plant diseases(โรคพืช)

plant diseasesโรคพืชอ่านเพิ่มเติมคลิกที่นี่










หลักการโรคพืช
          โรคพืชวิทยา (Plant pathology) มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ pathos(suffering) หมายถึง การทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บป่วยหรือความเสียหายและlogos (speech) หมายถึง การกล่าวถึง ดังนั้นโรคพืชวิทยาจึงหมายถึง การกล่าวถึงความเสียหายของพืช ส่วนคำว่าโรคพืช(plant disease) หมายถึงพืชที่มีอาการได้รับ ความเสียหาย

          พืชปกติ หมายถึง พืชที่มีสรีรวิทยาต่างๆทำหน้าที่ปกติได้ดีที่สุดตามความสามารถของสายพันธุ์ เช่น การแบ่งเซลล์ การดูดซึมแร่ธาตุอาหาร การสังเคราะห์แสง เป็นต้น

โรคพืช ตามความหมายในพจนานุกรมธรรมดา อธิบายไว้ 2 ความหมายคือ
          1. โรคพืชจะแสดงลักษณะอาการ(symptoms) ออกมาให้เห็นในอาการของพืชที่ได้รับความเสียหาย(malady) การผิดไปจากปกติของพืช(disorder)
          2. การเปลี่ยนแปลงใดๆที่ผิดไปจากพืชปกติ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของพืช โดยแสดงอาการออกมาให้เห็นทางด้านคุณภาพและ/หรือ คุณค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง
          ตามความคิดเห็นของนักโรคพืชต่างๆ ได้ให้ความหมายของโรคพืชไว้ว่า โรคพืชเป็นการเปลี่ยนแปลงขบวนการใช้พลังงานในระบบการดำรงชีวิตของ พืชไปจากปกติ ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พืชทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง
สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases) แบ่งเป็น 2 สาเหตุคือ
          1. สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งมีชีวิต(Biotic pathogen) ได้แก่
               - พวกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไวรอยด์ เป็นต้น
               - พวกที่ไม่ใช่เชื้อโรคแต่ทำความเสียหายให้กับพืช เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ นก แมลง ไร ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
               - พวกที่เป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น



เชื้อสาเหตุที่ทำให้พืชเกิดโรค

ไส้เดือนฝอย

          2.สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต(Abiotic pathogen) ได้แก่
               - สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น ลม ดิน น้ำ เป็นต้น
               - มลภาวะเป็นพิษ เช่น มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน มลพิษจากการเผาหญ้า
               - ปัจจัยทางเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่างของดิน,น้ำ
          โรคพืชนั้นอาจเป็นทั้งโรคที่ติดเชื้อ(Infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อที่มีชีวิตเป็นเชื้อก่อโรค พืชจะมีปฏิกิริยาตอบโต้การติดเชื้อและ สามารถแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆได้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ (Non infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากสาเหตุ นอกเหนือจากโรคติดเชื้อโรคจะไม่สามารถระบาดจากต้นที่เป็นโรค ไปยังพืชปกติได้

ส่วนประกอบของโรค (Disease components)
          ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย
ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่
          1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
          2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
          3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
          4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปียกในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น
                       




   สามเหลี่ยมโรคพืช (Disease triangle)
แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความสำคัญของโรคพืช

ความสำคัญของโรคพืช
          1. Economic importance (ทางด้านเศรษฐกิจ)
               - Destruction-food,feed
               - upplies
          2. Significance of plant health(สุขภาพของพืช)
               - Results-malnutrition(การขาดอาหาร)
               - starvation(การอดอยาก)
               - migration(การอพยพ)
               - death of people+animal(คนกับสัตว์ตาย)
               - change of occupation+social(การเปลี่ยนแปลงของอาชีพ)
          3. Crop losses

ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับพืช
          1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราสนิม,โรคราเขม่าดำ, โรค ergot ของข้าวไรน์และข้าวสาลี, โรคใบไหม้มันฝรั่ง, โรคราน้ำค้างองุ่น, โรคใบจุด สีน้ำตาลข้าว
          2. โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคใบด่างอ้อย
          3. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม
          4. โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ได้แก่ โรครากปม






                                                             โรคพืชที่เกิดจากเชื้้อรา


โรคพืชที่เกิดจากเชื้้อแบคทีเรีย
โรคพืชที่เกิดจากเช้อไวรัส

Mechanism of disease (กลไกของโรคพืช)
          1. Specific ต้องมีความจำเพาะเจาะจง
          2. Site of infection จุดที่เชื้อจะเข้าทำลายได้ตามช่องเปิดธรรมชาติและทางบาดแผลหรือเชื้อสามารถแทงเข้าไปในเซลล์ได้ด้วยตัวของมันเอง
          3. Physiological+biochemical changes การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและทางชีวเคมี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในเซลล์ เช่น การหายใจเร็วขึ้น การคายน้ำ เป็นต้น
          4. Diseased symptoms การพัฒนาการเกิดโรค ตามชนิดของสิ่งที่พืชสร้างขึ้นหรือเชื้อสร้างแล้วปล่อยให้พืช ได้แก่
               - Hyperplasia การกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น
               - Hypertrophy (Hormone auxin) เชื้อไปสร้างทำให้เซลล์บวมใหญ่โตขึ้น จะเห็นเซลล์บวมใหญ่โตขึ้นมา

การจำแนกโรคพืช
          1. การจำแนกโดยอาศัยอาการของพืชที่เป็นโรค จำแนกโดยการใช้อาการของพืชเป็นหลักเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไป เช่น โรครากเน่า โรคใบจุด โรคราสนิม โรคเหี่ยว เป็นต้น การแบ่งดังกล่าว เป็นการซับซ้อนกันโดยชื่อโรคเดียวกันนั้นอาจเกิดจากจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ซึ่งต่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันทำให้ในแง่ของ การปฏิบัติเช่นการควบคุมโรค ไม่ต้องสมบูรณ์ได้
          2. การจำแนกโดยอาศัยส่วนของพืชที่เป็นโรค จำแนกออกเป็นกลุ่มโดยการใช้ส่วนของพืชที่เป็นโรค ได้แก่ โรคที่ผล โรคที่ลำต้น โรคที่ใบ โรคที่ราก การแบ่งแบบนี้ไม่เหมาะกับงาน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะไม่มีส่วนที่แสดงให้ทราบถึงโครงสร้าง สรีรวิทยาของพืชที่เป็นโรคและเชื้อสาเหตุ
          3. การจำแนกโดยอาศัยแบบของพืชที่เป็นโรค เป็นการแบ่งอย่างกว้างๆโดยใช้แบบของพืชเป็นหลัก แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรคของพืชไร่ โรคของผัก โรค ของไม้ผล โรคของป่าไม้ โรคไม้ดอกไม้ประดับ โรคของสนามหญ้า เป็นต้น
          4. การจำแนกโดยอาศัยความเสียหายและการแพร่ระบาดของโรค การทำความเสียหายของพืชแต่ละชนิดกันจะมีความแตกต่างกัน โรคบางชนิดจะทำลายพืชให้ตายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ ทำความเสียหายแก่พืชอื่นเลย โรคที่ทำความเสียหายให้มากที่สุดนอกจากจะทำให้พืชตายหรือลดผลผลิต ให้ต่ำลงแล้วยังต้องแพร่ระบาดจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นอื่น ท้องที่อื่นๆอีกด้วย การแบ่ง แยกโรคลักษณะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมมือในชาติและ ระหว่างชาติในการป้องกัน
          5. การจำแนกโดยอาศัยแบบของสาเหตุของพืชที่เป็นโรค ได้แก่โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
                         
          Microbial pathogen จุลินทรีย์ที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรค
          Free living หมายถึง จุลินทรีย์ที่หากินอย่างอิสระ
          Symbiotis หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันโดยต้องพึ่งพาอาศัยกัน
          Saprotrophs หมายถึง เชื้อโรคที่ชอบอาหารจากเศษซากพืช ซากสัตว์หรือสิ่งที่ตายแล้ว
          Necrotrophs หมายถึง เชื้อโรคที่ชอบสิ่งที่ตายแล้วกินอาหารจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว
          Biotroph หมายถึง เชื้อโรคตามธรรมชาติ ได้รับอาหารจากเนื้อเยื่อบนสิ่งมีชีวิต
          Parasitic หมายถึง การที่สิ่งมีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันโดยที่พวกหนึ่งได้ประโยชน์อีกพวกหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น กาฝากบนต้นมะม่วง
          Mutualistic หมายถึง สิ่งมีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันโดยที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
          Parasite(ปรสิต) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนหรือในสิ่งมีชีวิตอื่นโโยได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตนั้นเพื่อการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์
          Pathogen(เชื้อโรค) หมายถึง เชื้อโรคที่เป็นปรสิตที่ทำให้พืชเป็นโรค เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสและมายโคพลาสมา เป็นต้น
          Host-Pathogen interaction ปฏิกิริยาสัมพันธ์ของพืชอาศัยกับเชื้อโรค เชื้อโรคสามารถทำให้พืชเป็นโรคได้อย่างกว้างขวางหรืออาจทำให้พืชเป็นโรค แค่บางส่วนของพืช ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของเชื้อที่เป็นสาเหตุและการเป็น โรคยาก,ง่ายของพืชซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม

ประวัติโรคพืชวิทยา  (History of plant pathology)

          ประวัติของโรคพืชวิทยานั้น แบ่งออกเป็น 4 ยุคด้วยกันคือ
          1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 
          สมัยเฮบรู  (Hebrews) พบการระบาดและเสียหายของโรคใบไหม้ (blast) ราสนิม (rust) และmildew
          สมัยกรีก  (Greeks) ประมาณ 500-320 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีนักปรัชญา 2 ท่านได้ให้ความสนใจพืชและเขียนเรื่องกับโรคพืชไว้คือ
               Theophrastus (370-286 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นคนแรกที่ได้ศึกษาและเขียนเรื่องเกี่ยวกับโรคของต้นไม้ ธัญพืชและถั่วต่างๆ ในหนังสือ Histria Plantarum พบว่าพืชแต่ละชนิดเป็น โรคเฉพาะอย่างพันธุ์ที่แตกต่างกันก็เป็นโรคง่ายแตกต่างกัน
          Aristotle สนใจโรคราสนิมของธัญพืช
          สมัยโรมัน(Roman) ประมาณ 320 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. 475โรคพืชที่รู้จักกันในสมัยนั้นได้แก่ โรคราสนิมของข้าวสาลี และบาร์เลย์

          2. ยุคก่อนโรคพืชปัจจุบัน
          ยุคนี้เริ่มตั้งแต่คริสตวรรษที่ 17 ในปีค.ศ. 1705
          Joseph P. de Tournefort ชาวฝรั่งเศสได้จำแนกโรคพืชไว้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ สาเหตุของโรคที่เกิดจากภายนอกและสาเหตุที่เกิดจากภายในซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจำแนกและได้มีการ ศึกษาโรคต่อมาโดยจัดโรคไว้เป็นชั้น(class),สกุล(genera),และชนิด(species)
          M.Adamson(1763) ได้จัดลำดับโรคพืชไว้เป็น2ชั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดจากภายในหรือภายนอก
          Johann C. Fabricius (1774) ได้ตีพิมพ์การจำแนกโรคพืช โดยปรับปรุงหนังสือของ Adamson โดยใช้อาการของโรคเป็นหลัก

          3. ยุคเริ่มต้นโรคพืชวิทยาปัจจุบัน
          การค้นพบกล้องจุลทรรศน์ในกลางคริสตวรรษที่ 18 เป็นการเปิดทางไปสู่การค้นคว้าวิทยาศาสตร์ชีวภาพสมัยใหม่
          ในปี ค.ศ. 1729 Piera A.Micheli ศึกษากล้องจุลทรรศน์และพิสูจน์ว่าสปอร์เกิดจากเชื้อรา
          Mathiew Tillet (1755) แสดงให้เห็นว่าโรคนั้นติดต่อกันได้และยังได้แสดงด้วยว่าโรคสามารถทำให้ลดลงได้ด้วยการคลุกเมล็ด
          ในปี ค.ศ. 1807 Isaac B. Prevost พิสูจน์และสรุปว่าโรคของข้าวสาลีเกิดจากเชื้อรา และเป็นผู้ที่วางรากฐานโรคพืชวิทยายุคของโรคที่เกิดจากเชื้อเป็นสาเหตุ

          4. ยุคโรคพืชวิทยาปัจจุบัน
               4.1 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
               ในปี ค.ศ. 1853 Heinrich Anton de Bary ได้สรุปจากการศึกษาโรคราสนิมและราเขม่าดำของข้าวสาลีที่เป็นโรคว่าเกิดจากเชื้อราและค้นพบว่าโรคราสนิมมีพืชอาศัย2ชนิดสลับกัน ต่อมาได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาโรคพืชวิทยาปัจจุบัน
               ในปี ค.ศ. 1882 Pierre Marie Alexis Millardet ได้ค้นพบยาบอร์โด Bordeaux mixture ซึ่งเป็นส่วนผสมของจุนสี(copper sulfete)กับปูนขาว สามารถป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างของ องุ่นได้
               4.2 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย
               ในปี ค.ศ.1876 Louis Pasteur และ Robert Koch ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโรค anthrax ในกระบือมีสาเหตุจาก Bacillus anthracis
               ในปี ค.ศ. 1878 Burrill เป็นคนแรกที่พบว่าอาการโรค fire blight ที่เกิดขึ้นกับ apple, pear และ stone fruit อื่นๆ มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Erwinia amylovora
               ในปีค.ศ. 1895 Erwin F.Smith เป็นผู้ทดลองและพิสูจน์ว่าแบคทีเรียทำให้เกิดโรคกับพืชได้จริงต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
               4.3 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากวิสา
               ในปี ค.ศ. 1886 Adolf Mayerได้ทดลองถ่ายทอดโรคใบด่าง(mosaic)ของยาสูบและพบว่าน้ำคั้นสามารถทำให้เกิดโรคได้
               ในปี ค.ศ. 1982 Dimitri Iwanowski ได้ทำการทดลองโรคใบด่างยาสูบซ้ำจากที่ Mayer เคยทำไว้ เขาเชื่อว่าสาเหตุของโรคนั้นเกิดจากสารพิษที่แบคทีเรียขับถ่ายออกมาหรือเป็น แบคทีเรียขนาดเล็กที่สามารถผ่านเครื่องกรองแบคทีเรีย
               ในปี ค.ศ. 1898 Martinus Willem Beijerinck เป็นคนแรกที่สรุปว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใบด่างของยาสูบนี้ ไม่ใช่เชื้อจุลินทรีย์ แต่เป็นวิสา วิสาเข้าทำให้เนื้อเยื่อของพืชที่อ่อนเป็น โรคได้รวดเร็วกว่าเนื้อเยื่อที่แก่กว่า
               ในปี ค.ศ. 1935 Stanley ได้สกัดผลึกโปรตีนของวิสาจากน้ำคั้นพืชที่เป็นโรคใบด่างยาสูบ และเขาสามารถทำให้พืชปกติเป็นโรคได้ด้วยการปลูกด้วยโปรตีน และสรุปว่าวิสาเป็น ปฏิกิริยาของโปรตีนสามารถทวีจำนวนได้ภายในเซลล์ที่มีชีวิต
               ในปี ค.ศ. 1936 Bawden อธิบายว่าผลึกของวิสาที่เตรียมได้นั้นประกอบด้วยโปรตีนและกรดนิวคลอิค(nucleic acid)
               4.4 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย
               ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1743 โดย Turbevill Needham พบว่าสาเหตุโรครวงหงิกของข้าวสาลีเกิดจาก Anguina tritici
               ในปี ค.ศ.1907 N.A. Cobb ได้ศึกษาและพัฒนาเทคนิกวิธีการต่างๆในการศึกษาไส้เดือนฝอยตั้งแตการเก็บตัวอย่างจากดิน การเตรียมสไลด์โดยใช้บาลซัม(balsam) เป็นต้น
               4.5 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากโปรโตซัว
               ในปี ค.ศ. 1909 A.Lafont ได้รายงานเป็นครั้งแรกว่าพบเชื้อโปรโตซัว แต่ไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากไม่สามารถแยกมาเลี้ยงให้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ได้
               ในปี ค.ศ. 1931 Stahel พบว่าโปรโตซัวเป็นสาเหตุโรค phloem necrosis ของกาแฟ
               4.6แนวทางโรคพืชที่เกิดจากมายโคพลาสมา
               ในปี ค.ศ. 1967 ได้มีรายงานการพบเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคือ Y. Doi โดยพบเชื้อรูปร่างไม่แน่นอนทำให้หม่อนมีต้นแคระแกรน ต้นพุ่มแจ้ของมันฝรั่ง และต้น เหลืองของแอสเตอร์ซึ่งมีเพลี้ยกระโดหรือเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ
               ต่อมา T. Ishiie ยังพบว่าปฏิชีวนะสารเตตราไซคลินหรือ Chlorotetracycline สามารถยับยั้งอาการของโรคได้ชั่วคราว
               4.7 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากไวรอยด์
               ปี ค.ศ. 1971 Diener พบไวรอยด์เป็นสาเหตุของโรคมันฝรั่งหัวเล็กยาว (potato spindle tuber)
               4.8 แนวทางโรคพืชที่เกิดจากริคเคทเซีย
               ริคเคทเซียสาหตุโรคพืชพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 ในphloem ของโรค clover club leaf disease

ประวัติโรคพืชในประเทศไทย
          โรคพืชในประเทศไทยเป็นที่สนใจครั้งแรกเนื่องจากเกิดโรครากเน่าของพริกไทยดำระบาดทำความเสียหายอย่างร้ายแรงในจังหวัดจันทบุรี
          ในปี พ.ศ. 2478 ม.จ. สิทธิพร กฤษฎากร อธิบดีกรมการกสิกรรมได้ตั้งแผนกโรคพืชวิทยา โดยทำการศึกษาทดลองโรคเน่าของพริกไทยที่ ตำบลเขาวัง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
          ในปี พ.ศ. 2480 ดร.ก่าน ชลวิจารณ์ เพิ่งสำเร็จการศึกษาจาก B.Sc. จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (UPLB) ได้ย้ายกิจการของโรควิทยามาตั้งที่กรมกสิกรรม(บริเวณวังกรมพระยากำแพง เพชรเดิม)และมีห้องปฏิบัติการเป็นครั้งแรก
          ในปี พ.ศ. 2486 ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แต่ยังไม่มีการตั้งภาควิชา
          ในปี พ.ศ. 2487 ตั้งแผนกปราบศัตรูพืชเพื่อปราบโรคและแมลง โดยขึ้นกับกองการข้าว
          ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งแผนกกีฏวิทยาและโรคพืชที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          ในปี พ.ศ. 2498 ตั้งหัวหน้ากองอุตสาหกรรมพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม
สถาบันการศึกษา
          1. ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          2. ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          3. ภาควิชาอารักขาพืช มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          4.ภาควิชาอารักขาพืช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          5.ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหงและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          6.คณะเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
          7.สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

อาการโดยทั่วไปของโรคพืช (General symptoms of plant disease)
          Sign หมายถึง สัญญาณของตัวเชื้อที่พบอยู่บนอาการหรือเป็นสิ่งที่เชื้อสร้างขึ้นมา
          Symptom หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของพืชที่เกิดเนื่องมาจากตัวการใดตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคขึ้นมาโดยมี sign บอก
การจำแนกตามอาการ ได้แก่
          1. จำแนกตามลักษณะกับการปรากฏของเชื้อบนส่วนของพืชที่เป็นโรค เช่น
               - Mildew ลักษณะเส้นใยของเชื้อราฟูๆ
               - Rust ลักษณะผงสนิมสีน้ำตาลแดง
               - Smut ผงเขม่าดำของสปอร์
               - Tar spot จุดสีดำ มันๆ
          2. จำแนกตามการที่เชื้อไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพืช ได้แก่
               - การเปลี่ยนสี : Cholosis,Chromosis,Eticlation
               - Over growth หรือ Hypertrophy(Hyperplasia) : Cell disivion, Hypertrophy cell enlargement,Gall,Curl,Witches’broom,Hairy root
               - Atrophy หรือ Hypoklasia หรือ Dwarfing
               - Necrosis : Spot,Streak,Stripe,Blight,Burn,Scold,Scroch,Canker,Rot,Damping off
               - Wilt
               - Die back
               - Miscellaneous 
การพัฒนาของโรคพืช  (Disease Development)

          1. Disease Cycle (วงจรการเกิดโรค) /Infection cycle(วงจรการเข้าทำลายของเชื้อโรค) /Life cycle(วงจรชีวิตของเชื้อโรค)
          2. Infectious Didease
               - Arrival of inoculum ส่วนใดส่วนหนึ่งของเชื้อโรคที่จะตกลงบนพืช เช่น spore,mycellium หรือส่วนอื่นที่ทำให้เกิดโรคได้
               - Entry of pathogen into host+infection เชื้อโรคต้องเข้าไปสู่ภายในพืชเพื่อตั้งรกราก หาอาหาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพืช
               - Produce of inoculum-Releaseผลิตส่วนของเชื้อโรคเพิ่มขึ้น(inoculum)ใหม่และปลดปล่อย
               - Dispersal of inoculum การแพร่ระบาด แพร่กระจายในระยะไกลๆของ inoculum
          3. Phases of infection cycle or phase of disease cycle (วงจรการเกิดโรค)
               - inoculation (การปลูกเชื้อ)
               - infection (การติดเชื้อ)
               - incubation (การฟักตัว)
               - latent (การแฝงตัว)
               - infectious (การติดต่อ)
               - dispersal (การระบาด)
          4. inoculation (การปลูกเชื้อบนพืช) เป็นขบวนการที่เชื้อถูกนำไปสัมผัสกับพืช
          5. portal of entry (ช่องทางที่เข้าทำลาย)
               - host specificity (มีความจำเพาะเจาะจงของชนิดพืช): organ tissue บางชนิดจะเฉพาะเข้าทำลายเฉพาะอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช
               - host age (อายุ): root elongation(ช่วงที่พืชยืดตัว),immature leaf(ช่วงใบอ่อน)
               - natural surface(ส่วนที่ผิวของพืช) : cuticle,cell wall, bark,hair
               - wound (แผลเป็น): natural : leaf scar(ใบหลุดออกมา),rupture(การแตกสลาย)
                                        : artificial : insect,animal,hail
               - natural opening (ช่องเปิดธรรมชาติ) : stomata,hydrathode,lenticel
          inoculum : Any part of the pathogen that cause infection(ส่วนของเชื้อ) แบ่งเป็น
               1. primary infection คือ inoculum ครั้งแรกที่เชื้อโรคต้องการเข้าทำลายพืช ที่เริ่มต้นฤดู
               2. secondary infection คือ inoculum ครั้งที่ 2 ที่เกิดจาก inoculum ครั้งแรก

Type of disease cycle (ชนิดของวงจรการเกิดโรค)
          1. monocyclic disease ในหนึ่งฤดู เชื้อจะเข้าทำลายครั้งเดียวและไม่เข้าทำลายได้อีกในระยะหลัง เชื้อจะเข้าทำลายได้จาก primary inoculum: เช่น โรคเขม่าดำของข้าวโพด (smut corn)
          2. heterocyclic disease โรคที่เชื้อต้องการพืชอาศัย สองชนิดในการทำให้เกิดโรค : ราสนิมของข้าวสาลี(rust-wheat)
          3. polycyclic disease มีวงจรการเกิดโรคได้หลายๆครั้งในหนึ่งฤดู เกิดเนื่องจาก secondary inoculum : เช่นโรคใบไหม้ข้าวโพด blight-corn

Source of inoculum (แหล่งของเชื้อโรค)
          ได้แก่ เมล็ด,เศษซากพืช,ดิน,พืชที่เป็นโรค,แมลง และส่วนขยายพันธุ์ของพืชกลไกการเข้าทำลายพืช
          1. แรงกด  (mechanical force) :เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ปรสิตของพืช จะสร้าง appressorium,hautoria,stylet แทงเข้าไปในพืช
          2. Chemical weapons of pathogen
               2.1 อาศัยเอนไซม์ ได้แก่
               - เอนไซม์ที่สลายผนังเซลล์(degrade cell wall) เช่น cutin ถูกย่อยโดยเอนไซม์ cutinase,cellulose ถูกย่อยโดยเอนไซม์ cellulase,lignin ถูกย่อยโดยเอนไซม์ ligninase
               - degrade plant substance เช่น protein ถูกย่อยโดยเอนไซม์ protenase,starch ถูกย่อยโดยเอนไซม์ amylase,lipid ถูกย่อยโดยเอนไซม์ lipase
               2.2 Toxins – เป็นสารอะไรก็ได้ที่ไปรบกวนการทำลายของพืช เป็นพิษกับพืชและทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างสารที่จำเป็นของพืช เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโต
               Toxins แบ่งเป็น
               1. Non-specific toxins คือ toxins ที่ผลิตได้มากกว่าหนึ่งชนิด ไม่เจาะจง เชื้อใดก็สร้างได้ สามารถทำให้เกิดโรคบนhost หรือ non-hostได้ เช่นPiricularin เกิดจาก Piricularia oryzae
               2. Specific toxins คือ สารที่ได้จาก metabolism ของจุลินทรีย์สาเหตุโรคที่มีพิษเฉพาะกับพืชอาศัยเท่านั้น เช่น victorin เกิดจาก Helminthosporium victoriae

               สารควบคุมการเจริญเติบโต (Growth regulators)
               สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารประกอบที่มีปฏิกิริยาเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมากที่สุดได้แก่
               1. Auxin ที่อยู่ในพืชตามธรรมชาติเป็น IAA มีผลเกี่ยวกับพืช คือ ส่งเสริมการเจิญของเซลล์พืชด้านยาว,ทำให้ความสามารถการไหลผ่านของของเหลวเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ลดลง, ทำปฏิกิริยากับฟีนอล ทำให้ระดับของ IAA ลดลง เป็นต้น พืชหลายชนิดที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส จะมีระดับ IAA สูงขึ้น แต่ไวรัสบางชนิดก็ทำให้ระดับ IAA ลดลงได้
               โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้มันฝรั่ง,โรคเขม่าดำข้าวโพด
               โรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น โรคเหี่ยว
               โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เช่น โรคปุ่มปม
               2. Cytokinins เป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อการเจริญเติบโต และให้เซลล์เจริญแตกต่างกัน ปฏิกิริยาของ Cytokinins จะเกิดขึ้นได้ต้องมี IAA ร่วมอยู่ด้วย ทำให้เซลล์ขยายใหญ่และมีการ แบ่งตัว เช่น โรคใบไหม้ของข้าวโอ๊ต Helminthosporium สร้างสารพิษ victorin โรคจะรุนแรงขึ้นเมื่อมี Cytokinin โดยจะไปเพิ่มปริมาณของสารพิษมากขึ้น

กลไกการป้องกันโรคของพืช (Defend machanism of plant)
          1. การป้องกันของพืชทางโครงสร้าง  (Structural defense)
               1.1 โครงสร้างป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายพืช (Preexisting defense struture)
               ผิวเป็นส่วนแรกของพืชที่เป็นเกาะป้องกันการเจาะผ่านของเชื้อ ลักษณะของโครงสร้างคุณสมบัติและปริมาณของส่วนประกอบเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการป้องกันตัวของพืชดังนี้
               - ขี้ผึ้งที่คลุมใบและผลป้องกันหยดน้ำเกาะติดผิวพืช ทำให้สปอร์ของเชื้อราที่อยู่บนผิวพืชไม่งอกหรือแบคทีเรียมีความชื้นไม่พอในการเพิ่มจำนวน
               - ขนของผิวพืชที่หนาแน่น ทำให้หยดน้ำไม่เกาะติดผิวพหรืออยู่ไม่ได้นานมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
               - ความหนาของ cuticle อาจทำให้มีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น
               - ความหนาและความเหนียวของผนังด้านนอกเซลล์ epidermis ทำให้เชื้อราเจาะผ่านเข้าสู่พืชไม่ได้
               - ความเหนียวและหนาของผนังเซลล์เนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำ อาหารพืช
               - ชนิดและโครงสร้างของปากใบ ปากใบที่มีช่องแคบ จะทำให้พืชต้านทานต่อโรคที่เกิดจากแบคทีเรียและเชื้อราที่เจาะผ่านพืชได้
               1.2 โครงสร้างป้องกันโรคหลังเชื้อเข้าสู่พืช (Disease structures formed after infection)
                    1.การป้องกันที่เกิดจากโครงสร้างเนื้อเยื่อ ได้แก่ เนื้อเยื่อประกอบด้วยเซลล์เจริญเป็นชั้นcork ,เนื้อเยื่อแตกปริออก,การเกิด lyloseในท่อ xylem,การสะสมยางเหนียวของเนื้อ เยื่อพืชสร้างยางเหนียวขึ้นบริเวณรอบแผล
                    2. การป้องกันเกิดจากโครงสร้างของเซลล์ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนปลงทางสัณฐานของผนังเซลล์ โดยอาจยับยั้งการแทงผ่านและการตั้งรกรากของเชื้อหรือเกิดเป็นปลอกหุ้ม เส้นใยของเชื้อที่เริ่มแทงผ่านเซลล์ปลอกที่หุ้มเกิดจากการขยายตัวของผนังเซลล์
                    3. การป้องกันเกิดจากปฏิกิริยาของ cytoplasm ของเซลล์
                    4. เกิด Hypersensitivity (Hypersensitivity reaction)
                    5. พืชขาด antigen ที่เป็นสมบัติเฉพาะเหมือนกับ antigen ของสายพันธุ์เชื้อสาเหตุโรค
          2. การป้องกันของพืชทางเคมี (Biochemical defense)
               ได้แก่ การป้องกันที่มีอยู่ก่อนเชื้อโรคเข้าสู่พืช(Preexisting biochemical defense)
               - พืชปล่อยสารยับยั้งการเจริญของเชื้อออกมาทางผิวพืช รากและใบ
               - พืชมีสารยับยั้งการเจริญอยู่ในเซลล์ เช่น สารประกอบฟีนอลต่างๆที่มีพิษต่อเชื้อสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ เช่น โรคscabของมันฝรั่ง
               - พืชขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อเชื้อโรค
               - พืชมีอัตราการหายใจเปลี่ยนไป
               - พืชมีการเปลี่ยนแปลง pathwayของการสังเคราะห์ต่างๆ
               - พืชมีปฏิกิริยาแบบ Hypersensitivity (Hypersensitivity reaction) มีการตายของเซลล์อย่างรวดเร็ว เกิดเป็นสีน้ำตาลและเชื้อนั้นตายไปด้วย ทำให้เชื้อไม่สามารถระบาดลุกลาม ไปบริเวณอื่นได้

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชอาศัยกับปรสิต (Host-parasite interaction)
                
กลไกธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของพืช
          - Hybridization
          - Mutation
          - Cycloplasmic inheritance
ชนิดของพืชต้านทาน (Type of plant resistance)
          1. Vertical RES (Specific) : ข้อดี ให้ความต้านทานสูง
                                  : ข้อเสีย ได้แค่เฉพาะเชื้อและสูญเสียความต้านทานง่าย
          2. Horizontalres (General) : ข้อดี ต้านทานเชื้อได้หลายเชื้อและอายุได้นาน
                                  : ข้อเสีย ความต้านทานต่ำ
Gene-For-Gene Hypothesis
          ในปี ค.ศ.1942 Flor พบความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับพืชอาศัย โดยพบในป่านมียีนต้านทานและพบยีนที่ทำให้เกิดโรคด้วย
          สมมุติฐาน การที่เชื้อสามารถทำให้เกิดโรคได้จะต้องมีgene ที่รุนแรงในทางกลับกันหากเชื้อโรคมีgeneที่อ่อนแอ ก็จะทำให้ไม่เกิดโรค
          การที่เชื้อสามารถต้านทานโรคได้จะต้องมีgene ต้านทานและในทางตรงกันข้ามถ้าเชื้อโรคมีgeneที่ไม่ต้านทานก็จะทำให้เกิดโรคได้
การนำพันธุวิศวะมาใช้ประโยชน์ทางโรคพืช
          1. เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อต่างๆ
          2. เพื่อปรับปรุงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดียิ่งขึ้น  (ใช้ในการควบคุมทางชีว)
          3. เพื่อปรับปรุงเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคให้มีความรุนแรงและจำเพาะสูงในการเข้าทำลายวัชพืชและแมลงศัตรูพืช
          4. การใช้สาเหตุโรคพืชเป็นพาหะgene ที่ต้องการเข้าสู่พืช เช่น gene Arobacterium
การหา gene ที่เหมาะสมและแนวทางในการควบคุมโรคพืช
          1. gene ที่ควบคุมการสร้างสารฆ่าแบคทีเรีย
          2. gene ที่ควบคุมการสร้างสารฆ่าเชื้อรา
การใช้เชื้อสาเหตุโรคพืชเป็นพาหะในพันธุวิศวกรรมพืชชั้นสูง
          1. Caulimovirus
          2. Germinivirus

      แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
( Plant Diseases Caused by Bacteria)
ประวัติการศึกษาโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย 
(History of plant pathogenic bacteria)

          ค.ศ. 1683 Antonie van Leeuwenhoek ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ทำให้มองเห็นแบคทีเรียเป็นครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นยังมีความเชื่อในทฤษฎี spontaneous generation กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองในปี 1861 Louis Pasteur จึงพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
          ค.ศ.1876 Louis Pasteur และ Robert Koch ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโรค anthrax ในกระบือมีสาเหตุจาก Bacillus anthracis ซึ่งต่อมานักโรคพืชได้นำวิธีการ ทดสอบการทำให้เกิดโรคจากแบคทีเรียมาใช้ในการศึกษาโรคพืช และเรียกชื่อหลักการนี้ว่า Koch’s Postulation
          ค.ศ. 1878 Burrill เป็นคนแรกที่พบว่าอาการโรค fire blight ที่เกิดขึ้นกับ apple, pear และ stone fruit อื่นๆ มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ต่อมามีรายงานโรคพืช อีกหลายโรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช (Father of phytopathogenic bacteria) คือ Erwin F.Smith ที่เขียน ตำรา Bacteria in Relation to Plant Diseases Vol.1-3 และตำรา Introduction to Bacterial Diseases of Plants ซึ่งชื่อของ Erwin ได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อยีนัส Erwinia นั่นเอง โรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่สำคัญที่พบในยุคแรกๆ ได้แก่ crown gall, bacterial wilt ของแตงและกูลกะหล่ำ และ solanaceous crops การค้นพบโรคพืช ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียมีอีกจำนวนมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีรายงานการพบโรคพืชใหม่ๆที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย จุดที่นับว่ามีความสำคัญในการเปลี่ยน โฉมหน้าวิชาโรคพืชให้ก้าวสู่ยุคของ Molecular Plant Pathology เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1970 โดย Agrobacterium tumefaciens ซึ่งเป็นสาเหตุโรค crown gall ปล่อยสาร พันธุกรรมที่มีชื่อเรียกภายหลังว่า Ti-plsmid เข้าไปในเซลล์พืช และมีผลทำให้พืชเกิดโรค จากการค้นพบอันนี้ นับว่าเป็นการเปิดศักราชของวิชาโรคพืชให้เข้า สู่การศึกษาในระดับโมเลกุลโดยต่อมามีการปรับปรุงและนำเอา Ti-plsmid มาดัดแปลงโดยการใช้ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรม ทำให้ Ti-plsmid กลายเป็นพาหะ (cloning vehicle) ที่สำคัญในการนำเอายีนเข้าสู่ต้นพืชเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมตามต้องการ
          ค.ศ. 1972 Windersor และ Black พบแบคทีเรียที่อาศัยในท่ออาหาร (phloem-inhabiting bacterium) เป็นครั้งแรกที่เป็นสาเหตุโรค club leaf ของต้น clover นอกจากนี้ยังพบจุลินทรีย์ในท่อน้ำ (xylem-inhabiting bacterium) ของต้นองุ่นที่เกิดโรคที่เรียกว่า Pierce’s disease (Xylella fastidiosa), ต้น alfafa ที่มีลักษณะ แคระแกรน (dwarf), ต้นท้อเกิดโรค phony peach disease, อ้อยที่เกิดโรค ratoon stunting (Clavibacter xyli) และต้นส้มที่เกิดโรค greening (Phytoplasma)
ลักษณะของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช (Characteristics of phytopathogenic bacteria)
          1. เซลล์เป็นแบบเดี่ยว นิวเคลียสไม่มีเยื่อ nuclear membrane หุ้ม เรียกว่า nucleoid 
          2. องค์ประกอบภายในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสร้างและสังเคราะห์โปรตีน ที่มีชื่อว่า ribosomes เป็นชนิดที่เรียกว่า 70 S (S = Svedberg unit เป็นค่าคงที่ของการตกตะกอน)
          3. ภายในเซลล์ไม่มี mitochondria สำหรับสร้างพลังงานให้กับเซลล์แต่มีโครงสร้างที่เรียกว่า mesosome ซึ่งเกิดการพับซ้อนของเยื่อหุ้ม cytoplasm ที่ทำ หน้าที่เก็บพลังงานแทน
          4. ทวีจำนวนโดยการแบ่งตัว binary fission

 

ลักษณะของแบคทีเรียโรคพืช
          1. Rod-shaped ยกเว้น Streptomyces sp.
          2. Non-spore forming ยกเว้น Streptomyces, Bacillus, Clostridium, coryneform bacteria (Corybactrium, Arthrobacter, Claribacter, Curtobactrium, Rhodococcus) 
          3. แกรมลบ ยกเว้น Streptomyces sp. และ coryneform bacteria
          4. Aerobes ยกเว้น Erwinia facultative
          5. ส่วนใหญ่เป็น soil borne และ facultative parasites
          6. มี 7 genera ที่สร้าง pigment
          7. ส่วนใหญ่มี slime layer/capsule
          8. มี flagella (ยกเว้น Streptomyces sp., E.stewartii, coryneform bacteria) ที่ยาวกว่าขนาดของเซลล์
          9. เป็น intercellular bacteria (ทวีจำนวนระหว่างเซลล์, ไม่ penetrated cell wall/protoplast พืช, เป็น parasite ใน extracellular) ยกเว้น Agrobacteria, Rhizobium
          10. ไม่เป็น acid-fast staining (กรดล้างสีไม่ออก) ยกเว้น Curtobacterium sp.


           เซลล์แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช

ประกอบด้วยส่วนต่างๆและโครงสร้างที่สำคัญต่อบทบาทในการทำให้เกิดโรคพืชดังนี้
          1. ส่วนชั้นผิว  (Cell surface complex)
               1. Cell envelope: หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่หุ้มโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆที่อยู่ภายในเซลล์ทั้งหมด ได้แก่
                    1.1 Plasmic membrane หรือ cytoplasmic membrane หรือ inner membrane 
                    1.2 Peptidoglycan : เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่เสมือน cell wall ของแบคทีเรีย
                    1.3 Outer membrane: เป็นโครงสร้างที่พบในเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบเท่านั้น ประกอบด้วย lipopolysaccharide (LPS), lipoprotein, phospholipid และโปรตีนต่างๆซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรตีนลำเลียง (transport protein) และ receptor
                2. Periplasmic space: เป็นช่องว่างระหว่างชั้น peptidoglycan และ outer membrane เป็นชั้นที่มีโปรตีนหลายชนิดที่เป็นเอนไซม์ 
               3. Capsule /slime layer ประกอบด้วย polysaccharides บางครั้งเรียกว่า extracellular polysaccharide (EPS) โครงสร้างนี้ช่วยป้องกันเซลล์และมี บทบาทในเรื่อง pathogenesis ดังนี้ 
                    3.1 ทำหน้าที่เป็น virulence factorโดยทำให้เชื้อนั้นมีความรุนแรงหรือเป็น virulence strain 
                    3.2 EPS เมื่อถูกสร้างในปริมาณที่มากในขณะที่แบคทีเรียเจริญในท่อลำเลียง (vascular system) ทำให้เกิดอาการอุดตันเช่น Clavibacter michiganensis ทำให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ 
                    3.3 EPS มีบทบาทในการเกิดแผลฉ่ำน้ำ (watersoak) ในพืช 
               4. Surface appendages = flagella, fimbriae, protuberances : ยื่นออกมาจาก inner membrane ทำหน้าที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช เกือบทั้งหมด ยกเว้นยีนัส Clavibacter (Corynebacterium) มีการเคลื่อนที่โดยใช้โครงสร้างที่เรียกว่า หาง (flagella) ชนิดของ Flagella ที่พบในแบคทีเรียสาเหตุ โรคพืชมีดังนี้
                     4.1 แฟลเจลลาที่ออกมารอบตัว เรียกว่า peritrichous เช่นที่พบในยีนัส Erwinia และ Agrobacterium
                    4.2 แฟลเจลลาที่ออกมาจากขั้วด้านเดียว หรือสองด้านเรียกว่า polar flagella (monotrichus/liphotrichous) เช่นที่พบในยีนัส Pseudomonas หรือ Xanthomonas โดยจำนวนแฟลเจลลามีตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไปจนถึงหลายเส้น 
                    Fimbriae (pilli) มีลักษณะสั้นกว่าแฟลเจลลา แต่ละเซลล์จะมีไพไลจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน 
                    Protuberance = LPS vesicles ถุงที่โป่ง ปลดปล่อยออกมาระหว่างพัฒนาการโรค จากการตอบสนองต่อพืช 
          2. ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์  (Peripheral ribosomal area)
               Mesosome คือ ส่วนที่ยื่นออกมาจาก cellwall เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของแบคทีเรีย
               Ribosome ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนให้แก่เซลล์ ประกอบด้วย RNA 60 % และโปรตีน 40 % เป็นชนิด 70 S ประกอบด้วย 2 subunits คือ 50S และ 30S ไรโบโซม
               Granular inclusion ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ (granules) พบกระจัดกระจายอยู่ภายในเซลล์ ทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานหรือส่วนประกอบซึ่งจะเป็น โครงสร้างบางชนิดภายในเซลล์ Vacuole บรรจุของเหลวเช่น เอนไซม์ หรือแก๊ส เป็นโครงสร้างที่ช่วยให้เกิดการลอยหรือจมของเซลล์แบคทีเรียได้
               Plasmid เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่นอกโครโมโซม (extrachromosomal DNA) แบคทีเรียที่มีพลาสมิดส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ดำรงชีพใน สภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น และสามารถต้านทานสารปฏิชีวนะ มียีนควบคุมการสร้าง toxin กำหนด race ของแบคทีเรีย การต้านทานต่อสารเคมี และควบคุมการ สร้างสาร bacteriocin 
          3. ส่วนของ Central nucleoid 
               สิ่งมีชีวิตพวกโปรคาริโอตไม่มีนิวเคลียสที่แท้จริงเหมือนในพวกยูคาริโอต บริเวณนิวเคลียสจะประกอบด้วยสาร DNA เป็น double strand พันเป็น กระจุกเป็นวงกลม โดยไม่มี membrane ห่อหุ้ม (without nuclear membrane) 
อนุกรมวิธานของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
(Taxonomy of plant pathogenic bacteria)

          Taxonomy : การจัดหมวดหมู่ของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชโดยรวมเอาหลักการของ classification, nomenclature, และ identification 
          Classification = เป็นการจัดเรียงสิ่งมีชีวิตเข้าเป็นหมู่, กลุ่ม
          Nomenclature = การกำหนดชื่อของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชโดยใช้หลักเกณฑ์ของ ICNB (International Code of Nomenclature of Bacteria)
          Identification = เป็นการตรวจสอบจำแนกแยกเชื้อแบคทีเรีย แยกเชื้อและวินิจฉัย

การจัดหมวดหมู่แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช  (Bacterial classification)
          การจัดแบ่งหมวดหมู่ของแบคทีเรีย พอสรุปได้ 3 แนวทางคือ
          1. Classical approach : อาศัยลักษณะที่คงที่เช่น รูปร่าง การติดสี การเคลื่อนที่ ตำแหน่งของแฟลเจลลา การสร้างสปอร์ เป็นต้น
          2. Adansonian approach : ปัจจุบันเรียกว่า Numerical taxonomy โดยให้ความเหมือนกันของเชื้อแบคทีเรีย ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเหมือนแล้วมา จัดแบ่งแต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ
          3. Molecular approach : เป็นแนวทางใหม่ที่จะใช้คุณสมบัติของแบคทีเรียเองมาใช้จัดแบ่ง เช่น เปรียบเทียบความเหมือนกันจาก DNA-DNA homology, protein homology, nutritional homology 


 


การจัดหมวดหมู่ในลำดับขั้นมาตรฐาน  (Standard Taxonomic Ranks) :

          แบคทีเรียสาเหตุโรคพืชถูกจัดไว้ในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ตามระบบจัดแบ่งแบคทีเรียโดยหนังสือ Bergey’s Manual of Determinative Bacteriologyปี 1994 ซึ่งแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช กระจายอยู่ตามกลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่ม (7 Group 18 Genus) ดังนี้

          Kingdom Prokaryotae; bacteria
               I. Gram-negative Eubacteria That Have Cell Walls
               Group 4 : ได้แก่พวกที่มีลักษณะ gram negative, aerobic/microaerophilic rods และ cocci
               Group 5 : ได้แก่ พวกที่มีลักษณะ facultative anaerobe gram negative rods
               II. Gram-positive Eubacteria That Have Cell Walls
               Group 18 : ได้แก่ พวกที่มีลักษณะ endospore-forming gram positive rods และ cocci 
               Group 20 : ได้แก่ พวกที่มีลักษณะ irregular, nonsporing gram positive rods
               Group 22 : ได้แก่ พวก nocardiofrom Actinomycets: Rhodococus
               Group25:ได้แก่ Streptomycetes และยีนัสที่ใกล้เคียงกัน:Family Enterobacteriaceae
                III. Eubacteria Lacking Cell Walls
                Group 30 : ได้แก่ Mycoplasmas (หรือ Mollicutes):Mycoplasma, Spiroplasma
                IV. The Aechaeobacteria
                ตามระบบการจัดแบ่งแบคทีเรียโดยหนังสือ Bergey’s Manual of Systematic Bacteriology. 9th ed. (Murray, 1984) 3 Divisions, 4 class, 4 Family, 17 Genus (ยึดลักษณะ cell wall เป็นหลัก) 
           Kingdom: Prokaryotae


 


การเรียกชื่อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช  (nomenclature)
          ระบบการเรียกชื่อเดิมของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชเช่นเดียวกับแบคทีเรียทั่วไป คือ ประกอบด้วยชื่อยีนัสและสปีชีส์ ต่อมาภายหลัง ที่ประชุม ICNB (International Code of Nomenclature of Bacteria) ได้ตกลงตั้งระบบใหม่ใช้ในการเรียกชื่อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชโดยใช้ระบบ pathovar เช่น 
          Xanthomonas campestris เป็นยีนัสและสปีชีส์หลัก ส่วนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคแตกต่างกันให้จัดชื่อไว้ตามหลังคำว่า pathovar หรืออักษรย่อ pv. เช่น Xanthomonas campestris pv. citri


ลักษณะที่สำคัญของยีนัลแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
          Agrobacterium: มีรูปร่างแบบแท่ง เคลื่อนที่โดยใช้แฟลเจลลาชนิด peritrichous มักออกมาจากด้านข้างเซลล์โรคที่เกิดจากแบคทีเรียในยีนัสนี้ได้แก่ crowngall 
          Clavibacter: มีรูปร่างแบบแท่งตรงหรือมีความโค้งเล็กน้อย ไม่เคลื่อนที่แต่บางสปีชีส์เคลื่อนที่โดยใช้ polar flagella จำนวน 1-2 เส้น ติดสีแกรมบวก โรคที่เกิดได้แก่ โรคแคงเกอร์ของมะเขือเทศ จาก Clavibacter michiganensepv. michiganense
          Erwinia: เคลื่อนที่โดยใช้แฟลเจลลาชนิด peritrichous เป็นชนิดเดียวในกลุ่มแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่เป็น facultative anaerobe และที่ทำให้พืชเกิด โรคเน่าเละ (soft rot) 
          Pseudomonas: รูปร่างแท่งตรงที่ค่อนข้างยาวเคลื่อนที่โดยใช้ polar flagella ทำให้เกิดโรคใบไหม้ของถั่ว,โรคใบจุดมะเขือเทศ 
          Xanthomonas: สร้างรงควัตถุสีเหลืองที่มีชื่อว่า xanthomonadin โรคที่สำคัญได้แก่ โรคใบจุดมะเขือเทศ, โรคแคงเกอร์พืชตระกูลส้ม,โรคขอบใบแห้งข้าว 
          Streptomyces: มีการสร้าง spore ที่เรียงต่อกัน 3 spore หรือมากกว่าบางสปีชีส์สร้างสารปฏิชีวนะ (antibiotic) ติดสีแกรมบวกและอาศัยในดิน ตัวอย่างโรคพืช คือโรคสแคปของมันฝรั่ง 
          Xylella : รูปร่างเป็นแท่งตรง แบคทีเรียอาศัยตามท่อลำเลียงน้ำของพืชและติดสีแกรมบวก เซลล์ไม่มีการเคลื่อนที่และไม่มีรงควัตถุ 
          Acidovorax : เป็นแบคทีเรียสาเหตุโรค fruit blotch ของพืชตระกูลแตง


การวินิจฉัย  (In Vitro Diagnosis)
          1. Specific media 
          2. Metabolic and physiological characteristics
          3. การสร้างสารเฉพาะชนิด : toxins, bacteriocins 
          4. Bacteriophage 
          5. Serology analysis 
          6. Molecular analytical procedures 
          7. Computer identification by numerical analysis
ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย   (Symptoms of plant diseases)
          1. Necrotic disease : แบคทีเรียฆ่าเซลล์โดยตรง มีบ้างที่ใช้ toxins เฉพาะ พวก biotrophic 
          2. Vascular wilt และ yellow diseases : เชื้อก่อโรคแพร่กระจายทั่วต้น (remote disease)
          3. Soft rot disease : ก่อให้เนื้อเยื่อพืชแยกขาดและถูกทำลาย (maceration) โดยผลิตเอนไซม์ย่อยผนังเซลล์ พวก necrotrophic
          4. Tumour diseases : Ti plasmid ชักนำพืชให้สร้างฮอร์โมน (auxins และ cytokinins) และ opine(แบคทีเรียใช้เป็นอาหาร) มากขึ้นพวกhyperplasia 
การดำรงชีพของแบคทีเรีย  (Survival)
          1. อยู่บนพืช
          2. Air borne ไปกับลม pollen เม็ดดิน อนุภาคดิน
          3. Insect borne ติดไปกับแมลงพาหะ 
          4. Soil borne ความสัมพันธ์ของแบคทีเรียในดิน
การแพร่กระจาย  (Dispersal)
          1.โดยน้ำ-หยดกระเด็นฝน ละอองน้ำ ,การให้ (ได้) น้ำ (Irrigation water)-ซากพืช, ฝนชะใบ ,พ่นฝอย
          2. โดยดิน(soilborne) -เคลื่อนย้ายดิน, หยดกระเด็นฝน 
          3. โดยเมล็ด/ส่วนขยายพันธุ์ 
          4. โดยแมลง 
          5.โดยมนุษย์- แพร่โดยการปฏิบัติทางฟาร์ม, แพร่สู่โลกกว้าง (Worldwide)


การควบคุมโรค  (Control Measures)
          1. Chemical control : antibiotics (ควบคุมที่ผิว > ดูดซึม) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ สารสังเคราะห์ใช้ป้องกัน, สารสังเคราะห์ที่ใช้ในปัจจุบัน, สารอนินทรีย์ดั้ง เดิม, สารยับยั้ง nitrification 
          2. Biological control : เชื้อปฏิปักษ์ (antagonistics) 
          3. Genetic control of plant disease: พัฒนาพันธุ์ต้านทาน
          4. Sanitary procedures : ทุกวิธีที่จำกัดการแพร่ระบาด- ใช้เมล็ดปราศจากเชื้อทำพันธุ์, ผลิตพันธุ์พืชปลอดเชื้อ (เช่น tissue culture), ปรับปรุงสภาพแวด ล้อมให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตแข็งแรงของพืช (การให้น้ำ, ทำลายซากพืช, ระยะปลูก, แผลพืช, ปลูกพืชหมุนเวียน),ใช้เครื่องมือที่สะอาด
          5. การกักกันพืช  (Plant quarantine)

(Principles of plant disease control)
การป้องกันกำจัดโรคพืช หมายถึง การปฏิบัติหรือการกระทำใดๆ ก็ตามในอันที่จะขัดขวางไม่ให้มีโรคเกิด หรือไม่ก็เพื่อบรรเทาและลดความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของโรคนั้นๆ ที่มีต่อพืชโดยมีหลักปฏิบัติใหญ่ๆ ที่อาจทำได้รวม 6 ประการด้วยกันคือ
1. การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นกับพืช      (voidance of the pathogen)
หมายถึงการปลูกพืชโดยวิธีเลี่ยงให้ห่างจากเชื้อโรค หรือแหล่งที่เกิดของโรค ซึ่งอาจทำได้โดย
1.1 การเลือกลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม (choice of geographic area) ได้แก่การเลือกพื้นที่ปลูกที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืซแต่ละชนิดเช่น พวกกะหล่ำและผักกาดต่างๆ ที่อวบน้ำหรือมีเนื้อมากหากปลูกในที่แห้งและเย็นจะไม่ได้รับความเสียหายจากโรคเน่าเละที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มะเขือ เทศ มันฝรั่ง ถ้าปลูกในท้องถิ่นที่อากาศค่อนข้างอบอุ่นและแห้งก็จะปลอดจากโรคเลทไบล๊ท์ที่เกิดจากเชื้อรา ytophthora infers tans เป็นต้น
1.2 เลือกปลูกพืชในดินที่เหมาะสม (choice of planting site in a local area)หมายถึงการปลูกพืชลงในดินที่ใหม่สะอาดปราศจากเชื้อหรือไม่เคยมีโรคเกิดมาก่อน ดินปลูกต้องไม่เหมาะสมหรือช่วยส่งเสริมต่อการเกิดโรค เช่น พืชผักบางชนิดที่ปลูกในดินที่ยกเป็นร่องมีการเตรียมอย่างดี ไม่มีนํ้าแช่ขังจะปลอดภัยจากโรครากเน่าโคนเน่า หรือโรคเหี่ยวที่เกิดจากราชั้นต่ำ เช่น Pythium sp. Phytophthora sp. หรือแบคทีเรียบางชนิด
1.3 การเลือกระยะเวลาหรือฤดูการปลูกที่เหมาะสม (choice of planting date) การปลูกพืชในช่วงเวลาสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดและระบาดของโรคก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเสียหายจากโรคลงได้ เช่นผักที่ง่ายต่อการเกิดโรครานํ้าค้างจะไม่เป็นหรือได้รับความเสียหายจากโรคนี้ หากปลูกในฤดูแล้งที่มีอากาศแห้งและร้อนหรือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคยอดหรือใบ หงิกมักจะระบาดและเสียหายรุนแรงในช่วงที่อากาศร้อนและแห้ง ส่วนในฤดูหนาวหรือฤดูฝนที่มีอากาศเย็นและชื้น โรคจะไม่ระบาดทั้งนี้เนื่องจากแมลงทั้งที่เป็นตัวนำและถ่ายเชื้อไวรัสไม่ชอบสภาพอากาศดังกล่าวจึงไม่แพร่ขยายพันธุ์ทำให้โรคหยุดการระบาดไปด้วย
1.4 การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนของพืชที่จะใช้ทำพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรคและเชื้อ (use of disease-free planting stock) การปลูกพืชโดยใช้พันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อหรือมีโรคติดมา พืซที่จะเจริญเติบโตต่อมาจากพันธุ์ดังกล่าวก็จะปลอดและหลีกเลี่ยงจากการเกิดโรคอย่างน้อยก็ในระยะแรกของการเจริญเติบโต หากพืชดังกล่าวได้รับการเอาใจใส่ดูแลรักษาและป้องกันโรคต่อมาดีก็จะพ้นหรือปลอดภัยจากการเสียหายจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.5 การนำเอาวิธีเกษตรกรรมมาปรับใช้ในการปลูกพืช (modification of cultural practices)การเกษตรกรรมที่เหมาะสมและถูกต้องก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมีโรคขึ้นกับพืช เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินปลูกโดยใช้ดินที่สะอาดปราศจากเชื้อยกเป็นแปลงหรือร่องนูน ให้มีระยะปลูกระหว่างต้นระหว่างแถวให้พอเหมาะพอดีไม่แน่นหรือห่างเกินไป การปักไม้หลักช่วยคํ้ายันต้นพืชหรือทำค้างให้หากจำเป็น หมั่นดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาพืชให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอไม่ให้ขาดนํ้าขาดอาหารหรือปุ๋ยที่จำเป็น และเหมาะสมต่อช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืช เมื่อสังเกตเห็นพืชต้นใดแสดงอาการผิดปกติซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคก็ให้รีบขจัดทำลายหรือไม่ก็ตัดแต่งริดส่วนที่ผิดปกตินั้นออกเพื่อเป็นการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ ขณะเดียวกันก็หมั่นดูแลทำความสะอาดแปลงปลูกอย่าให้มีวัชพืชขึ้นรกรุงรังอันอาจเป็นบ่อเกิดสะสมหรือที่อาศัยของโรคและแมลงที่อาจมาทำลายพืชที่ปลูกได้
2. การกีดกันหรือขจัดทำลายต้นตอที่มาของโรค (exclusion of the pathogen)
การกีดกันไม่ให้โรคเกิดขึ้นกับพืซมีวิธีทำได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้
2.1 การทำลายเชื้อโรคที่อาจจะติดมากับส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธุ์(treatment of propagules of plant) ส่วนของพืชที่จะนำมาปลูกหรือใช้ขยายพันธุ์ เช่น เมล็ด หัว หน่อ เหง้า หรือท่อนพันธุ์ เหล่านี้อาจมีเชื้อสาเหตุ โรคเกาะติดหรืออาศัยอยู่โดยเฉพาะ หากได้มาจาต้นพ่อแม่หรือแหล่งปลูกที่เคยมีโรคระบาดเมื่อนำมาปลูกก็อาจจะทำให้ต้นที่งอกเกิดโรคขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้หากไม่แน่ใจว่าส่วนขยายพันธุ์ดังกล่าวบริสุทธิ์หรือไม่ เพื่อความไม่ประมาท และเพื่อให้ต้นที่เกิดใหม่ปลอดจากโรคควรทำการฆ่าทำลายเชื้อบนหรือในส่วนเหล่านั้นเสียก่อน ซึ่งอาจทำได้โดยวิธีคลุก จุ่ม แช่ หรืออบรมด้วยสารเคมีที่ฆ่าเชื้อได้ หรือไม่ก็โดยการแช่ในน้ำอุ่น 49-50°ซ. แล้วจึงค่อยนำไปปลูก
2.2 การตรวจสอบโรคและกำหนดคุณภาพของพืช (inspection and certification) ให้มีการตรวจสอบคุณภาพและความบริสุทธิ์ของพืช (โดยเฉพาะส่วนที่จะใช้ในการขยายพันธุ์) ทั้งที่จะนำเอาเข้ามาและส่งออกไปยังแหล่งอื่น ให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อใดๆ ติดมาหรือปนอยู่ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ทั้งนี้โดยกำหนดให้คำรับรองคุณภาพ (certification) ที่ยอมรับและเชื่อถือได้เป็นหลักฐานประกอบ
2.3 การกักกันพืช (exclusion or restriction by plant quarantine) หมายถึงการสะกัดกั้น หรือป้องกันไม่ให้เชื้อสาเหตุโรคหรือศัตรูพืชชนิดต่างๆ ระบาดแพร่กระจายจากที่แห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่นๆ หรือในที่ที่ยังไม่เคยมีโรคนั้นมาก่อน โดยการตราออกเป็นกฎหมาย และโดยความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น เมือง หรือประเทศกำหนดเขตการระบาดของโรคที่สำคัญ และชนิดของพืชที่ไม่ให้นำเข้า หรือออกนอกประเทศ หรือที่จำเป็นจะต้องตรวจกัก เมื่อได้ ทำการทดสอบจนแน่ใจว่าไม่มีโรคหรือเชื้อใดๆ อาศัยเกาะติดปะปนอยู่แล้วจึงจะปล่อยให้นำเอาไปปลูกขยายพันธุ์ได้
2.4. การป้องกันกำจัดแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อ (elimination of insect vectors) มีแมลงหลายชนิดที่นอกจากจะเป็นศัตรูดูดกัดกินพืชให้เกิดการเสียหายโดยตรงแล้วยังปรากฏว่าเป็นตัวทำให้เชื้อโรคพืชต่างๆ เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส และมายโคพลาสมา ระบาดแพร่กระจายจากต้นตอที่กำเนิดของโรคไปยังต้นข้างเคียงหรือต้นอื่นๆ ที่อยู่ในระยะที่แมลงจะบินหรือเคลื่อนที่ไปได้ การป้องกันกำจัด แมลงพวกนี้ไม่ให้แพร่ระบาดหรือเกิดมีขึ้นก็จะช่วยป้องกัน หรือลดความเสียหายจากโรคลงได้
3. การกำจัดทำลายโรคที่มีอยู่ให้หมดไปจากแหล่งปลูกพืช (eradication of the pathogen)
เป็นการขจัดทำลายกวาดล้างโรคที่มี หรือกำลังเป็นอยู่ให้หมดสิ้นไปจากท้องถิ่น หรือไม่ก็ให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับพืชได้อีก ซึ่งอาจปฏิบัติได้โดยวิธีต่อไปนี้
3.1 วิธีทางชีววิทยา (biological con­trol of plant pathogens) หมายถึง การใช้สิ่งที่มีชีวิตหรือเชื้อโรคให้ทำลายและควบคุมปริมาณกันเอง ตัวอย่างเช่น การป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum โดยแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งคือ Bacillus polymyxa หรือการใช้เชื้อรา Trichoderma viride กำจัดทำลายพวก Pythium sp. และ Rhizoctonia sp. สาเหตุโรค damping-off โรครากเน่าและโคนเน่าของผักต่างๆ หลายชนิด
3.2 การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) โดยการเปลี่ยนพืชปลูกหรือนำเอาพืชชนิดอื่นมาปลูกสลับหมุนเวียนไม่ให้ซํ้ากันในที่เดิมวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณ หรือเปลี่ยนลักษณะของเชื้อสาเหตุโรคที่เป็นกับพืชชนิดใดชนิดหนึ่งตกค้างอยู่ในดินจากฤดูปลูกที่แล้วไม่ให้กลับขึ้นมาทำลายพืชเดิมได้อีก อย่างไรก็ดีการปลูกพืชหมุนเวียนจะให้ผลดีก็เฉพาะกับพวกโรคที่เชื้อสาเหตุลงไปอยู่ในดินโดยบังเอิญ (soil invader) เท่านั้น เพราะพวกนี้หากไม่มีการปลูกพืชเดิมซ้ำลงไปในดินนั้นสัก 3 – 4 ปี ก็จะค่อยๆ ลดปริมาณหรือเสื่อมความสามารถในการเป็นพาราไซท์ลง ไม่สามารถกลับมาก่อให้เกิดโรคกับพืชได้อีกอย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อที่ธรรมชาติเป็น soil- borne แล้วการป้องกันกำจัดโดยวิธีนี้ก็ไม่สู้จะให้ผลนัก ทั้งนี้ เพราะเชื้อดังกล่าวแม้จะไม่มีการปลูกพืชก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้เรื่อยไปโดยอาศัยเกาะกินเศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่มีอยู่ในดินนั้น เมื่อใดที่มีการปลูกพืชที่เป็น host ลงไปก็จะกลับขึ้นมาทำลายสร้างความเสียหายได้อีกทันที
3.3 การทำลายพืชที่อ่อนแอหรือส่วนของพืชที่เป็นโรค (removal and destruction of susceptible plants or diseased parts of plants)
ได้แก่การกำจัดต้นพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคทิ้งไปเสียก่อนที่จะระบาดลุกลามแพร่กระจายออกไป ซึ่งทำได้โดยวิธีการต่างๆ ต่อไปนี้
ก. ถอนทำลายต้นพืชที่เป็นโรค (roguing) ทันทีที่เห็นหรือแสดงอาการ โดยการเผาไฟ ฝังดิน หรือนำไปทิ้งให้ไกลจากแหล่งปลูก ในกรณีที่เป็นไม้ยืนต้นก็อาจจะทำได้ โดยการตัดแต่งเฉพาะส่วนที่เป็นโรคออกจากต้น ก่อนที่จะกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของต้นหรือระบาดไปยังต้นข้างเคียงแล้วนำไปทำลายเช่นเดียวกัน
ข. กำจัดทำลายพืชอาศัยหรือวัชพืชที่เชื้ออาจไปอาศัยเกาะกินชั่วคราวนอกฤดูปลูก (elimination of alternate hosts and weed hosts) โรคบางโรคต้องการพืชมากกว่าหนึ่งอย่างเพื่อให้มีวงจรชีวิต ที่สมบูรณ์ถ้าขาดชนิดใดชนิดหนึ่งไปก็จะไม่สามารถระบาดแพร่กระจายได้ และก็มีอีกหลายโรคที่เมื่อหมดฤดูปลูกแล้วก็สามารถไปอาศัยเกาะกินอยู่บนพืชอื่นหรือวัชพืชบางชนิดได้ชั่วคราวจนถึงฤดูปลูกต่อไปก็จะกลับมาทำลายพืชที่ปลูกได้ใหม่อีก การทำลายพืชอาศัยพวกนี้อาจมีอยู่ในบริเวณหรือใกล้แปลงปลูกก็เท่ากับ เป็นการตัดไม่ให้เชื้อกลับมาทำลายพืชปลูกได้อีก
ค. การทำความสะอาดแปลงปลูก (sanita­tion) หลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว ควรทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บรวบรวมชิ้นส่วนเศษซากตอซังออกให้หมดจากแปลงปลูกแล้วนำไปทำลายเสียเช่นเดียวกับข้อ ก. ทั้งนี้เพราะเศษซากพืชดังกล่าวอาจเป็นที่อยู่ของเชื้อสาเหตุโรคได้ชั่วคราวจนกว่าจะถึงฤดูปลูกใหม่ ช่วงที่แปลงหรือดินว่างเว้นจากการปลูกควรจะใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อทิ้งไว้ หรือไถขุดพลิกหน้าดินให้ได้รับแสงอาทิตย์ให้เต็มที่สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อฆ่าทำลายหรือลดปริมาณเชื้อที่อาจมีอยู่ในดินนั้นแล้วจึงค่อยปลูกพืชลงไปใหม่
3.4 การใช้ความร้อนกำจัดหรือควบคุมโรคในพืช (heat treatment of diseased plant) ได้แก่การใช้ความร้อนกำจัดทำลายเชื้อสาเหตุโรคที่อยู่บนหรือภายในพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคโดยไม่ทำให้พืชได้รับอันตรายจากความร้อนนั้น ซึ่งทำได้โดย
ก. โดยการนำเอาพืชหรือส่วนของพืชที่จะนำไปใช้ทำพันธุ์ไปจุ่มในน้ำอุ่น (hot water treatment) ที่มีอุณหภูมิประมาณ 45-51°ซ. นานตั้งแต่ 15-25 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และปริมาณของพืชที่ต้องการฆ่าเชื้อ
ข. โดยการนำเอาชิ้นส่วนหรือเมล็ดพันธุ์พืช ที่เป็นโรคหรือสงสัยว่ามีเชื้อโรคไปอบ รมด้วยไอหรืออากาศร้อน (hot air treatment) อากาศร้อนหรือไอร้อนภายในตู้อบ (hot air oven) ที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 54-65° ซ. อาจทำลายเชื้อบางชนิดที่ติดมากับชิ้นส่วนเมล็ดพันธุ์หรือส่วนของพืชที่จะนำไปใช้ทำพันธุ์ได้เช่นเดียวกับการแช่ในน้ำอุ่น แต่ต้องใช้เวลานานกว่าคือ ตั้งแต่ 5 -24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และปริมาณพืชที่ต้องการฆ่าเชื้อเช่นกัน
3.5 การใช้สารเคมีเพื่อขจัดทำลายเชื้อในพืชที่เป็นโรค (chemical treatment of diseased plants) ได้แก่การใช้สารเคมีกำจัดทำลายเชื้อสาเหตุโรคในพืชโดยเฉพาะส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์ (seed treatment) เพื่อให้ปลอดจากโรคก่อนที่จะนำไปปลูก
การใช้สารเคมีฆ่าทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ดหรือส่วนขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธีเช่น นำมาคลุกในลักษณะที่เป็นฝุ่นผงผสมนํ้าในปริมาณที่เข้มข้นแล้วใช้ป้ายทาหรือทำเป็นสารละลายสำหรับใซ้ชุบ ล้าง จุ่มหรือแช่ในการคลุกเมล็ดนั้น ปริมาณสารที่ใช้ปกติประมาณ 0.3 – 1.0% ของน้ำหนักเมล็ด
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการใช้สารเคมีฆ่าทำลายเชื้อบนเมล็ดหรือส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธุ์คือ สารดังกล่าวจะต้องไม่ทำลายพืชหรือทำให้ความงอกเสียไปด้วยและจะต้องเคลือบฉาบติดอยู่กับเมล็ดหรือส่วนของพืชเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มีอยู่ในดินและต้นอ่อนที่จะงอกเป็นต้นต่อมาได้อีกด้วย
ชนิดของสารเคมีที่ใช้
สารเคมีที่ใช้ฆ่าทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ดหรือส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด มีทั้งสารพวก ทองแดง ปรอท สังกะสี ในรูปของสารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compounds) พวก ออร์แกนิค เมอร์คิวรี่ (organic mercury) เช่น พาโนเจน (panogen) เซมีแซน (semesan) และพวกสารประกอบที่ไม่ใช่ปรอท (non-mercurial compounds) อื่นๆ เช่น แคปแตน (captan) คลอรานิล (chloranil) เด็กซอน (dexon) ไดโคลน (dichlone) พีซีเอ็นบี (PCNB) ไธแรม (thiram) ฟายกอน (phygon) และสเปอร์กอน (spergon) เป็นต้น
3.6 การฆ่าทำลายเชื้อในดิน (soil treatments)
จุดมุ่งหมายในการฆ่าทำลายเชื้อในดินก็เพื่อเป็นการลดปริมาณหรือทำให้เชื้อหมดความสามารถในการก่อให้เกิดโรคในพืช ซึ่งก็อาจกระทำได้โดยวิธีต่างๆ เช่น การใช้สารเคมี การใซ้ความร้อนอบ รม เผา การปล่อยให้น้ำท่วมขัง และการไถพลิกกลับหน้าดิน
การใช้สารเคมีขจัดทำลายเชื้อในดิน อาจทำได้โดยการอบ รมด้วยสารที่ระเหยเป็นไอ (fumigate) การนำเอาสารเคมีมาผสมน้ำใซ้ราดรดหรือนำมาคลุกผสมดินโดยตรง ตัวอย่างของสารเคมีที่ใช้ทำลายเชื้อในดินประเภทระเหยเป็นไอ เช่น เมธิลโบรไมด์ (methylbromide) คลอโรพิคริน (chloropicrin) ดาโซเมท (dazomet) เอธีลีนไดโบรไมด์ (ethylenedibromide=EDB) ดีดีมิกซ์เจอร์ (D-D mixture) สารเคมีที่ใช้ผสมน้ำราดรดหรือคลุกดิน เช่น เมอร์คิวริค คลอไรด์ (HgCl2) ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เทอราคลอร์ (terrachlor) เด๊กซอน (dexon) และพีซีเอ็นบี (PCNB) เป็นต้น
การใช้ความร้อนฆ่าทำลายเชื้อในดินก็ทำได้ทั้งใช้ไอนํ้า อบ รม นึ่ง หรือเผาคั่วก็ได้ทั้งสองวิธี ซึ่งก็จะสามารถฆ่าทำลายเชื้อโรคและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในดินได้ อย่างไรก็ดีทั้งการใช้สารเคมีและความร้อนกับดินนั้น ปกติแล้วจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อใช้กับดินที่มีปริมาณน้อยๆ เช่น แปลงเพาะกล้า ดินที่ใช้ในการทดลอง หรือในเรือนกระจกเท่านั้นไม่สามารถใช้กับดินแปลงปลูกที่ใหญ่ๆ ได้เพราะสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำลายเชื้อที่มีอยู่ให้หมดสิ้นโดยเด็ดขาด
การปล่อยน้ำให้ท่วมขังก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำลายเชื้อโรค และศัตรูพืชหลายชนิดที่มีอยู่ในดินปลูกได้ผลดีแต่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน ตัวอย่างดังจะเห็นได้จากดินที่มีนํ้าท่วมขังเป็นเวลานานๆ หรือดินตามริมแม่น้ำ ลำห้วย หนอง หรือดินปลูกที่เป็นลักษณะน้ำไหลทรายมูล ตามเกาะแก่งในแม่นํ้าซึ่งชาวบ้านใช้ปลูกพืชผักในฤดูแล้งมักจะเจริญงอกงามและพ้นจากการทำลายของโรคและศัตรูพืชชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
การไถหรือขุดพลิกกลับหน้าดินจากด้านล่างขึ้นมาตาก หรือให้ถูกกับแสงแดดเป็นระยะๆ นอกจากจะทำให้ดินแห้งทำให้เชื้อไม่สามารถมีชีวิตแพร่ขยายพันธุ์ได้แล้วรังสี และความร้อนจากแสงแดดยังสามารถฆ่าทำลายเชื้อโรคได้โดยตรง นับเป็นการขจัดทำลายเชื้อได้อย่างดีมีประสิทธิภาพที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยและปลอดภัยที่สุด ไม่ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมี ความเป็นกรดเป็นด่าง ไม่มีฤทธิ์ตกค้างหรือเป็นพิษดังเช่นการใช้สารเคมี
4. การป้องกันพืชไม่ให้เกิดโรค (protection of the plant)
การป้องกันไม่ให้พืชที่ปลูกเกิดเป็นโรคขึ้น อาจทำได้โดยการใช้สารเคมี หรือวิธีการทางเกษตรกรรมต่างๆ ดังนี้
4.1 โดยการใช้สารเคมีฉีดพ่น คลุก จุ่ม แช่พืชหรือส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธุ์เพื่อป้องกันการเกิดโรค (spraying or dusting and treatment of propagules to protect against infection) การนำเอาสารเคมีมาใช้กับพืช โดยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ พิษจากสารเคมีที่ใช้จะช่วยทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันระหว่างพืชและเชื้อโรคไม่ให้เกิดมีการทำลาย หรือเป็นโรคขึ้นได้ นอกจากนั้นยังเป็นตัวยับยั้งหรือช่วยป้องกันการงอกของสปอร์ และทำลายเชื้อขณะเจริญเติบโตอยู่บนพืชเช่นพวกราแป้งขาวได้ด้วย
4.2 การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่เป็นตัวพาหะหรือนำเชื้อโรคไม่ให้ระบาดหรือแพร่กระจาย (controling the insect vectors of pathogens) มีโรคพืชหลายชนิดที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสที่สามารถระบาดแพร่กระจายออกไปได้เป็นระยะทางไกลๆ โดยมีแมลงชนิดต่างๆ เป็นตัวนำและถ่ายเชื้อให้กับพืช ด้วยเหตุนี้ การฆ่าทำลายแมลงดังกล่าวไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดก็เท่ากับ เป็นการตัดการกระจายของโรคได้ทางหนึ่ง
4.3 การปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการเกิดโรค (modification of the environ ment)การเปลี่ยนแปลงควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้เป็นตัวช่วยส่งเสริมการเกิดและระบาดของโรค เช่น การระบายถ่ายเทอากาศรอบๆ ต้นพืชหรือผลิตผลของพืชที่เก็บเกี่ยวแล้ว การลดความชื้นอุณหภูมิให้ต่ำลงในระดับหรือจุดที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเจริญเติบโตสร้างความเสียหายให้กับพืชและผลิตผลของพืชดังกล่าวได้เต็มที่แล้ว ยังจะ ช่วยให้พืชสามารถสร้างความต้านทานให้เกิดมีขึ้นในตัวของมันเอง ไม่ให้เหมาะสมต่อการที่จะเกิดโรคบางชนิดได้
4.4 การกระตุ้นพืชให้มีความต้านทานต่อโรคไวรัสโดยการปลูกเชื้อที่อ่อนแอให้ก่อนที่จะเกิดโรค(inoculation with a benign virus to protect againsts more virulent form) พบว่ามีไวรัสอยู่หลายชนิดที่อาศัยอยู่ในพืชถาวรในลักษณะแฝง (latent form) ไม่ก่อให้เกิดอาการหรือความเสียหายรุนแรงกับพืชดังกล่าวแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นเชื้อไวรัสพวกนี้ยังอาจทำหน้าที่ช่วยป้องกันเชื้อพวกที่มีความรุนแรงหรือเป็นตัวการของโรคที่แท้จริงไม่ให้เข้าทำลาย หรือก่อให้เกิดโรคขึ้นกับพืชที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ก่อนได้ จากปรากฏการณ์และความรู้นี้ก็สามารถถนำมาปฏิบัติช่วยในการป้องกันการเกิดโรคได้
4.5 การปรับใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับต้นพืช (modification of nutrition) ธาตุอาหารบางชนิดอาจเป็นทั้งตัวช่วยส่งเสริมความรุนแรงหรือลดการเกิดโรคได้ ตัวอย่างเช่น ธาตุไนโตรเจน ซึ่งจำเป็นและช่วยในการเจริญเติบโตในระยะแรกของพืชขณะเดียวกันก็จะช่วยให้เชื้อโรคบางชนิดเข้าทำลายพืชได้ง่ายและทำให้เกิดโรครุนแรงขึ้น พืชที่ขาดหรือได้รับธาตุโปแตสเซี่ยมไม่พอเพียงจะทำให้เกิดอาการซํ้าและอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรค ขณะเดียวกันการให้พืชได้รับธาตุแคลเซี่ยมพอเพียงก็จะช่วยให้มีความต้านทานต่อโรคเหี่ยวและโรคเน่าได้ดีขึ้น
5. การปรับปรุงให้พืชมีความต้านทานต่อโรค (development of resistant hosts)
การทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรค อาจทำได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้
5.1 การคัดเลือกพันธุ์หรือผสมพันธุ์ (selection and breeding for resistance) ได้แก่การเลือกพืชที่มีคุณสมบัติหรือสร้างพืชให้มีลักษณะพิเศษที่คงทน หรือต้านไม่ให้โรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายดังเช่นพืชธรรมดาทั่วๆ ไป โดยที่ความต้านทานอาจเกิดขึ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ก็ได้ทั้งในทางสรีรวิทยา (physiological resistance) เช่น การสร้างหรือทำให้เกิดมีขึ้นของสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อขึ้นภายในโปรโตพลาสซึ่มของพืช หรือป้องกันไม่ให้มีการเกิดปฏิกิริยาร่วมกันได้ระหว่างพืชและเชื้อที่เป็นสาเหตุ (metabolic incompatibility of host and patho­gen) ทางโครงสร้างหรือรูปร่างลักษณะของพืช (morpho­logical resistance หรือ mechanical ressistance) คือ การที่พืชมีการสร้างเปลือกหรือผิวหนาแข็งแรงมีชั้นของคอร์คเลเยอร์ (cork layer) หรือ คิวติเคิล (cuticle) ที่หนาขึ้นทำให้เชื้อไม่สามารถแทรกเข้าไปภายในพืชได้ง่ายและสุดท้าย คือเกิดความเปลี่ยนแปลงในหน้าที่หรือ function (functionaal resistance) ในการปฏิบัติงานของอวัยวะบางส่วนของพืช เช่น การเปิดปิดของช่องปากใบ (stomata) ในช่วงที่มีเชื้อระบาด หรือสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรคทำให้เชื้อไม่สามารถเข้าไปก่อให้เกิดโรคในพืชได้
การเกิดมีขึ้นในลักษณะหรือคุณสมบัติดังกล่าวก็จะช่วยทำให้พืชนั้นยากต่อการเข้าทำลายของเชื้อ โอกาสที่จะเป็นโรคก็มีน้อยลง ทำให้พืชนั้นดูเหมือนเกิดมีความต้านทานต่อโรคขึ้น
5.2 โดยการใช้สารเคมี (resistance by chemotherapy) สารเคมีบางชนิดเมื่อนำมาใช้กับพืช อาจช่วยกระตุ้นหรือทำให้พืชเกิดมีความต้านทานต่อโรคขึ้น โดยการยืดระยะเวลาการเกิดโรคให้นานออกไปจนพืชแข็งแรงหรือโตพ้นระยะรุนแรงของโรคหรือไม่ก็อาจไปเปลี่ยนแปลงลักษณะ อาการของโรค ทำให้ไม่มีผลเสียหายต่อการเจริญเติบโต หรือผลิตผลของพืช
5.3 โดยการควบคุมหรือให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืช (resistance through nutrition) ธาตุอาหารจะมีผลต่อความต้านทานในทาง mechanical ซึ่งเกี่ยวข้องทางรูปร่างลักษณะของพืช (morphology) มากกว่าทางอื่น การควบคุมปริมาณชนิด และสัดส่วนของธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่จะให้กับพืชในอัตราส่วนที่เหมาะสมและสมดุลย์ระหว่างธาตุโดยคำนึงถึงชนิดและอายุของพืช ตลอดจนสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ซึ่งหากทำได้โดยความถูกต้องก็จะเป็นส่วนช่วยให้พืชเกิดความต้านทานและลดความเสียหายจากโรคลงได้
6. การให้การรักษาพืชที่เป็นโรค (therapy applied to the diseased plant)
การให้การรักษาซึ่งรวมไปถึงการขจัดทำลายส่วนของพืชเป็นโรค ในกรณีที่เกิดโรคขึ้นแล้ว บางครั้งก็เป็นสิ่งจำเป็นและพึงกระทำทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสียหาย รักษาส่วนของต้นที่ยังเหลือไว้ และป้องกันไม่ให้เชื้อระบาดแพร่กระจายออกไปทำลายส่วนอื่นๆ ที่ยังเหลือรวมไปถึงต้นข้างเคียงโดยรอบด้วย อย่างไรก็ดีการรักษาโรคพืชนั้นเท่าที่ปฏิบัติกันมา ส่วนใหญ่มักจะมุ่งทำกับพืชยืนต้นหรือพืชถาวรเช่น ไม้ผลที่มีอายุมาก ที่เพิ่งเริ่มเป็นหรือแสดงอาการของโรคให้เห็นเป็นบางส่วนยังไม่ถึงขั้นรุนแรงนัก ปกติแล้วจะไม่ทำกับพืช ล้มลุกเช่น พืชไร่หรือพืชผัก เพราะพืชเหล่านี้เมื่อเกิดเป็นโรคหรือเมื่อแสดงอาการให้เห็นนั้นก็มักจะอยู่ในชั้นรุนแรง เสียหายมากแล้วทำให้การป้องกันรักษาได้ผลไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงไป ในการรักษาพืชที่เป็นโรคอาจทำได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้
6.1 โดยการใช้สารเคมี (chemo­therapy) สารเคมีที่นำมาใช้กับพืชแล้วสามารถป้องกันรักษาโรคได้นั้น กล่าวได้ว่าเป็นไปใน 3 ลักษณะคือ
(1) ไปฆ่าทำลายเชื้อโรคโดยตรง
(2) ช่วยทำให้พิษจากสาร (toxic substances) ที่เชื้อสร้างขึ้นแล้วปล่อยออกมาขณะที่เจริญเติบโตอยู่ในพืชอ่อนเจือจางลงจนไม่สามารถก่อให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น่ได้ และ
(3) สารเคมีอาจไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในพืชจากเดิมที่มีลักษณะอ่อนแอ ให้กลับเป็นคงทนหรือต้านทานต่อโรคดีขึ้น
6.2 โดยการใช้ความร้อน (heat treatment) การนำเอาความร้อนมาใช้ในการกำจัดทำลายเชื้อหรือรักษาโรคในพืชส่วนใหญ่มักจะทำกับเมล็ดพันธุ์ หน่อ หัว ต้นตอ หรือส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์ต่างๆ โดยที่ความร้อนนั้นจะทำลายเฉพาะเชื้อที่เป็นสาเหตุไม่ว่าจะเป็น รา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยหรือแม้แต่ไวรัส แต่จะต้องไม่ทำลายพืชหรือทำความเสียหายให้กับพืช
6.3 โดยการตัดแต่งเคลื่อนย้ายส่วนที่เป็นโรคออกไปจากต้น (surgery) การตัดหรือริดเอาส่วนของพืซที่แสดงอาการโรคออกไปจากกิ่งหรือต้น เท่ากับเป็นการขจัดทำลายเชื้อหรือต้นตอของโรคไม่ให้ระบาด แพร่กระจายออกไปทั้งในต้นเดียวกันและต้นอื่นๆ ทั้งยังอาจเป็นการรักษาไม่ให้โรครุนแรง ทำความเสียหายมากขึ้น เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสม
ทั้งหมดดังได้กล่าวแล้วนั้น เป็นหลักการและวิธีปฏิบัติโดยทั่วๆ ไปในการป้องกันกำจัดโรคพืชซึ่งอาจสรุปเป็นหัวข้อเพื่อนำมาปฏิบัติโดยย่อ ดังนี้
1. สิ่งแรกที่ควรกระทำคือ การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนช่างสังเกตต่อพืชผักแต่ละชนิดที่ปลูกในแต่ละช่วงฤดูกาลของปีว่ามีปัญหาหรือโรคศัตรูพืชชนิดใดเกิดขึ้นบ้าง แล้วเก็บข้อมูลจดบันทึกไว้ ซึ่งจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วโรคแมลง หรือศัตรูของพืชผักแต่ละชนิดที่เป็นอย่างเดียวกันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาหรือฤดูเดียวกันของแต่ละปี เมื่อทราบข้อมูลแล้วก็จะเป็นการง่ายในการเตรียมการป้องกันกำจัดเพื่อไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่นหลีกเลี่ยง ร่นหรือยืดระยะเวลาการปลูกพืชชนิดนั้นให้เร็วหรือช้ากว่ากำหนดที่เคยปลูกอยู่เดิมก่อนหรือ หลังจากที่โรคเคยระบาด โอกาสที่จะเกิดโรคก็จะน้อยลงหรืออาจไม่เกิดเลย แม้จะไม่ใช้วิธีการเปลี่ยนระยะเวลาปลูกใหม่ การที่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรค เช่น การเกิดการระบาดและความเสียหายมาจากปีก่อนๆ ก็จะทำให้มีโอกาสและเวลาวางแผนการป้องกันโดยวิธีอื่น โดยเฉพาะการใช้สารเคมีให้ได้ผล และทันต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเพราะการปล่อยหรือรอให้โรคเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยใช้สารเคมีฉีดพ่น มักจะได้ผลไม่คุ้มค่า ไม่อาจหยุดความเสียหายจากโรคได้ เป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
2. หมั่นสังเกตและเอาใจใส่ต่อพืชผักที่ปลูกอย่างใกล้ชิด และสม่ำเสมอ เมื่อเห็นต้นใดผิดปกติหรือแสดงอาการของโรคเกิดขึ้นก็ให้รีบขจัดทำลายเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโรคก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงในเวลาต่อมาได้ สำหรับต้นที่เหลือแม้จะยังไม่แสดงอาการโรคให้เห็น ก็ให้รีบฉีดสารเคมีที่ใช้กับโรคนั้นๆ ป้องกันไว้ก่อนทันทีโดยเฉพาะ ในช่วงที่สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคดังกล่าวเริ่มจะเกิดขึ้น
3. ทุกครั้งที่เก็บเกี่ยวพืชผลแล้วควรเก็บทำลายเศษซากตอ ซัง หน่อ หัว หรือ เหง้า ต้นพืชเก่า อย่าใหัมีหลงเหลือทิ้งอยู่ในบริเวณแปลงปลูก โดยเฉพาะจากต้นที่เคยเกิดโรคมาก่อน รวมไปถึงต้นกล้าหรือต้นพืชที่งอกขึ้นมาเองจากเมล็ดหรือส่วนขยายพันธุ์ที่หลงเหลืออยู่ส่วนต่างๆ หรือต้น เหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งให้เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเข้าไปอาศัย เกาะกินชั่วคราว รอจนถึงฤดูปลูกต่อไปเพื่อกลับไปก่อให้เกิดโรคได้อีก
4. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือพวกที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น ผักพวกกะหล่ำต่างๆ ที่อยู่ในตระกูล ครูซิเฟอร์ ได้แก่ ผักกาดขาว ผักคะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร๊อคโคลี่ ผักกาดเขียวปลี ฯลฯ พวก โซลานา เซียส เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง พวกถั่ว (legumes) ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น พวก Phaseolus ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วราชมาด ถั่วแขก ถั่วพุ่ม พวก Vigna ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วข้าว ถั่วดำ ถั่วกระด้าง และพวกหอม กระเทียม ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Allium ได้แก่ หอมแบ่ง หอมแดง หอมต้น หอมหัวใหญ่ กระเทียมหัว กระเทียมใบ และกุยฉ่าย เป็นต้น พวกนี้โรคที่เกิดอาจเป็นอย่างเดียวกันและเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกันได้ หากมีการปลูกต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โรคก็จะคงอยู่ในแหล่งดังกล่าวต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด การเปลี่ยนพืชปลูกจะทำให้เชื้อหมดความสามารถไม่ก่อให้เกิดโรคหรือทำความเสียหายให้กับพืชชนิดใหม่นั้นได้อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
5. เมล็ดพันธุ์ หัว หน่อ กิ่งตอน ต้นตอ หรือส่วนขยายพันธุ์ ควรคัดเลือกหรือนำมาจากต้นพ่อ-แม่ ที่แข็งแรงสมบูรณ์ หากไม่สามารถผลิตหรือเก็บเองได้ก็ควรหาซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และรับรองแล้ว การปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดโรคเท่ากับเป็นการเริ่มต้นที่ดี อย่างน้อยก็จะทำให้ได้ต้นพืชที่สมบูรณ์ในระยะแรกของการเจริญเติบโต
6. โรคบางชนิดซึ่งเป็นพวกที่อาศัยหรือมีกิ่นกำเนิดอยู่ในดิน (soil-borne organisms) ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียพวกนี้มักจะเป็นปัญหาในการป้องกันหรือขจัดทำลายให้หมดสิ้นได้โดยยาก หรือไม่ก็เป็นการสิ้นเปลืองเสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการเปลี่ยนสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินโดยการเติมปูนขาวหรือสารที่ก่อให้เกิดกรดลงในดินนั้นเพื่อไม่ให้เหมาะต่อการเจริญเติบโต และความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดจากเชื้อดังกล่าวลงได้
7. การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่พึงกระทำในเมื่อเกิดมีโรคระบาดเกิดขึ้น แต่ก็ควรเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะนำมาพิจารณาปฏิบัติเมื่อได้ทำการป้องกันโดยวิธีอื่นแล้วไม่เป็นผล สิ่งสำคัญคือสารเคมีที่ใช้กับพืชส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค แม้ว่าพิษจะไม่รุนแรงเท่ากับสารที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงแต่ก็ไม่ควรประมาทโดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ หรือมีภูมิต้านทานต่ำ หากรับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ถึงจุดอันตราย อาจตายได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อให้ปลอดภัยและให้ผลมากที่สุด จึงมีสิ่งที่ควรคำนึงและปฏิบัติดังต่อไปนี้
7.1 อ่านสลากคำแนะนำ พร้อมกับทำความเข้าใจกับชนิดของสารเคมีที่ใช้ให้ถ่องแท้ ใช้ให้ตรงกับชนิดของโรคและชื่อสาเหตุที่ระบุ และปฏิบัติตามข้อบ่งใช้อย่างเคร่งครัดไม่ควรใช้สารเคมีในอัตราส่วนที่เจือจาง หรือเข้มข้นเกินไปกว่าที่กำหนด เพราะสารเคมีที่เจือจางนอกจากจะไม่สามารถฆ่าทำลายเชื้อให้ตายทันทีหรือไม่ตายแล้วยัง อาจทำให้เชื้อเกิดความต้านทานต่อสารเคมีขึ้นในภายหลังได้ ส่วนที่เข้มเกินใปนอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อทั้งพืช ผู้ใช้และผู้บริโภคด้วย
7.2 สารเคมีที่ใช้ ควรจะใช้ในลักณณะป้องกันโรคก่อนที่โรคจะเกิดทำความเสียหายรุนแรงหรือทันทีที่พบว่าเริ่มมีโรคเกิดขึ้นในช่วงที่สิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยมีแนวโน้มและสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิดการระบาดจากข้อมูลและบันทึกที่ทำไว้เดิม การใช้สารเคมีเมื่อโรคเกิดหรือเป็นรุนแรงมักไม่ได้ผล ไม่คุ้มกับการลงทุน ปัจจุบันมีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ใช้รักษาโรคที่กำลังเป็นอยู่ในพืชแล้วได้
7.3 เนื่องจากสารเคมีบางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าใช้ได้ผลก็นับว่าเป็นประโยชน์ขณะเดียวกันหากใช้ไม่ได้ผลหรือให้ผลน้อยก็จะยิ่งเป็นการซํ้าเติมทำให้เสียหายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ก่อนตัดสินการใช้สารเคมีควรพิจารณาศึกษาหรือคำนวณเสียก่อนว่าคุ้มควรแก่การลงทุนหรือไม่ ถ้าได้มากกว่าเสียก็ควรกระทำ ในทางตรงกันถ้าหากคำนวนแล้วค่าสารเคมีค่าจ้างแรงงานรวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้อง ลงทุนแพงกว่าผลผลิตของพืชที่จะได้คืนมาก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง ปฏิบัติใดๆ ในอันที่จะทำให้ต้องขาดทุนเพิ่มมากขึ้นไปอีก
7.4 ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่นิยมทำกันอยู่ก็มีสองวิธี คือ ถ้าสารเคมีมีลักษณะเป็นเม็ดเป็นก้อนแข็งหรือเป็นของเหลว ก็ใช้วิธีละลายนํ้าให้เป็นสารละลายเจือจางลงแล้วนำไปใช้โดยวิธีฉีดพ่น (spraying) ราดรดลงในดินหรือจุ่มแช่ (soaking) หากเป็นสารเคมีชนิดที่มีลัษณะเป็นฝุ่นผงละเอียด ก็อาจจะเอามาละลายน้ำให้เป็นสารละลายเสียก่อนเช่นกันแล้วจึงค่อยนำไปฉีดหรือพ่น หรือบางชนิดจะใช้ในลักษณะพ่นเป็นฝุ่นผง (dusting) ให้กับพืช โดยตรงก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกและเหมาะสม การใช้สารเคมีในลักษณะที่เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นให้กับพืช ในกรณีของผักที่ต้น กิ่ง ใบหรือผล ฝัก มีลักษณะเรียบเป็นมันเพราะมีสารพวกขี้ผึ้ง(wax) หรือ chitin เคลือบฉาบอยู่ที่ผิว หรือพวที่มีต้นใบเรียว กลม และตั้งตรงเช่น หอม กระเทียม ขึ้นฉ่าย เพื่อให้สารที่ฉีดพ่นไปแล้วยึดเกาะติดกับส่วนของพืช ป้องกันและฆ่าทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคได้ดีและนาน มีการสูญเสียน้อยที่สุด ควรจะทำการผสมสารเคลือบใบ (sticker หรีอ spreader) ลงไปด้วย สารเคมีบางชนิดมีลักษณะเป็นน้ำมันละลายนํ้าได้น้อยพวกนี้ก็ควรผสมสารที่ช่วยทำให้นํ้าและนํ้ามันรวมตัวและเข้ากันได้ดีขึ้น (emulsifier) ลงไปเสียก่อน ผสมให้เข้ากันดีแล้วจึงค่อยนำไปฉีดให้กับต้นพืช ซึ่งสารเหล่านี้จะรวมอยู่ในกลุ่มของสารเสริมประสิทธิภาพ (adjuvants)
การใช้เครื่องมือฉีดพ่นสารที่เหมาะสมและถูกต้องก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้าม ทั้งนี้เนื่องจากทั้งเชื้อโรคและแมลงบางชนิดที่ช่วยทำให้เกิดโรคในพืชผักนั้น เมื่อเข้าไปเกาะกินหรือทำลายพืชไม่ได้อยู่เฉพาะที่ผิวด้านนอกหรือด้านบนของต้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่นโรคราน้ำค้าง โรคราสนิมขาว พวกนี้เมื่อเข้าทำลายพืชจนแสดงอาการแล้วก็จะสร้างสปอร์หรือโคนิเดียขึ้นที่ด้านใต้ของใบพืช แมลงพวกเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หรือไรขาว ไรแดง ก็เช่นกันหลังจากขึ้นมาดูดกินนํ้าเลี้ยงบนใบอ่อนหรือส่วนยอดในตอนกลางคืน หรือตอนเช้าแล้วพอสายแดดออกอากาศร้อนก็จะหลบเข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ตามซอกกาบใบ ใต้ใบ หรือใบที่ม้วน พวกนี้จำเป็นจะต้องใช้เครื่องฉีดพ่นที่มีรูจ่ายสารเคมีที่เล็กและมีกำลังอัดลมสูง เพื่อให้เนื้อสารเคมีที่ฉีดออกมาเป็นฝอยละเอียดหรือมีลักษณะเป็นหมอกควันสามารถแทรกซึมไปเกาะหรือปกคลุมทั่วทุกซอกมุมของต้นพืช มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่สามารถป้องกันและฆ่าทำลายเชื้อและแมลงพวกนี้ได้หมด
7.5 หลังจากใช้สารเคมีครั้งสุดท้ายกับพืชแล้วไม่ควรเก็บเกี่ยวผลออกจำหน่ายหรือนำมาบริโภคทันที ต้องรอจนพ้นระยะอันตรายของสารเคมีนั้นๆ เสียก่อนเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของทั้งผู้บริโภคและผู้ที่ปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องกับต้นพืชดังกล่าว


หน้าเว็บ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น