก้ไข้อันกระทำให้เบื่ออาหาร  ใบรู้แก้โลหิตอยู่ในไฟให้ตก  ดอกรู้แก้ไข้อันผอมเหลือง  รากรู้ก้ไข้อันร้อนกระทำให้เย็น  หัวรู้กระทำให้ตั้งน้ำนมสตรีที่แห้งให้กลับบริบูรณ์ขึ้น  แก้ปวดมวนในอุทรฯ
กะทือป่า  มีคุณแรงกว่ากะทือบ้าน  มีคุณดุจข่า  รู้เจริญไฟธาตุและแก้จุกเสียดทั้งปวง
กระเทียม  หัวรู้แก้เสมหะและลม  แก้พยาธิเกลื้อนกลาก  แก้อวัยวะหักแพลงฟกบวม  แก้ริดสีดวงและสะอึก  แก้ไข้ลักปิด  ใบกระทำให้เสมหะแห้งกระจายโลหิตและลมอันกระทำให้ปวดมวนฯ
กะเม็ง  ต้นรู้แก้ลมให้กระจาย  แก้โลหิตที่กระทำให้ร้อน  ดอกรู้แก้ดีอันฟุ้งซ่านให้บริบูรณ์  ลูกรู้แก้ลมอันเป็นพิษให้กระจาย  รากรู้แก้ลมอันวิงเวียนอยู่ในอุทรให้ขึ้นเบื้องบนฯ
กะเบียนกะเบา  ใบรู้แก้บาดแผลถูกหอกดาบ  ดอกฆ่าแม่พยาธิอันเกิดแต่กลากเกลื้อน  และแก้มะเร็งคุดทะราดหรือโรคเรื้อนกุฏฐัง  เปลือกรู้แก้ริดสีดวง  กะพี้แก้เกลื้อนใหญ่  แก่นแก้เสมหะให้ตก  รากแก้เสมหะให้เหลวออกมาฯ
กระถินน้อย  รู้กระทำให้เป็นยาอายุวัฒนะ  และแก้ลมแก้โรคมุตกิตฯ
กะเพราใหญ่  รู้เจริญอัคนีผล  กระทำให้หน้ามีสีเลือดงาม  แก้อาเจียน  แก้เสมหะ  แก้ลมแก้มะเร็งฯ
กะพังโหม  รู้ขับลมให้ระบาย  แก้ตานทราง  แก้ดีรั่ว  เป็นยาอายุวัฒนะฯ
กระดูกไก่ดำ  ต้นรู้แก้ช้ำ  ขับเลือดในกายไม่ให้คั่งและห้ามเลือดฯ
กระเช้าผีมด  รู้ชูชีพจรดีนัก  แก้พยาธิต่างๆฯ
การะบูร  รู้บำรุงในกองธาตุ  กระทำให้อาหารงวด  แก้โรคอันบังเกิดแต่จักษุ  ทำลายซึ่งเสมหะ  รู้กระจายลมและแก้ลมคูถทวารฯ
กาหลง  ดอกรู้แก้ปวดศีรษะ  แก้โรคสตรี  แก้ลักปิด  แก้เสมหะ  มีคุณดุจจิกฯ
โกฐสอ   รู้แก้ไข้จับและหืดไอฯ
โกฐเขมา  รู้แก้โรคในปากในคอและหอบ  ให้เสียดแทงสีข้างทั้งสองฯ
โกฐบัว  รู้แก้ลมในกองริดสีดวง  และกระจายสรรพลมทั้งปวงฯ
โกฐเชียง  รู้แก้ไข้ให้สะอึกและให้ไอ  ให้เสียดแทงสองราวข้างฯ
โกฐจุฬาลำพา  รู้แก้ไข้ให้เป็นผื่นพรึงขึ้นทั้งตัวเป็นเพื่อเสมหะและหืดไอฯ
โกฐกระดูก  รู้แก้ลมในกองเสมหะสมุฏฐานฯ
โกฐก้านพร้าว  รู้แก้ไข้จับให้สะอึก  แก้เสมหะ  แก้หอบฯ
โกฐพุงปลา  รู้แก้ไข้ในกองอติสารและอุจจาระธาตุ  แก้พิษให้ร้อนเป็นกำลังฯ
โกฐน้ำเต้า  รู้แก้พิษอันทำให้ธาตุมั่น  และแก้อุจจาระปัสสาวะให้สมบูรณ์ฯ
โกฐกักกรา  รู้แก้ลมอันทำให้คลื่นเหียน  และแก้ดีพิการ  แก้ริดสีดวงอันงอกในทวารทั้ง ๙ฯ
โกฐกะลิง  รู้แก้โรคในปากในคออันประกอบด้วยกิมิชาติอันเบียนอันเบียนบ่อน  แก้ไข้ในทางปัสสาวะให้สะดวก  และแก้พิษงูตะขาบแมลงป่อง  แก้ลมอันกระทำให้กระเพื่อมขึ้นในอุทรและคลื่นเหียนสมมติว่าลมพานไส้  แก้ริดสีดวงทวาร  แก้โลหิตอันทำให้เย็น  รู้กระจายเสียซึ่งลมอีนผูกกลัดทวารและลมอันตั้งมั่นในอุทรฯ
โกฐจุฬารส  รู้กระจายปุพโพอันเป็นก้อน  รู้ฆ่าเสียซึ่งแม่พยาธิอันบังเกิดแต่ไส้ด้วนไส้ลามอุปทุม  ขับโลหิตเน่าให้ตก  และรู้แก้วัตตปิตตโรค  รู้สังหารซึ่งโลหิตอันเกิดแต่กองปิตตสมุฏฐาน  กระจายเสียซึ่งพิษทั้งปวงฯ
เทียนดำ  รู้แก้ลมอันบังเกิดแต่กองสมุฏฐาน  รู้ทำลายเสมหะอันผูกเป็นก้อนอยู่ในท้อง  รู้แก้โลหิตให้บริบูรณ์ฯ
เทียนแดง  รู้แก้เสมหะ  ลม  ดีระคนกันซึ่งเรียกว่าสันนิบาต  รู้แก้ลมอันเสียดแทงในลำไส้และลมคลื่นเหียนฯ
เทียนขาว  รู้แก้ลมทั้งปวง  ทำลายเสมหะอันผูก  รู้แก้นิ่วและมุตกิตฯ
เทียนตาตั๊กแตน  รู้แก้ธาตุ  รู้ทำลายซึ่งเสมหะ  โลหิตกำเดาอันพิการให้บริบูรณ์ขึ้นฯ
เทียนแกลบ  รู้แก้เสมหะและตัวพยาธิ  ทำลายพรรดึกอันผูกอยู่ฯ
เทียนเยาวภานี  รู้แก้เสมหะอันกระจาย  รู้ทำลายซึ่งลมอันลั่นอยู่ในท้องและลมคลื่นเหียนให้จุกเสียด แก้ลมอันปวดป่วนอยู่รอบขอบสะดือฯ
เทียนข้าวเปลือก  รู้ทำลายซึ่งลมอันระคนกันกับเสมหะ  แก้ลมกองอัมพฤกษ์และสุมนา  รู้แก้ลมสัตถกะวาตอันจับให้ระส่ำระสาย  รู้แก้ลมอันบังเกิดแต่ปิตตสมุฏฐานอันกระทำให้คลั่งฯ
เทียนตากบ  รู้แก้อสุรินทญาณธาตุ  รู้ทำลายสมุฏฐานอันกำเริบหย่อนพิการตามในมหาพิกัดฯ
เทียนลวด  รู้แก้ปิตตะสมุฏฐานกำเริบ  รู้แก้กำเดาให้บริบูรณ์และบำรุงผิวให้สดชื่นฯ
เทียนสัตบุษ  รู้แก้ลมในครรภ์รักษา  แก้พิษระส่ำระสาย  แก้ไข้จับ  แก้หอบ  แก้สะอึกฯ
เทียนขม  รู้แก้พัทธปิตตะ  คือดีซ่านซึมรั่วพลุ่ง  แก้ลมในกองบาทจิต  บำรุงหทัยวาตและสัตถวาตฯ
อบเชย  รู้แก้ลมอัมพฤกษ์  และปลุกธาตุอันดับให้เจริญขึ้น  แก้เสมหะอันเกิดในกองสันนิบาตฯ
อบเชยไทย  ใบรู้แก้โลหิตให้ตก  ผลทำเสมหะให้งวด  ดอกแก้ดีและโลหิต  เครือรู้แก้โรคในคอและแก้รัตปิตตะฯ
อบเชยเทศ  ใบรู้กระทำให้เสมหะแห้ง  และแก้ดี  ดอกรู้แก้สรรพพิษฝีทั้งปวง  ต้นรู้กระจายเสียซึ่งลมอันพัดขึ้นเบื้องบน  รากรู้แก้โลหิตอันเน่าในอุทรและรู้เจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น  แก้กำเดาให้เป็นปกติฯ
ขมิ้นชัน  รู้แก้ไข้อันบังเกิดแต่ดี  ชำระโรคอันบังเกิดแต่ผิวหนัง  ระงับเตโชธาตุ  แก้เสมหะอันทำให้ฟกบวมและแก้บาดแผลฯ
ขมิ้นเครือ  ใบรู้แก้โลหิตเน่าให้ตก  ดอกรู้แก้บิดและมูกเลือด  ต้นรู้กระจายลมอันเกิดแต่ดี  รู้แก้เสมหะและไข้ตรีโทษ  รากรู้ขับลมอัมพฤกษ์ให้ตกฯ
ดองดึง  รู้แก้โรคเรื้อน  มะเร็ง  คุดทะราดและบาดแผล  สังหารเสียซึ่งลมอันผูกฯ
มหาหิงค์  รู้แก้พรรดึก  และแก้ลมเสียดแทง  แก้อชินโรคทั้ง ๔ ประการ  กระทำให้อาหารงวด  เจริญธาตุอันเป็นมลทินให้ผ่องใส  ชำระเสียซึ่งเสมหะและลม  ฯ
การะบูน  รู้กระทำให้อาหารงวด  แก้ลมคูถทวารให้ปิด  รู้ทำลายเสียซึ่งเสมหะฯ
ชมด  รู้แก้อภิญญาณโรค  แก้โลหิตอันกระทำให้ร้อน  แก้โลหิตอันตั้งอยู่รอบในอุทร  แก้โลหิตอันตีขึ้นเบื้องบน  ระงับธาตุกำเริบ  และตั้งสีสรรวรรณะให้บริบูรณ์  ทำลายเสียซึ่งลม  แก้แผลปวดแสบและหืดไอ
พิมเสน รู้แก้โรคอันบังเกิดแต่นาสิก  กระจายลมทั้งปวง  มีลมหทัยวาตเป็นต้น  มีลมสุมนาเป็นที่สุดอันตั้งอยู่โดยรอบแห่งสมุฏฐานฯ
น้ำประสารทองจีน  รู้แก้โรคริดสีดวงอันเกิดแต่นาสิก  รู้แก้โรคอันเกิดแต่ลำคอ  แก้ไข้อันผอมเหลือง แก้ริดสีดวง ๒ จำพวกคือบังเกิดในจักษุและทวารหนัก  แก้ฟกบวมและแก้ลมอันธพฤกษ์แก้หืดไอและมองคร่อฯ
ดอกคำ  รู้แก้โรคอันบังเกิดแต่ผิวหนัง  แก้อภิญญาณโรค  กระทำให้โลหิตบริบูรณ์งามฯ
เปราะหอมแดง  ใบรู้แก้เกลื้อนช้าง  ดอกรู้แก้โรคอันเกิดแต่จักษุ  ต้นรู้แก้ลมในอุทรซึ่งกระทำให้ท้องขึ้น  หัวรู้แก้บุพโพโลหิตให้ตก  แก้ลมอังคาพยพะ  แก้โรคอันทำให้ตัวร้อนเป็นผื่นพรึงและแก้ไอ  แก้พิษในทรวงและบาดแผลฯ
เปราะหอมขาว  ใบรู้แก้ฝีให้ตก  ดอกรู้แก้กุมารโรคสะดุ้งร้องให้และเหลือกตาดูหลังคา  ต้นรู้แก้โลหิตเน่าให้ตก  หัวรู้กระจายโลหิตอันประกอบไปด้วยลมอันมีพิษฯ
ชะลูดแดง  ใบรู้กระจายซึ่งโลหิต  รากรู้สังหารซึ่งอภิญญาณโรค  แก้รัตตปิตตะอันบังเกิดแต่เหตุแห่งดีเป็นต้นฯ
ชะลูดขาว  ใบรู้แก้ไข้จับ  ผลรู้แก้ไข้อันกำเริบ  ดอกรู้แก้ไข้อันหาสติมิได้  แก้ลมอุทธังคมาวาต  รากรู้แก้ลมหทัยวาต  แก้เสมหะและไข้พิษฯ
สมี  ใบรู้แก้สิวขึ้นหน้า  แก้ไข้อันกิดแต่ตับ  ผลรู้ขับเสมหะให้ทำสำรอกเสีย  ดอกรู้แก้โลหิตสตรีอันมีครรภ์
เปลือกรู้แก้แม่พยาธิคือเกลื้อนใหญ่และน้อย  ไส้รู้แก้พยาธิออกจากอุทร  รากรู้แก้สันนิบาตลงโลหิตฯ
ต้นตีนเป็ดน้ำ รู้แก้พยาธิคือขี้กลาก  ดอกแก้ริดสีดวงทวาร   ผลรู้แก้ผมอันหงอก  เปลือกรู้แก้นิ่ว  แก่นรู้กระจายเสียซึ่งลมอันธพฤกษ์  รากรู้แก้เสมหะให้ตกฯ
เท้ายายม่อม  รู้แก้พิษเสมหะโดยรอบคอบและแก้สรรพพิษทั้งปวงฯ
กลอยทั้ง ๓ มีคุณอย่างเดียวกัน  ต้นรู้ตั้งไว้ซึ่งโลหิตและลม  ดอกรู้ชำระลำไส้ให้บริสุทธิ์  ใบรู้กระทำให้บุพโพตก  รากรู้แก้ลมและดีกระทำให้เป็นปกติแห่งธาตุ  เจริญสุคติธาตุ  แก้มุตกิตและแก้ไอ  แก้ไข้ผอมเหลืองและเจริญอายุฯ
ข่าใหญ่  หัวรู้ขับลมให้กระจาย  รู้แก้ฟกบวมและแก้พิษ  แก้บิดอันตกโลหิต  ใบรู้แก้ตัวพยาธิคือขี้กลากดอกรู้แก้เกลื้อนใหญ่และน้อยฯ
ข่าลิง  ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ  ใบรู้แก้ตัวพยาธิคือเกลื้อนน้อยและใหญ่  ดอกรู้แก้พยาธิในอุทรให้ตก  รากรู้แก้หัวฝี  แก้โรคสำหรับบุรุษฯ
ไพล  ต้นรู้แก้อุจจาระ  อันประกอบไปด้วยอุปัทวะ  ใบรู้แก้ไข้อันเมื่อยขบ  ดอกรู้กระจายซึ่งโลหิตอันเกิดแต่อภิญญาณธาตุ  รากรู้แก้รากอันเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก  หัวรู้ขับโลหิตร้ายให้ตกฯ
กุ่มบก  ใบรู้แก้ลมและฆ่าแม่พยาธิคือตะมอย  แก้เกลื้อนอันเกิดที่หน้า  เปลือกรู้แก้ลมอันทำให้เย็นในท้อง  แก่นรู้แก้ริดสีดวงผอมเหลือง  รากรู้แก้มารกระสายอันเกิดแต่กองลมฯ
กุ่มน้ำ  ใบรู้กระทำให้เหงื่อซ่านออกมา  ดอกรู้แก้เจ็บในลำคอ  ผลรู้แก้ไข้อันทำให้หนาวและร้อน  เปลือกรู้แก้สะอึกและแก้ลมขึ้นเบื้องบน  แก่นรู้แก้ประเมหะคือนิ่วเป็นต้น  รากรู้ทำลายเสียซึ่งปุพโพอันผูกเป็นก้อนฯ
คนทีสอขาว  ใบรู้ตั้งสตรีสมุฏฐานให้เป็นปกติ  แก้ลมและแม่พยาธิ  แก้สาบสางในกาย  ดอกรู้แก้ไข้อันเกิดแต่ทรวง  ผลรู้แก้พยาธิและหืดไอ  แก้ไข้ในครรภ์รักษา  เปลือกรู้แก้ไข้อันทำให้เย็นและคลื่นเหียร  แก้หญิงฤดูพิการและแก้ซึ่งโลหิต  รากรู้แก้บวมและไข้อันทำให้ร้อนฯ
คนทีสอดำ  เปลือกรู้แก้ไข้ฟก  แก้ริดสีดวงแก้ลมเสียดแทงและแก้พยาธิ  ใบรู้แก้เสมหะและโลหิต  รู้ขับลมให้กระจายและฆ่าพยาธิแก้คุดทะราด  บำรุงไฟธาตุให้เป็นปกติ  รากรู้กระจายลมอันเกิดแต่กองเสมหะ แก้เหงื่ออันแห้งให้ตกออกมาฯ
รักขาว  ใบรู้แก้ริดสีดวงทวารและคุดทะราด  ยางรู้แก้ริดสีดวงในลำไส้  ดอกรู้แก้แม่พยาธิคือกลากกลื้อน
ผลรู้แก้รังแค  ต้นรู้บำรุงอากาศธาตุ ๙ ประการให้บริบูรณ์  รากรู้แก้มูกเลือดและไข้เหนือฯ
หญ้าพันงู  ต้นรู้แก้ทางปัสสาวะอันขัดข้อง  ใบรู้แก้โรคในลำคอดุจหนามก้านบัว  ดอกรู้แก้เสมหะในท้อง ผลรู้ทำลายเม็ดนิ่วให้ตก  รากรู้แก้นิ่ว ๒๐ ประการฯ
มะไฟเดือนห้า   ต้นรู้บำรุงธาตุและกระทำอาหารให้งวด  ใบรู้แก้แม่พยาธิคือกลากเกลื้อนขี้เรื้อนกุฏฐังและไส้เดือนในท้อง  ผลรู้กระทำโลหิตในท้องให้ตก  รากรู้ทำลายโลหิตเบื้องบนให้ตกฯ
ว่านหางช้าง  ต้นรู้ก้คุณอันบุคคลทำด้วยหนัง  ใบรู้แก้คุณอันบุคคลทำด้วยเนื้อ  ดอกรู้แก้คุณอันบุคคลทำด้วยผม  รากรู้แก้คุณอันบุคคลทำด้วยกระดูกฯ
ทองหลางใบมน  ใบรู้แก้ลมแก้ริดสีดวงแก้ไส้เลื่อนในท้อง  ดอกรู้แก้โลหิตให้ตก  ผลรู้บำรุงซึ่งดี เปลือกรู้แก้วาโยโลหิตเสมหะให้ตก  แก่นรู้แก้สรรพพิษทั้งปวงฯ
คัดเค้า  ใบรู้แก้โลหิตให้ซ่าน  ดอกรู้แก้โลหิตในกองกำเดา  ผลรู้แก้โลหิตอันแห้งให้ตก  ต้นรู้แก้โลหิตร้างให้บริบูรณ์  รากรู้แก้รัตตปิตตะโรคฯ
นมพิจิตร  ใบรู้แก้สรรพพิษทั้งปวงมีพิษไข้เป็นต้น  มีพิษลมเป็นทีสุด  ดอกรู้แก้ลมอันมีพิษ  ผลรู้ทำลายเสียซึ่งปุพโพให้ตก  รากรู้แก้ลมอันทำให้คลื่นเหียรฯ
กกลังกา  ต้นรู้ทำลายซึ่งดีอันผูกพิษ  ใบรู้ฆ่าแม่พยาธิทั้งปวง  ดอกรู้แก้โรคในปาก  รากรู้กระทำให้โลหิตในท้องนั้นตก  หัวรู้เจริญอภิญญาณธาตุ  สมุฏฐานพิกัด  ทำให้อาหารงวด  ทำให้เสมหะเฟื่องให้สงบลงฯ
หญ้าตีนนก  รู้แก้ไข้อันทำให้ร้อนกระหายน้ำเป็นเพื่อดีแห้งฯ
ชะมดต้น  ใบรู้แก้พยาธิคือกลากเกลื้อน  ดอกรู้แก้พยาธิไส้เดือนในท้องให้ตก  ผลรู้แก้จำพวกพยาธิคือโรคพิษฝีให้ปุพโพแตกเร็ว  เปลือกรู้ฆ่าเสียแมลงคาเข้าหู  กะพี้รู้แก้เกลื้อนช้าง  แก่นรู้แก้ซึ่งแม่พยาธิคือขี้เรื้อนใหญ่  ขี้เรื้อนกวาง  และขี้เรื้อนน้ำเต้า  รากรู้แก้แม่พยาธิอันเกิดตามขุมขนและรากผม  รู้ห้ามรังแคมิให้บังเกิดฯ
ตีนเป็ดต้น  ใบรู้แก้ไข้หวัด  ดอกรู้แก้ไข้เพื่อโลหิต  ผลรู้แก้ไข้เพื่อเสมหะ  เปลือกรู้แก้ไข้เพื่อดี  ต้นรู้แก้อภิญญาณธาตุและแก้โลหิตพิการให้ตก  รากรู้ขับลมให้กระจายฯ
ผักปลัง  เถารู้แก้พิษฝีดาษ  ใบรู้แก้ขี้กลาก  ดอกรู้แก้เกลื้อน  รากรู้แก้มือด่างและเท้าด่าง  แก้รังแค  ผลรู้แก้พิษทั้งปวงมีพิษฝีเป็นต้น
หญ้าแพรก  รู้แก้สรรพพิษอันทำให้คันและร้อน  แก้รัตตปิตตะโรคและฝีดาษฯ
มะตูมอ่อน  รู้แก้วาโยโลหิตและเสมหะและปุพโพอันเน่าในท้องให้ตก  แก้สมฏฐานแห่งสตรีโทษฯ
มะตูมแก่  รู้แก้เสมหะและลม  บำรุงซึ่งสุคติธาตุให้เกิดกระทำให้อัคคนีผลเจริญขึ้น  รู้กระทำอาหารในท้องให้งวดฯ
มะตูมสุก  รู้แก้ลมอันเสียดแทงในท้อง  แก้มูกเลือดและบำรุงจตุรการเตโช  กระทำให้อาหารงวด  แก้กระหายน้ำเพื่ออนุโลมตามวาโยธาตุฯ
ผักโหมหิน  ผักโหมหัด  ต้นรู้แก้ลมอันผูกเป็นก้อนและลมให้เรอ  ใบรู้แก้เสมหะและดี  ดอกรู้แก้โลหิตอภิญญาณให้ตั้งเป็นปกติ  รากรู้แก้ลมอัมพฤกษ์ให้ตก  แก้ริดสีดวงงอกทวารและแก้เสมหะฯ
สหัสคุณไทย  ต้นรู้แก้ลมภายในให้กระจาย  ผลรู้แก้คุณอันทำด้วยผมให้ตก  ดอกรู้แก้เสมหะให้ตก  รากรู้แก้โลหิตอันข้นด้วยปุพโพ  ใบรู้แก้ลมอันเสียดแทงยอกในข้อ  แก้ไข้อันผอมเหลืองและหืดไอฯ
สหัสคุณเทศ  ใบรู้แก้ลมอันผูกเป็นก้อนให้กระจาย  ดอกรู้แก้แม่พยาธิทั้งปวง  ผลรู้ฆ่าพยาธิอันเกิดแต่ไส้ด้วนไส้ลาม  เปลือกรู้แก้โลหิตในลำไส้  รากรู้แก้ริดสีดวงฯ
แตงหนู    ต้นรู้แก้เสมหะให้ตก  ใบรู้แก้ไข้จับอันทำให้สะท้านหนาว  ดอกรู้แก้พิษโลหิตอันเน่าให้ตก  ผลรู้แก้ไข้จับให้สะท้านร้อน  รากรู้แก้ปัสสาวะและแก้เสมหะและคุดทะราดฯ
ชิงชี่  ต้นรู้แก้บวม  ดอกรู้แก้โรคมะเร็ง  ผลรู้แก้โรคอันเกิดในลำคอ  รากรู้แก้โรคอันเกิดในท้องและรู้แก้ลมภายในให้ซ่านออกมาฯ
ผักปอดตัวเมีย  ต้นรู้แก้ไข้สตรีอันอยู่ในเรือนไฟ  ใบรู้แก้เหงื่ออันบุคคลเป็นท้องมารให้ตก  ดอกรู้แก้ริดสีดวงอันเป็นเพื่อโลหิต  รากรู้แก้ไข้จับอันกระทำให้ร้อนฯ
ผักปอดตัวผู้  ต้นรู้แก้โลหิตพิการ  ใบรู้แก้ลมให้ตก  ดอกรู้แก้ไข้อันกระทำให้หนาว  รากรู้แก้ลมและโลหิตให้กระจายฯ
พลูแก  ต้นรู้ฆ่าแม่พยาธิภายในอันเกิดแต่ริดสีดวง  ใบรู้ฆ่าแม่พยาธิภายนอกอันเกิดแต่ผิวหนัง  ดอกรู้แก้โรคอันเกิดแต่จักษุ  รากรู้แก้โลหิตอันระคนด้วยลมให้ตก  และต้น ใบ ดอก รากทั้ง๔นี้ระคนกันเข้า  ต้มให้กินแก้โรคเรื้อนใหญ่และน้อย  แก้มะเร็งคุดทะราด  กลากเกลื้อน  หิต  สิวหายสิ้นฯ
สลอดน้ำ  ใบรู้บำรุงเนื้อและและหนังให้ตั้งมั่นเป็นปกติ  ดอกรู้แก้ริดสีดวงในจมูกแก้ปวดหัวและโรคอันบังเกิดแต่ตา  ผลรู้แก้ลมสันดานฯ
โมกหลวง  ใบรู้แก้ไส้เดือนในท้องให้ตก  ผลรู้แก้วัณโรคแห่งสตรีอยู่ในเรือนไฟ  เมล็ดในรู้แก้ไข้เพื่ออติสารโรคและวาโยโลหิต  เปลือกรู้แก้ไข้จับเป็นเพื่อลม  เลือด  เสลด  กระพี้รู้แก้โลหิตให้เป็นปกติแก่นรู้ฆ่าแม่พยาธิ  รากรู้แก้โลหิตอันร้ายให้ตกฯ
โมกมัน  ใบรู้แก้เหงื่อแห่งบุคคลเป็นท้องมารให้ตก  ดอกรู้ทำลายซึ่งพรรดึก  ผลรู้ฆ่าแม่พยาธิอันบังเกิดแต่ฟันให้ตาย  เปลือกรู้ฆ่าแม่พยาธิอันเกิดแต่คุดทะราด  กะพี้รู้แก้ดีให้เป็นปกติ  แก่นแก้เลือดร้ายอันคั่งอยู่ในท้องให้ตก  รากรู้แก้ลมสันดานฯ
แคแดงแลลำใย  มีคุณอย่างเดียวกัน  รู้แก้ซึ่งเสมหะแลลม ฯ
รากเพกา  รู้บำรุงธาตุไฟมิให้ดับ  แก้ไข้สันนิบาตฯ
รากมะตูม  รู้แก้ซึ่งหืด  หอบ  ไอ  และบำบัดเสมหะแลดี  รู้แก้ไข้ให้ร้อนแลแก้ชินโรค  แก้ลมอันแน่นอยู่ในทรวงแลยอกเสียดเกลียวข้างทั้งสอง  แก้มุตกิตมุตฆาฏ ฯ
โกฐกะเพอ  รู้แก้ไข้จับและแก้โลหิต  แก้ไอ  แก้โรคเกิดในปากในคอ  แก้หอบ  แก้สะอึก  แก้เสียดแทงสีข้างทั้ง๒  กระจายลมแลแก้ริดสีดวง ฯ
โกฐกะตะสินี  รูแก้ไข้จับอันสะอึก  แก้ลม  แก้เสมหะ  แก้หอบ ฯ
โกฐกัดตรา  รู้แก้ลมอันทำให้คลื่นเหียร  แก้ดี  แก้ริดสีดวงในทวารทั้ง ๙  ฯ
โกฐกลิ้ง  รู้แก้โรคในปากในคอ  อันเกิดเป็นกิมิชาติ  แก้ไข้ในทางปัสสาวะให้สะดวก  แก้ลมอันทำให้ผะอืดผะอมในอุทร  แก้คลื่นเหียรสมมติว่าลมพานไส้  แก้โลหิตทำให้เย็น  กระจายลมที่ผูกตั้งมั่นอยู่  แก้ริดสีดวงทวาร  แก้อสรพิษต่างๆ ฯ
ขี้วัว  รู้ดับพิษไข้แลพิษทั้งปวง ฯ
ขี้แมลงสาบ  รู้แก้เม็ดฝีตาลทราง  แก้พิษอักเสบและพิษทุกอย่าง ฯ
เข็มแดง  รากรู้แก้เสมหะ  แก้กำเดาและอัคคนีผล  แก้บวม  แก้โรคทางจักษุ ฯ
เข็มป่า  เปลือกรู้แก้แมลงคาเข้าหู  ใบรู้แก้แม่พยาธิทั้งปวง  ดอกรู้แก้โรคอันเกิดแก่จักษุทุกชนิด  ลูกรู้แก้ริดสีดวงอันเกิดแต่จมูก  รากรู้แก้เสมหะในอุทร ฯ
ขนเม่น  รู้แก้พิษทรางและแก้พิษกาฬ ฯ
คล้า  หัวมีรสเบื่อเย็น  รู้แก้พิษและไข้เหนือ ฯ
โคกกะออม  ใบรู้แก้หืด  เถารู้แก้ไข้จับ  ดอกรู้แก้โลหิตให้ตก  ลูกรู้ดับพิษไฟ  รากรู้แก้ตาเป็นต้อและแก้พิษงู ฯ
ครั่ง  รู้แก้ไอ  แก้ข้อซ้นและช้ำ ฯ
กัลปังหา  รู้ประสานเนื้อให้ติดต่อกันได้เร็ว ฯ
เชือกเขาไฟ  รู้แก้ร้อนและผายธาตุ  แก้ระส่ำระสาย  แก้จุกเสียด  แก้เสมหะและลม ฯ
ลูกซัด  รู้แก้ลมและกล่อมเสมหะ ฯ
หญ้ากระต่ายจาม  รู้แก้ช้ำและขับเลือดภายในกายมิให้คั่งค้าง ฯ
หญ้าหนวดแมว  รู้แก้คลื่นเหียรและอาเจียร  แก้เสมหะ  รากรู้ขับน้ำเบาให้คล่อง ฯ
ดีเกลือฝรั่ง ดีเกลือไทย  รู้ถ่ายเสมหะและโลหิตและกระทำให้เส้นอ่อน ฯ
ดองดึง  รู้แก้โรคเรื้อนแลบาดแผล  แก้พยาธิและคุดทะราดมะเร็ง  สังหารลมอันผูกเสียได้ฯ
แตงนก  รู้แก้ลม  เสลด  หืด ไอและแก้สำปะชวน ฯ
แตงหนู  ต้นรู้แก้เสมหะให้ตก  ใบรู้แก้ไข้จับสะท้านหนาว  ดอกรู้แก้โลหิตอันเน่าให้ตก  ลูกรู้แก้ไข้จับสะท้านร้อน  รากรู้แก้ขัดเบาแก้ลม  แก้เสมหะและคุดทะราด ฯ
ตำแยตัวผู้  ต้นรู้ขับเสมหะ  แ้ก้ไอและกระทำให้อาเจียร ฯ
ตุมกาเครือ  รู้ผายธาตุให้แห้ง  แก้ไข้เพื่อเสมหะและดี  บำรุงไฟธาตุให้รู้รสอาหาร ฯ
เถาเอ็น  รู้ทำเอ็นให้แข็งแรงและแ้เอ็นพิการ ฯ
ถั่วลันเตา  รู้ชักตับและแก้ตับทรุดฯ
ถั่วราชมด  รูแก้โรคอันปวดขัด ฯ
ถั่วแปบ  รู้จักแก้จักษุโรค  ผายธาตุและแก้เสมหะ  แก้ไข้สำประชวน  แก้ลมพิษ ฯ
ไทรย้อย  รากรู้บำรุงน้ำนมแลกาฬเลือด  แก้เบาขัดให้คล่อง 
นมสวรรค์ตัวผู้  ต้นรู้แก้พิษตะขาบ  ใบรู้แก้ลมในทรวงอก  ดอกรู้แก้โลหิตในอุทร  รากรู้แก้โลหิตอันเป็นเพื่อไข้เหนือ  ฯ
นมสวรรค์ตัวเมีย  ต้นรู้แก้ฝีฝักบัว  ใบรู้แก้พิษฝีกาฬ  รากรู้แก้ลมให้ซ่านออกมา ฯ
ผักเป็ดแดง  รู้ดับพิษโลหิต  ฟอกและบำรุงโลหิต ฯ
ผักเป็ดขาว  มีคุณเหมือนกันกับผักเป็ดแดง  แต่รสอ่อนกว่าผักเป็ดแดง  ฯ
พิกุล  ใบรู้ฆ่าแม่พยาธิไส้เดือนไส้ลาม  เปลือกรู้ฆ่าแม่พยาธิอันเกิดแต่ฟัน  กระพี้รู้แก้เกลื้อนน้อย  แก่นรู้บำรุงโลหิตและเสมหะ  ฯ
พญารากดำ  รู้ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ  ฯ
พญารากขาว  มีคุณดุจพญารากดำ  ฯ
พรมมิ  ต้นรู้แก้โลหิตให้ตกเสีย  และเจริญปัญญา  ใบรู้แก้เสมหะ  ดอกนั้นรู้แก้โลหิตอันมีสีดังน้ำหมาก  ฯ
มะกล่ำตาช้าง  ใบรูแก้โรคบามให้ขัดข้อ  บำรุงกำลัง  ห้ามโลหิตออกทางทวารหนัก  แก้ปัสสาวะเป็นโลหิต  เม็ดรู้ห้ามปุพโพ  รากรู้กระทำให้อาเจียร  ฯ
มะกล่ำตาหนู  เม็ดรู้แก้ทางจักษุ  คือต้อกระจกและตาเป็นริดสีดวงให้ขอบตาเป็นเม็ดเป็นตุ่ม  ฯ
มะกา  ใบรู้ถ่ายเสมหะโลหิต  สกดลมเบื้องสูงให้ลงต่ำ  เม็ดรู้ทำให้หายแน่น  ฯ
มะดูก  รากรู้แก้ฝีในท้อง  บำรุงกระดูกและดับพิษในกระดูก  ฯ
มะไฟ  รากแก้ฝีภายในและแก้ประดง  ฯ
มะไฟเดือนห้า  ต้นรู้บำรุงธาตุกระทำให้อาหารงวด  ใบรู้ฆ่าแม่พยาธิกลากเกลื้อนขี้เลื้อนและฆ่าไส้เดือนในอุทร  ลูกรู้ขับโลหิตในอุทรให้ตก  รากรู้ขับโลหิตเบื้องบนให้ตก  ฯ
มะลิ  ต้นรู้แก้คุดทะราด  แก้เสมหะและโลหิต  ดอกรู้ทำใจให้ชุ่มชื่น  แก้ร้อนในอก  แก้โรคในจักษุ  แก้ไข้ตัวร้อนทุกประการ  แก้ไข้อันเกิดแต่เสมหะและดี  ฯ
มะม่วงหิมพานต์  เม็ดรู้แก้กลากเกลื้อนโรคผิวหนัง  แก้เนื้องอก  ผลรู้แก้ลักปิดลักเปิด  ฯ
เร่วน้อย  ต้นรู้แก้ไข้อันเกิดแต่ดี  ใบรู้แก้ไข้เพื่อปัสสาวะไม่สะดวก  ดอกรู้แก้ไข้อันเป็นเม็ดผื่นทั้งตัว  ผลรู้แก้ไข้ริดสีดวง  แก้หืดและแก้ไอ เสมหะ  แก้พิษอันเกิดแต่กองมุตตกิตมุตฆาฏ  รากรู้แก้หืด  ฯ
เร่วใหญ่  ต้นรู้แก้คลื่นเหียน  ใบรู้แก้ทุลาวะสาอกรู้แก้พิษอันเป็นเม็ดผื่นคันดังผด  ผลรู้แก้ไข้เพื่อเสมหะแลเกิดแต่ดี  แก้ริดสีดวงทั้ง ๙  รากรู้แก้มองคร่อแลไอหืดหอบ  ฯ
ลิ้นทะเล  รูก้มูกเลือด  แก้โรคอันเกิดด้วยแม่พยาธิ  แก้โรคทางฟัน  กัดฝ้าผิวหน้าให้ตก
หวายลิง  รู้แก้โรคลมกองละเอียด  แก้ในกองธาตุเจริญอายุ  ฯ
แววนกยูง  รู้แก้สะอึก  แก้พิษกาฬ  แลแก้พิษทั้งปวง  ฯ
สีฟันเครือ  ต้นรู้ชำระโลหิต  ใบรู้แก้ปวด  ดอกรู้แก้โลหิตอันออกทางจักษุแลแก้พิษสัตว์แตนต่อต่อย รากรู้แก้วาโยโลหิตให้ตก  ฯ
ลูกสาระพัดพิษ  รู้แก้ร้อนทุกอย่างแลแก้พิษฝี  ฯ
สามสิบ  รู้แก้ไข้  แก้ข้อหักซ้น  มีสรรพคุณเหมือนกับครั่ง  ฯ
หางปลาช่อนต้น  รู้แก้เม็ดฝีตาลฝีทรางและแก้พิษทั้งปวง  ฯ
หัวร้อยรู  รู้แก้พิษในข้อในกระดูก  แก้พิษประดง  ฯ
อ้อยแดง  รู้บำรุงอาโปธาตุ  ทำให้เกิดน้ำมูตรแลให้เกิดกำลัง  ฯ
อบเชย  รู้แก้ลมอัมพฤกษ์  ปลูกธาตุอันดับให้เจริญขึ้น  แก้ไข้สันนิบาตแลขับผายลม  แก้เสมหะอันเกิดในกองสันนิบาต  ฯ
ลูกเอ็น  รู้เจริญลมในอก  แก้น้ำเหลืองและเสมหะเน่าร้าย  ฯ
รากไอ้เหนียว  รู้ขับน้ำเบาให้สะดวก  แก้ในทางกาฬมูต  ฯ
อันชันดอกเขียว  รู้แก้ฟกบวม  ฯ
อันชันดอกขาว  รู้แก้พิษต่างๆ  ฯ
หัวถั่วพู  มีรสชุ่ม  รู้ชูกำลังให้ดีขึ้น  ฯ
ถั่วเขียว  รู้จำเริญเนื้อหนังแลอายุ  ฯ
ถั่วขาวใหญ่  มีคุณดุจถั่วเขียว  ฯ
ถั่วราชมาด  รู้แก้โรคอันเกิดทางปอด  ฯ

หมวดพิเศษ
สรรพคุณยารสระคนกัน

สมอโรหินี  ผลมีสัณฐานกลม  มีรสเปรี้ยวแลหวาน  แก้เสมหะอันข้นแค้น  ฯ
สมออนุตา  ผลมีสัณฐานสามเหลี่ยม  เม็ดเล็กมีรสหวานเย็น  รู้แก้ไข้ให้คลั่งแลบ้าดีเดือด  ฯ
สมอมุตตะกี  ผลมีสัณฐาน ๕ เหลี่ยม  มีรสเปรี้ยวและรสร้อน  รู้แก้ลมอันแน่นอยู่ในนาภีและทรวงอก  ฯ
สมออัพยา  ผลมีสัณฐานเป็น ๖ เหลี่ยม  มีรสขมและรสร้อน  รู้แก้โลหิตโดยรอบคอบในอุทร  ฯ
สมอวิลันดา  ผลมีสัันฐาน ๗ เหลี่ยม  สีเหลืองดั่งสีทอง  มีรสหวาน  ขม  ฝาด  ร้อน  รู้แก้จตุธาตุ  แลตรีสมุฏฐาน  ฯ
สมอป่า สมอไทย  ผลมีสัณฐานใหญ่    มีรสเปรี้ยวแลฝาด  รู้แก้กระสายโรคในอุทรแลแก้บิด  ดอกรู้แก้ลมอันลั่นอยู่ในโสต  กระพี้รู้แก้ไข้ฟกบวม  แก่นรู้แก้โลหิตแลแก้คอขึ้นเม็ดดังหนามบัว  รากรู้แก้เสมหะ  ฯ
ผลมะขามป้อมอ่อน  มีรสอันเปรี้ยวหวานระคนกัน  รู้แก้มังสะให้บริบูรณ์  และทำให้เสียงเพราะรู้แก้พรรดึกแก้พยาธิในกองเสมหะ  ฯ
ผลมขามป้อมแก่  มีรสอันขม  เผ็ด  ฝาด  เปรี้ยวระคนกัน  รูห้ามเสียซึ่งลมแลไข้อันพิเศษ  ฯ
กระชาย  มีรสเผ็ด  ร้อน  ขม  แก้โรคอันเกิดในปากแลคอ  แก้มุตกิต  แก้ลมในดวงหทัย  ฯ
กะเบา  เม็ดมีรสมัน  เมา  รู้แก้พยาธิผิวหนังทั่วทั้งกาย  ฯ
กระจับ  มีรสหวาน  เย็น  มัน  รู้บำรุงกำลังและบำรุงกุมารในครรภ์  ฯ
ขิงสด  มีรสหวาน  ร้อน  เผ็ด  เหง้ารู้จำเริญอากาศธาตุ  ดอกรู้แก้โรคอันบังเกิดแต่ดวงหทัย  ใบรู้แก้กำเดาให้บริบูรณ์  ต้นรู้สกดลมให้ลงไปทางคูถทวาร  รากรู้ทำให้เสียงเพราะและจำเริญอาหาร  ฯ
ดีปลี  มีรสเผ็ด  ขม  รากรู้แก้พิษอัมพฤกษ์  อัมพาธและพิษปัตฆาฏ  ใบรู้แก้เส้นสุมานา  เส้นอัษฎากาศ เถารู้แก้อันธพฤกษ์แลมุตฆาฏ  ดอกรู้แก้ปถวีธาตุ ๒๐ ประการ  ฯ
ผลจันทน์  มีรสร้อน  ฝาด  หอม  รู้แก้ลมในกองเสมหะอันผูก  ทำลายเสียซึ่งลมอันผูกทวารไว้ให้มั่น กระทำอาหารเก่าใหม่ให้แน่นเข้า  ฯ  
กระวาน  มีรสเผ็ด  ร้อน  หอม  ใบรู้กระทำให้วาโยเดินลงเบื้องต่ำแลแก้ไข้อันเหงาง่วง  แก้เสมหะ  ผลรู้กระจายเสมหะแลวาโยโลหิต  ดอกรู้แก้โรค อันบังเกิดในจักษุอันเปื่อยเน่า  เปลือกรู้แก้ไข้อันเป็นอชินโรคแลอชินธาตุ  กระพี้รู้ตั้งซึ่งโรคแต่ผิวหนัง  แก่นรู้กระจายซึ่งพิษทั้งปวง  รากรู้สังหารโลหิตอันเน่าเป็นก้อนอยู่ในอุทรให้ตก  ฯ
เร่วน้อย  มีรสเผ็ด  ร้อนปร่าต้นรู้แก้ไข้อันบังเกิดแต่ดี  ใบรู้แก้ปัสสาวะให้เดินสะดวก  ดอกรู้แก้ไข้อันเป็นเม็ดผื่นทั้งตัว  ผลรู้แก้ไข้ริดสีดวง  แก้หืดและแก้ไอ เสมหะ  แก้พิษอันเกิดแต่กองมุตตกิตมุตฆาฏ  รากรู้แก้หืด  ฯ
เร่วใหญ่  มีรสดุจเร่วน้อยแต่อ่อนกว่า  ต้นรู้แก้คลื่นเหียน  ใบรู้แก้ทุลาวะสา ๑๒ ประการ ดอกรู้แก้พิษอันเป็นเม็ดผื่นคันดังผด  ผลรู้แก้ไข้เพื่อเสมหะแลเกิดแต่ดี  แก้ริดสีดวงทั้ง ๙   รากรู้แก้มองคร่อแลไอหืดหอบฯ  
ผักชี  มีรสขม  ฝาด  แลหวาน  รู้แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง  รู้เจริญอภิญญาณธาตุ  แก้สะอึกและกระหายน้ำ  รู้แก้คลื่นเหียนแลโรคอันเกิดแต่ตา  ฯ
แก่นสน  มีรสขม  เผ็ด  แก่นชุ่มไปด้วยน้ำมัน  รู้แก้ไข้อันบังเกิดแต่เสมหะและกระจายเสียซึ่งลม  กระพี้รู้แก้ไข้สันนิบาต  ฯ  
จันทน์ขาว  มีรสหวาน  ขม รู้แก้กระทำให้เกิดปัญญาแลราศี  แก้ไข้อันบังเกิดแต่ตับแลดี  แก้กระหายน้ำฯ
จันทนืแดง  มีรสขม  เย็น รู้แก้ลมอันเกิดแต่ทรวงแลดี  รู้กระทำให้ใจชื่น  แก้ไข้รัตตะปิตตะแลบาดแผล  ฯ
หอม  มีรสหวาน  เค็มเลือก  รู้แก้ไข้หวัดแลไข้อันผูกเป็นเจ้าเรือน  แก้ไข้อันเกิดแต่อชินธาตุ ๔ ประการ หัวมีรสหวานเผ็ด  รู้แก้ไข้อันเกิดแต่ทรวง  แลกระทำให้ผมดก  แลให้มีสีสรรวรรณะอันงาม  กระทำให้อาหารงวด  แก้ไข้สันนิบาตอันเกิดแต่จักษุ  กระทำให้เสมหะตก  แก้โรคในปากแลบำรุงธาตุ  ฯ
สะเดา  มีรสขม  ฝาด  เย็น  ใบรู้กระทำให้ระมัดในท้อง  บึรุงเพลิงธาตุ  ทำให้อาหารงวด  ดอกรู้แก้พิษโลหิตอันเกิดแต่กำเดา  แก้ริดสีดวงเกิดในลำคอให้คันดุจพยาธิไต่อยู่  ผลรู้แก้ลมหทัยวาตแลลมสัตตะวาต  แลลมอันเกิดแต่ปิตตะสมุฏฐาน  เปลือกรู้แก้บิดแลมูกเลือด  กระพี้รู้แก้ดีและบ้าอันเพ้อคลั่ง  แก่นรู้แก้ลมอันทำให้คลื่นเหียนอาเจียนแลลมอันกลัดทวาร  รากรู้แก้เสมหะอันเป็นสนับอยู่ภายในท้อง  แลแก้เสมหะอันติดอยู่ในลำคอให้ตก  ฯ
แกแล  มีรสขม  ชา  ขื่น  รู้บำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติแลบำรุงกำลัง  ฯ
กันเกรา  มีรสมัน  เฝื่อน  ฝาด  ขม  รู้บำรุงมันในร่างกาย  เป็นยาอายุวัฒนะ  ฯ
โกฐกระดูก  ม่รสขม  หวาน  มัน  รู้แก้เสมหะแลลม  แก้หืดหอบ  แก้ลมในกองเสมหะ  บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น  บำรุงกระดูก  ฯ
กรุงเขมา  มีรสสุขุมหอม  รู้แก้ไข้ทุกชนิด  แก้ดีรั่วดีล้น  เป็นยาอายุวัฒนะ  ฯ
แกร  มีรสเผ็ด  หวาน   เย็น  ดอกรู้กำจัดเสียซึ่งเสมหะโลหิตแลวาโย  ฯ
แคฝอย  มีรสฝาด  เฝื่อน  หวาน  รู้แก้ลงท้อง  แก้บวมแก้ตกโลหิต  แก้พยาธิแลแก้ฝีเปื่อยพัง  ฯ
โคกกะสุน  มีรสขื่น  ขม  เค็ม  รู้แก้ทุลาวะสาแลชำระน้ำมูตให้คล่อง ฯ
ครอบจักกระวาฬทั้ง๒  รสจืดเอียน  รู้แก้พิษฝี  แก้พิษกาฬและดับพิษ  ฯ
งา  มีรสฝาด  หวาน  ขม  รู้ทำให้เกิดกำลัง  ลูกรู้กระทำให้ถอยกำลัง  ฯ
จำปา  ใบรู้แก้ไข้อภิญญาณ  ดอกรู้ตั้งโลหิตอันกระทำให้เย็น  แลกระจายโลหิตอันร้อน  เปลือกรู้ตั้งเสมหะในคอ  กระพี้สามารถทำลายซึ่งไข้อันเกิดจากการผิดสำแดง  แก่นรู้แก้กุฏฐัง  ยางรู้แก้ริดสีดวงพลวก  รากรู้แก้โลหิตสตรี ฯ
อำพนทอง  มีรสเอียนคาว  รู้แก้เสมหะแลเสลด  กระทำให้เกิดกำลัง  ฯ
มูตร  มีรสเผ็ด  ร้อน  เค็ม  รู้แก้จุกเสียด  ฟกบวม  แก้หืดไอ  แก้ผอมเหลือง  เจริญไฟธาตุ  แก้ลม  เสมหะและโลหิต  ฯ
ขี้แมลงสาบ  มีกลิ่นสาบ  เหม็น  หอม  รู้แก้พิษอักเสบ  แก้เม็ดยอดตาลทรางแลดับพิษ  ฯ
ยาดำ  มีรสเบื่อ  เหม็น  ขม  รู้ถ่ายลมเบื้องสูง  ให้ลงเบื้องต่ำ  กัดฟอกเสมหะแลโลหิต  ฯ
ยาฝิ่น  มีรสเมา  ขม  สุขุม  รู้คุมธาตุปวดเบ่งแก้ลงท้องและแก้บิด  ดับพิษไข้แลปวดเจ็บทั้งปวง  ฯ
รงทอง  มีรสเอียน  เบื่อ  คลื่น  รู้ถ่ายเสมหะและโลหิต  น้ำเหลือง  ถ่ายโรคในกองลม  ใช้เป็นยาถ่ายกำลังแรง  ฯ
โลดทะนง  รสจืด  ขม  ร้อน   รู้แก้ฝีในท้องแลฝีภายใน แก้กษัยต่างๆ ใช้ฝนทาดับพิษสัตว์ต่างๆ  ฯ
สะไอ  มีรสขม  ฝาด  เฝื่อน  เย็น  รู้แก้บิดแลแก้พยาธิ  ฯ
แก่นแสมสาร  มีรสร้อน  เฝื่อน  ขม  แก้ลมในกระดูก  ละลายเสมหะโลหิตและกษัย  ฯ
สัก  มีรสร้อน  เย็น  เผ็ด  รู้บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูกซึ่งมีอาการอ่อนเพลียละเหี่ยไม่มีแรง  ฯ
หัวเต่าร้าง  มีรสหวาน  เย็น  ขม  รู้ดับพิษอันเกิดแต่ตับ ปอดและหัวใจ  ฯ 
กล้วยไม้  มีรสฝาดเฝื่อน  รู้แก้ลงท้องแก้บวม  ฯ
ต่อไส้   มีรสจืดเจียน รู้ประสานเส้นเอ็นแลขับน้ำเบาให้สะดวก  ฯ
เถาวัลย์เปรียง  มีรสเฝื่อนเอียนรู้ถ่ายเส้นและถ่ายกษัย  แก้เส้นเอ็นขดขาด                                                                                           
                              สรรพคุณยาหมู่                       

ยาหมู่หนึ่ง   ขัดมอนทั่ง ๒ อ้อยแดง   รู้แก้ไข้ครรภ์รักษา   ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  จันทน์เทศ   ขันทศกร  หัวแห้วหมู  โกฐกระดูก  ว่านน้ำ  ขมิ้นชัน  เจตมูลเพลิง  
ตำแยเครือ   ขิงสด   เหล่านี้รู้กระทำให้ฟกบวมยุบลง  ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  รักขาว  ละหุ่ง  แตงกวา   เจตมุลเพลิง  สังข์  รงทอง  จุกโรหินี  พรมมิ  เหล่านี้รู้กระทำให้อุจจาระบริสุทธิ์
ยาหมู่หนึ่ง  น้ำผึ้ง  ซองแมวใหญ่  โลดทะนง  ประยงค์  ผักชี  ยางมะขวิตเหล่านี้รู้แก้โรคอันเกิดแต่กระดูก  ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  มหาหิงคุ์  พริกไทย  ฝักมะขามแก่  เทียนเยาวภานี  ผลรักเทศ  เบญจมูล  เหล่านี้รู้เจริญไฟธาตุ  ฯ                                            
ยาหมู่หนึ่ง  จันทน์หอม  บุนนาค  ชะเอม  แฝกหอม  บัวหลวง  มะกล่ำต้น  อบเชย  เหล่านี้รู้แก้ววัณณโรคแลบาดแผลทั้งปวงหาย  ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  โมกหลวง  กะเบียน  มะตูม  เจตมูลเพลิง  ขิงแห้ง  หัวแห้วหมู  สะค้าน  ตำแยเครือ  ส้มป่อย เทียนสัตบุษ  ขมิ้นอ้อยเหล่านี้  รู้แก้มูลวาตคอ  ลมจุกเสียด  แลรู้แก้ริดสีดวงงอกในทวารหนัก  ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  แก่นตะเคียน  สีเสียด  มะขามป้อม  ลูกรักเทศ  ขมิ้นอ้อย  สมอ  สัตบรรณ์  ลั่นทม ราชพฤกษ์  พิลังกาสา  มะลิลา  เหล่านี้รู้แก้โรคกุฎฐัง  ฯ
ยาหมู่หนึ่ง  แฝกหอม  ราพชฤกษ์  จันทน์เทศ  เมล็ดผักกาด  หัวแห้วหมู  สะเดา  โมกหลวง  ชะเอม สะดือ  เทียนสัตบุษ  ขมิ้นอ้อยเหล่านี้รู้แก้หืดแลฝีทั้งปวง  ฯ

 ยาสรรพคุณมหาพิกัดสมุฎฐาน
   ตริ่ผลา     
       
ถ้าจะแก้เสมหะสมุฎฐาน   เอาสมออัพยา๔   สมอพิเภก๘     มะขามป้อม๑๒  ฯ
ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฎฐาน   เอามะขามป้อม๔   สมออัพยา๓   สมอพิเภก๑๒  ฯ
ถ้าจะแก้วาตะสมุฎฐาน   เอาสมอพิเภก๔    มะขามป้อม๘    สมออัพยา๑๒    ฯ
                                                                        
                                                                          ตริ่กฎก

ถ้าจะแก้เสมหะสมุฎฐาน   เอาพริกไทย๔    ขิงแห้ง๘    ดีปลี๑๒   ฯ
ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฎฐาน   เอาดีปลี๔   พริกไทย๘    ขิงแห้ง๑๒   ฯ
ถ้าจะแก้สมุฎฐาน   เอาขิงแห้ง๔   ดีปลี๘    พริกไทย๑๒   ฯ

พิกัดสมุฏฐาน
ธาตุพิกัด

เตโช  (ไฟ)   เจตมูลเพลิง ๔
อาโป  (น้ำ)   รากช้าพลู ๑๒
วาโย  (ลม)   สะค้าน ๖   พริกไทย ๖
ปฐวี  (ดิน)   ดีปลี ๒๐
อากาศธาตุ  (ว่าง)   ขิงผู้ชาย ๙   ขิงผู้หญิง ๑๐

พิกัดโกฐ

โกฐทั้ง ๕  คือโกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐหัวบัว  โกฐเชียง  โกฐจุฬาลำพา   นี้ชื่อว่าเบญจโกฐ
โกฐทัั้ง ๗  คือโกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐหัวบัว  โกฐเชียง  โกฐกระดูก  โกฐก้านพร้าว  โกฐจุฬาลำพา  นี้ชื่อว่าสัตตะโกฐ
โกฐทั้ง ๙   คือโกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐหัวบัว  โกฐเชียง  โกฐกระดูก  โกฐก้านพร้าว  โกฐจุฬาลำพา  โกฐพุงปลา  โกฐชฏามังสี   นี้ชื่อว่าเนาวโกฐ
โกฐนอกพิกัด ๓  คือ  โกฐกักเกรา   โกฐกลิ้ง   โกฐน้ำเต้า   นี้ชื่อว่าโกฐพิเศษๆ นี้  แพทย์จะแทรกเข้ายาขนานใดๆก็ให้ดูแต่ควรแก่โรค  ฯ

พิกัดเทียน

เทียนทั้ง ๕  คือ  เทียนดำ  เทียนแดง  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนตาตั๊กแตน  นี้ชื่อว่าเบญจเทียน
เทียนทั้ง ๗  คือ   เทียนดำ  เทียนแดง  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนตาตั๊กแตน  เทียนเยาวภานี เทียนสัตตะบุษ   นี้ชื่อว่าสัตตะเทียน
เทียนทั้ง ๙  คือ   เทียนดำ  เทียนแดง  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนตาตั๊กแตน  เทียนเยาวภานี เทียนสัตตะบุษ   เทียนเกล็ดหอย  เทียนตากบ   นี้ชื่อว่าเนาวเทียน
เทียนนอกพิกัด ๓  คือ  เทียนลวด  เทียนขม  เทียนแกลบ  นี้ชื่อว่าเทียนพิเศษ ๆ นี้แพทย์จะประกอบเข้ายาขนานใดๆก็ได้  ให้ดูตามควรแก่โรค 

พิกัดบัว


บัวทั้ง ๕  คือ  บัวสัตตบุษ  บัวสัตตบัน  บัวลินจง  บัวจงกลนี  บัวนิลบล   นี้ชื่อว่าเบญจอุบล
บัวพิเศษอีก ๕  คือ  บัวหลวงท้ง ๒  บัวสัตตบงกชทั้ง ๒  บัวเผื่อน  บัวขม  นี้ชื่อว่าบัวพิเศษ ๆ นี้แพทย์จะประกอบเข้ายาใดๆก็ได้  ให้ดูตามควรแก่โรค 

พิกัดเกลือ

เกลือทั้ง ๕ คือ  เกลือสินเธาว์  เกลือวิก  เกลือพิก  เกลือฝ่อ  เกลือสมุทรี  นี้ชื่อว่าเบญจเกลือ
เกลือนอกพิกัดอีก ๗  คือ  เกลือสุนจละ  เกลือเยาวเกษา  เกลือวิธู  เกลือด่างคลี  เกลือสุกษา  เกลือกะตัง  เกลือสมุทร   นี้ชื่อว่าเกลือพิเศษ  ๆ นี้แพทย์จะประกอบเข้ายาขนานใดๆก็ได้  ให้ดูตามควรแก่โรค


พิกัดโหรา

โหราทั้ง ๕  คือ  โหราอัมพฤกษ์  โหรามิคสิงคลี  โหราบอน  โหราเท้าสุนัข  โหราเดือยไก่  นี้ชื่อว่าเบญจโหรา 
โหรานอกพิกัดอีก ๘  โหราผักกูด  โหราข้าวเหนียว  โหราเขากระบือ  โหราเขาเนื้อ  โหราใบกลม  มโหรามหุรา  มังโหรา  นี้ชื่อว่าโหราพิเศษ ๆ นี้แพทย์จะประกอบเข้ายาขนานใดๆก็ได้  ให้ดูตามควรแก่โรค 

นามพิกัดกระสายยา

ทัสกุลาผล  คือ  ผลเร่วทั้ง ๒  ผลผักชีทั้ง ๒  ชะเอมท้ง ๒  อำพันทั้ง ๒  อบเชยทั้ง ๒  รวม ๑๐  สิ่ง
เนาวโลหะ   คือ  ทองกวาว  ทองหลางหนาม  ทองหลางใบมน  ทองโหลง  ทองพันชั่ง  ต้นใบทอง ขันทองพยาบาท  ทองเครือ  จำปาทอง  รวม ๙ สิ่ง
สัตตโลหะ   คือ  ทองกวาว  ทองหลางหนาม  ทองหลางใบมน  ทองโหลง  ทองพันชั่ง  รวม ๕ สิ่ง ฟักทอง  รวม ๗ สิ่ง 
ปัญจะโลหะ  คือ  ทองกวาว  ทองหลางหนาม  ทองหลางใบมน  ทองโหลง  ทองพันชั่ง  รวม ๕ สิ่ง 
เบญจผลธาตุ  คือ  แห้วหมู  กกลังกา  หญ้าชันกาด  เต่าเกียด  ว่านเปราะ  รวม ๕ สิ่ง
เบญจมูลใหญ่  คือ  รากมะตูม  รากลำใย  รากเพกา  รากแตร  รากคัดลิ้น  รวม ๕ สิ่ง
เบญจมูลน้อย  คือ  หญ้าเกล็ดหอยทั้ง ๒  รากละหุ่งแดง  รากมะเขือขื่น  รากมะเขือหนาม  รวม ๕ สิ่ง
เบญจกูล  คือเจตมูลเพลิง  สะ้ค้าน  ช้าพลู  ขิงแห้ง  ดีปลี  รวม ๕ สิ่ง
เบญจโลกวิเชียร  คือ  รากมะเดื่อชุมพร  รากเท้ายายม่อม   รากย่านาง  รากคนฑา  รากชิงชี่ รวม ๕ สิ่ง 
จตุกาลธาตุ  คือ  ว่านน้ำ  เจตมูลเพลิง  แคแตร  นมสวรรค์  รวม ๔ สิ่ง
จตุผกาธิกะ  คือ  สมอไทย  สมอเทศ  สมอพิเภก  มะขามป้อม  รวม ๔ สิ่ง
จตุทิพยคันธา   คือดอกพิกุล  ชะเอมเทศ  มะกล่ำเครือ  ขิงแครง  รวม ๔ สิ่ง
ตรีสุคนธ์  คือ  ใบกระวาน  อบเชยเทศ  รากพิมเสน  รวม ๓ สิ่ง
ตรีสุระผล  คือ    สมุลแว้ง  เนื้อไม้  เทพทาโร  รวม ๓ สิ่ง
ตรีคันธวาต  คือผลเร่วใหญ่   ผลจันทน์เทศ  กานพลู  รวม ๓ สิ่ง
ตรีทะเวตีคันธา  คือ  ดอกแก่นมะทราง  ดอกแก่นรากบุนนาค  รวมทั้ง ๒ สิ่ง ๆละ ๓  ละ ๓
ตรีกาลพิษ  คือ  รากกระชาย  รากข่า  รากกะเพรา  รวม ๓ สิ่ง
ตรียาณรส  ไส้หมาก  รากสะเดา  เถาบรเพ็ด  รวม ๓ สิ่ง
ตรีผละสมุฏฐาน  ผลมะตูม  ผลยอ  ผลผักชีลา  รวม ๓ สิ่ง
ตรีธารทิพย์  คือรากไทรยอย  รากราชพฤกษ์  รากมะขามเทศ  รวม ๓ สิ่ง
ตรีผละธาตุ  คือรากกะทือ  รากไพร  รากไคร้หอม  รวม ๓ สิ่ง
ตรีเพ็ชธสมคุณ  คือ  หางจรเข้  ฝักราชพฤกษ์  รงค์ทอง  รวม ๓ สิ่ง
ตรีสาร  คือ  เจตมูลเพลิง  สะค้าน  ช้าพลู  รวม ๓ สิ่ง
ตรีกฏุุก  คือ  ขิงแห้ง  พริกไทย  ดีปลี  รวม ๓ สิ่ง
ตรีผลา  คือ  สมอไทย  สมอภิเภก  มะขามป้อม  รวม ๓ สิ่ง
ตรีเสมหะผล  คือ  ผลช้าพลู  รากดีปลี  รากมะกล่ำ  รวม ๓ สิ่ง
ตรีสันนิปาตผล  คือ  ผลดีปลี  รากกะเพรา  รากพริกไทย  รวม ๓ สิ่ง
ตรีสัตตะกุลา  คือเทียนดำ  ผักชีลา  ขิงสด  รวม ๓ สิ่ง
ตรีพิษจักร  คือ  กานพลุ  ผักชีล้อม  ผลจันทน์เทศ  รวม ๓ สิ่ง
ตรีปิตตะผล  คือเจตูลเทศ  ผักแพวแดง  รากกะเพรา  รวม ๓ สิ่ง
ตรีอากาศผล  คือ  รากขิง  รากลำภัก  อบเชยเทศ  รวม ๓ สิ่ง
ธุตรีระวะสะ  คือ  ผลโหระพาเทศ  ผลกระวาน  ผลราชดัด  รวม ๓ สิ่ง
ตรีวาตะผล  คือ  รากพริกไทย  รากข่า  ผลสะค้าน  รวม ๓ สิ่ง 
ตรีทิพยรศ  คือ  โกฐกระดูก  เนื้อไม้  อบเชยไทย รวม ๓ สิ่ง 
ตรีอมฤตย์  คือ  รากกล้วยตีบ  รากมะกอก  รากกะดอม  รวม ๓ สิ่ง 
ตรีฉิมทลามะกา  คือ  โกฐน้ำเต้า  สมอไทย  รงทอง รวม ๓ สิ่ง 
ตรีเกศรามาส  คือ  ผลมะตูมอ่อน  เปลือกฝิ่นต้น  เกษรบัวหลวง  รวม ๓ สิ่ง
ตรีสินธุรศ  คือ  รากมะตูม  เทียนขาว  น้ำตาลกรวด  รวม ๓ สิ่ง
ทะเวสุคนธ์  คือ  รากบุนนาค  รากมะทราง  รวม ๒ สิ่ง


สรรพคุณต่างประเทศ

บ้านนอกเรียก                      ในกรุงเรียก                   บ้านนอกเรียก               ในกรุงเรียก
ลุ่มนก                                     กำแพง ๗ ชั้น                   ขมิ้นฤาษี                         ขมิ้นเครือ
หัวร้อยหู                                 กะเช้าผีมด                       เขาคัน                             เชือกเขาคัน
กะพังโหมตัวผู้                        ตูดหมู                              ใบหูควาย                         ช้าแป้น
กะพังโหมตัวเมีย                    ตูดหมา                             เขม่าไฟใต้ผรา                 หญ้ายองไฟ
ตำเสา                                    กันเกรา                             หญ้าขี้เตรย                      หญ้าเจ้าชู
จิงจ้อใหญ่                              จิงจ้อหลวงใหญ่               ตำแยตัวผู้                         ตำแยแมว
จิงจ้อเล็ก                               จิงจ้อหลวงเล็ก                 จิงจายหรือยวงขนุน         ซ้องแมว
เถาปด                                    เชือกเขาไฟ                     ไม้จวง                              เทพทาโร
แก่นขนุน                                กรัก                                   หนามรอบตัว                   พุงดอ
ขนุนเปียก                               ขนุนละมุด                        หนามเหม็น                         ,,
ฝ้ายผี                                     ชะมดต้น                           พรมดอง                             ,,
ซี่ฟันครกสี                             ครอบจักรวาล                    ยะหมู                               ฝรั่ง
เจตมูลเพร็ชร์                         เจตมูลเพลิงดอกขาว        น้ำเต้า                             ฟักทอง          
หญ้าขิง                                  หญ้าชันกาด                      ขีพร้า                              ฟัก
ผักแว่น                                   บัวบก                                พาจีน                              ฆ้องสามย่าน
ใบลม                                     ใบกะเม็ง                            สามเดือนดอกแดง         บานไม่รู้โรยแดง
เจตมูลย่าน                             บรเพ็ด                               กุนนีดอกแดง                    ,,          ,,
เจตมูลเพลิงแดง                    เจตมูลเพลิง                      ปูนกิน                             ปูนแดง
เจตมูลเพลิงขาว                    เจตมูลเพ็ชร์                       ปูนหิน                            ปูนขาว
สามเดือนดอกขาว                 บานไม่รู้โรยดอกขาว         ใบปัง                             ใบหูกวาง
กุนนีดอกขาว                              ,,          ,,                       ใบหล่มปัง                        ,,           ,,
ใบพิมเสม                               ใบหูเสือ                             ใบหล่ม                          ใบพิมเสน
กำซำ ใหญ่ เล็ก                      มะหวดใหญ่ เล็ก                ทองหลางบก                 ทองหลางใบมน
            ,,                                 สีหวด ใหญ่ เล็ก                น้อยหนัง                        น้อยโหน่ง    
ย่านอิงเหล็ก                          เถาวัลย์เหล็ก                      พาจีน                            ฆ้องสามย่าน
แก้มหมอ                               เหงือกปลาหมอ                  ไม้ไทร                           รกฟ้า
หญ้าระงับ                              หัวใจไมยราพย์                   หัววุ้น                             หัวบุกรอ
หมากหลอด                           สลอด                                สำมะดีงา                       สังงาย
ใยแมลงมุมติดเขม่าไฟ          สมอร่องแร่ง                      ดองปลาหมึก                 ลิ้นทะเล
จำปาขอม                              ลั่นทม                                น้ำเข้า                           เขยตายแม่ยายชักปอก
ไม้ดัด                                     ราชดัด                               รังหมาบ้า                      รังหมาร่า
ไม้ขรี                                      สักขี                                   ไอ้เหนียว                      อีเหนียว 
กล้วยพองลา                          กล้วยตานี                          ไม้ไพ                            กล่ำตาช้าง
ยักขินี                                     ย่านาง                                มะม่วงชูหนวย              มะม่วงหิมพานต์
ไม้ท้าวยายม่อม        ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด ยันธรณี          ลำเพ็ง                           ผักกูดแดง
ไม้ท้าวยายม่อมดอกแดง       ประทุมราชา                       เถาดีปลี                         ประดงข้อ
หมากหมก                              พูมสามย่าน                       มะแว้งดี                         มะเขือพวง   
ไม้ส้าน                                   มะตาดต้น                          ทองหลางน้ำ                 ทองหลางหนาม
กลวยทอง                              กล้วยไข่                             อ้อยช้าง                        ชะเอมไทย
ก้างปลา                                  ปู่เจ้าคาคลอง                     แทงทวย                      ปู่เจ้าลอยท่า
ต้นฝ้ายผี                                 ชมดต้น                              ควายขาว                     กระบือเผือก
โครำ                                       เลียงผา                              หัวว่าว                          กระแตไต่ไม้
สตอเทศ                                 กระถินบ้าน                         สะตอเบา                      กระถินบ้าน
ชะออกดำ                               กะดาษดำ                          ชะออกขาว                    กะดาษขาว 
สุพรรณแดง               กำมะถันแดง  มาตแดง             สุพรรณเหลือง       กำมะถันเหลือง  มาตเหลือง
สะท้อน                                   หมากต้อง                          ดินท้องถ้ำ                     ดินถนำ 
ดินท้องถาน                            ดินถนำ                              ดินท้องซ่วม                  ตุ๊กกะตำ
ย่านตับเต่า                             เถาวัลย์เต่า                         ย่านนาง                        ปู่เจ้าเขาเขียว
วันยอ                                      ปู่เจ้าเขาเขียว                    ชุมเห็ดเทศ                    ผักเค็ด
ผักให                                      มะละขี้นก                           หัวยาจีนแดง                 ยาข้าวเย็นเหนือ,
ส้มมุงมัง                                 ส้มตะลิงปิง                                  "                          ยาข้าวเย็นโคกแดง  
หัวงอ                                      ว่านน้ำ                               หัวยาจีนขาว                  ยาข้าวเย็นใต้
คุระ                                         สมอทะเล                                     "                          ยาข้าวเย็นโคกขาว


สรรพคุณเทียบคุณ

มะขามป้อม                  มีคุณเหมือนกันกับ                   สมอ   แต่หย่อนกว่าสมอหน่อยหนึ่ง
สมอภิเภก                                   "                                 มะขามป้อม
เกลือสินเธาว์                              "                                 สมอ
ผลดีปลี                                       "                                 รากดีปลี
รากเจตมูลเพลิง                         "                                 ดีปลี
ขิง                                                "                                 ดีปลี
ดีปลี                                             "                                 พริกไทย
พริกไทย                                     "                                 ขิง
เปลือกแคขาว                             "                                 เปลอกแคแดง
กะเพรา                                        "                                กะเม็ง,ผักคราด
ดองดึง                                         "                                ทนดี
ยางสลัดได                                  "                                ยางเทพทาโร,รักขาว
สหัศคุณ                                       "                                พาดไฉน
โลดทะนง                                    "                                 เมล็ดสลอด
พาดไฉน                                      "                                 เมล็ดสลอด, อิลุ้ม
เปลือกสะท้อน                             "                                 เปลือกคาง
แก่นประดู่                                    "                                 แก่นมะซาง,แก่นตะเคียน
นมพิจิตร                                      "                                โคกกะออม
โคกกะสุน                                     "                                นมพิจิตร  
โคกกะออม                                  "                                 ดคกกะสุน   
กระเช้าผีมด                                "                                 หนอนตายยาก
กะเทียด                                        "                                 กระเช้าผีมด
หนอนตายยาก                            "                                 กะเทียด   
ลูกจันทน์                                      "                                 กานพลู
แมงลัก                                          "                                 กะเพรา
กาหลง                                          "                                 จิก
ชิงช้าชาลี                                    "                                 บรเพ็ด
เปลือกตาเสือ                               "                                  นนทรี
ผักขวง                                         "                                  ชุมเห็ดไทย 
มะกรูด                                          "                                  ส้มส้า
มะแว้งเครือ                                   "                                  มะแว้งต้น

ผักคราด  กะเพรา  แมงลัก  มีคุณเสมอกัน
เกลือประสะ  เกลือสมุทร  เกลือสินเธาว์  เกลือด่าง  เกลือหุง  มีคุณเสมอกัน
สารส้ม  ด่างสลัดได  ด่างโคกกะสุน  ด่างมะกล่ำตาช้าง  ด่างประยง  มีคุณเสมอกัน
ด่างต้นงา  ด่างหญ้าพันงู  ด่างผักโขมหิน  ด่างส้มป่อย  มีคุณเสมอกัน
ขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  ขมิ้นเครือ  มีคุณเสมอกัน
หญ้าพันงูทั้ง ๒  ผักเสี้ยนผีทั้ง๒  มะไฟเดือน ๕  รากหญ้าปากควาย  มีคุณเสมอกัน
รากไคร้เครือ  มูลกาทั้ง๒  มีคุณเสมอกัน
ลำพันท้ง๒  มีคุณทั้งสอง
น้ำตาลกรวด  น้ำตาลทราย  ขันทศกร  จันทน์ทั้ง๒  ตรีผลา  มีคุณเสมอกัน

สรรพคุณกระสายยา

ดอกจันทน์๑   ขิงสด๑   ข้าวตอก๑   ทั้ง๓ นี้แก้สรรพฉะทิ  ฯ
แฝกหอม๑   ยอดหว้า๑   ยอดมะม่วงพรวน๑   ทั้ง๓ นี้แก้ฉะทิโรค  ฯ
ขิงสด๑   โกฏจุฬาลำภา๑   บรเพ็ด๑   ทั้ง๓ นี้แก้กระหาย  ฯ
เปราะหอม๑   ตำแยเครือ๑   เมล็ดพุดซา๑   ทั้ง๓ นี้แก้สะอึก  ฯ
น้ำตาลกรวด๑   ซองแมว๑  จันทน์เทศ๑   ทั้ง๓ นี้แก้ร้อนกระหาย  ฯ
มะเขือหนาม๑   ผักเค็ด๑   ทรงบาดาล๑   ทั้ง ๓ นี้แก้ไอเพื่อลม  ฯ
โคกกะสุน๑   อ้อยป่า๑   อบเชย๑   ทั้ง๓ นี้แก้ขัดปัสสาวะ  ฯ
ใบเสนียด๑   ดีปลี๑   ขิงสด๑   ทั้ง๓ นี้แก้เสมหะ  ฯ
ตรีกะฏูก๑   มะเขือหนาม๑   ชะเอม๑   ทั้ง๓ นี้แซกตรีชาตะกะน้ำผึ้ง แก้เขฬะไหลเพื่อเสมหะแลกิมิชาติ แก้สุระเภท  ฯ
สะเดาดิน๑   แห้วหมู๑   ขี้กา๑   ผักชี๑   ทั้ง๔ นี้แก้กระหาย  ฯ
โกฐพุงปลา๑   มะเขือหนาม๑    มะเขือขาว๑   บัวหลวง๑    ทั้ง๔ นี้แก้สะอึก  ฯ
คนทีสอ๑   ชะเอม๑   ผักโหมหิน๑   ตำแยเครือ๑   ทั้ง๔ นี้แก้ไอ  ฯ
โคกกะสุน๑    หญ้าแพรก๑   ทั้ง๒ นี้แก้ไอเพื่อเสมหะ  ฯ
มะขามป้อม๑   หญ้าแพรก๑   ทั้ง๒ นี้แก้ไอเพื่อดี  ฯ
สมอ๑   ดีปลี๑   โกฐพุงปลา๑   มะเขือหนาม๑   ทั้ง๔ นี้แก้ไอ  ฯ
รากช้าพลู๑   ขิงสด๑   กระเทียม๑   ดีปลี๑   ทั้ง๔ นี้แก้เสมหะเป็นปกติ  ฯ
ง้าว๑    ดินสุทธิ์๑    น้ำตาลกรวด๑   เปลือกโลด๑   ทั้ง๔ นี้เจริญอาหาร  ฯ
พรรณผักกาด๑   ข้าวตอก๑   ดีปลี๑   สมอ๑   ทั้ง๔ นี้แซกน้ำตาลกรวด แก้ปัญจกาสะโรค  ฯ
ข้าวตอก๑    แฝกหอม๑   ชะเอม๑    อบเชย๑   รากบัวหลวง๑   ทั้ง๕ นี้แก้ร้อนกระหาย  ฯ
ขิงสด๑   เปราะหอม๑   กระเพรา๑   บัวหลวง๑   กระวาน๑   ทั้ง๕ นี้แก้ไอแลหอบ  ฯ
ตรีกะฏูก๑    ตำแยเครือ๑    เปราะหอม๑    ทั้ง๓  นี้แทรกน้ำตาลทราย แก้ไข้เพื่อสันนิบาต  ฯ             
มะตูม๑   คนทีสอ๑    เพกา๑    ซองแมว๑    แคป่า๑    ทั้ง๕ นี้เจริญไฟธาตุแก้เสหะ  ฯ
น้ำผึ้ง๑    ข้าวตอก๑    ชะเอม๑    ดินแดงเทศ๑    ประยงค์๑   ทั้ง๕  นี้เจริญอาหาร  ฯ
ตรีกะฏูก๑    สมอ๑    กะเทียม๑    ผักชี๑    ทั้ง๔  นี้แทรกน้ำผึ้งแก้สรรพเสมหะ  ฯ
มะตูมอ่อน๑    ผักชีลา๑    ขิงสด๑    ข้าวตอก๑    ถั่วเขียว๑    น้ำตาลกรวด๑    ทั้ง๖ นี้แก้สรรพโรค  ฯ 
เทียนทั้ง๒   น้ำตาลทราย๑   จันทร์เทศ๑   ผลเร่วใหญ่๑   อบเชยเทศ๑   ทั้ง๖  นี้แก้สรรพฉทิโรค  ฯ
เยื่อมะขาม๑   ตรีกะฏูก๑   เกลือสินเธาว์๑   น้ำตาลกรวด๑   น้ำผึ้ง๑   ทั้ง๕  นี้แก้สรรพฉทิกาสะบริโภคอาหารมิได้  ฯ

**  คงไว้ซึ่งภาษาที่เขียนไว้ในคัมภีร์ ๒๔๘๔ 

***************** 

       



                
         
     

























 

















































  

           

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น